สถานการณ์อิสราเอล-ฮามาส ม.ดัง ตัดพ้อ ขอตัวนักศึกษา 30 ชีวิตกลับแต่รัฐยังเฉย
นราธิวาส - รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตัดพ้อทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถูกเฉยเมย หวังนำนักศึกษาที่ส่งไปประเทศอิสราเอลกลับบ้านเกิด ถามหากมีเหตุร้ายใครจะรับผิดชอบ
(12 ต.ค.2566) ที่ห้องทำงานรองศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ พลาศัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้นำหนังสือ 4 ฉบับกล่าวถึงกรณีทางมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ได้ส่งนักศึกษาฝึกสหกิจศึกษาจำนวน 30 คน ที่ประเทศอิสราเอล ณ เขตอาราวา เพื่อเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ทางการเกษตร ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2566 และสิ้นสุดในวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 นั้น
ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเกรงว่า สถานการณ์ในอิสราเอลที่มีการปะทะกับกลุ่มฮามาสอาจจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยนั้น ทางมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานหลัก 4 แห่ง คือ
- เอกราชทูตอิสลาเอล ประจำประเทศไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โดยทั้ง 4 ฉบับ ลงวันที่ 12 ต.ค.2566 เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือนักศึกษานำกลับประเทศนั้น แต่หนังสือทั้ง 4 ฉบับถึง 4 หน่วยงานไม่ได้มีการตอบรับและให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าวให้สื่อทุกแขนงได้รับทราบถึงความห่วงใยของทางมหาวิทยาลัย
ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ พลาศัย เปิดเผยถึงเรื่องดังกล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยได้ส่งนักศึกษาสหกิจศึกษาไปประเทศอิสราเอลจำนวน 30 คน โดยอาศัยอยู่ที่เมืองอาราวา โดยผ่านทางไอแคบ หรือสถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร โดยไอแคบจะเป็นศูนย์นานาชาติรับนักศึกษาสหกิจศึกษาการเกษตร โดยรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 7 โดยเป็นนักศึกษาที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนราธิวาส คณะเกษตรศาสตร์ โดยความห่วงใยของทางมหาวิทยาลัยต่อนักศึกษาเรามีความกังวลใจอย่างมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการทำหนังสือเอกสารแจ้งการฝึกงานสหกิจศึกษากำหนด 10 เดือน หน่วยงานทั้งกล่าวทั้ง 4 แห่ง เพื่อให้ทราบสถานะของนักศึกษาก่อน
ณ ตอนนี้นักศึกษาตามโปรแกรมที่วางไว้มีกำหนด 10 เดือน ผ่านไป ณ วันนี้คือ 2 เดือน ขณะเดียวกันตามสถานการณ์ความรุนแรงในอิสราเอลที่มีอย่างต่อเนื่อง ทางมหาวิทยาลัยได้วิเคราะห์เพราะโดยพื้นที่ความห่วงใยตรงนี้ เราอยากจะนำน้องๆนักศึกษากลับมา และหากสถานการณ์เป็นปกติและทางผู้บริหารเราพร้อมจะส่งนักศึกษาชุดนี้กลับไปอีก โดยระยะทางจากเขตอาราวาไปยังพื้นที่ความมั่นคงฉนวนกาซาประมาณ 200 กม.กับที่นักศึกษาอยู่
ซึ่งจากระยะทางมันไม่ไกลโดยทางมหาวิทยาลัยลดความเสี่ยง ถึงความไม่ปลอดภัยของเด็ก ต้องการความปลอดภัยของนักศึกษามาเป็นอันดับ 1 หลังจากนั้นความเป็นหลักทางวิชาการ คุณสมบัติตามเกณฑ์ตามหลักเหล่านี้ ทางมหาวิทยาลัยเชื่อว่าจะผลักดันพูดคุยกับเด็กได้ สภาวะความปลอดภัยของเด็ก ทางมหาวิทยาลัยมีความประสงค์จะให้น้องๆนักศึกษากลับมาที่มหาวิยาลัยก่อน กลับมาที่บ้านก่อน