สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 พ.ย. 66

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 พ.ย. 66

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 พ.ย. 66 น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค น้ำเพื่อการเกษตร อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เฝ้าระวังระดับน้ำเกินระดับควบคุมสูงสูด 11 แห่ง

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำ ภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 พ.ย. 66 โดย สภาพอากาศวันนี้ ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง

คาดการณ์ วันที่ 25–26 พ.ย. 66 ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 20.พ.ย. 66 น้อยกว่า ปี 65 จำนวน 3,875 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้

  • ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 64,052 ล้าน ลบ.ม. (78%)
  • ปริมาณน้ำใช้การ 39,883 ล้าน ลบ.ม. (69%)

การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำขนาดใหญ่

ระดับน้ำเกินระดับควบคุมสูงสูด 11 แห่ง

  • ภาคเหนือ : กิ่วลม แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วคอหมา แม่มอก แควน้อยบำรุงแดน และบึงบอระเพ็ด
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อุบลรัตน์ และลำปาว 
  • ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์
  • ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล และหนองปลาไหล

ระดับน้ำเกินระดับควบคุมต่ำสุด 4 แห่ง

  • ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา
  • ภาคกลาง : กระเสียว
  • ภาคตะวันออก : คลองสียัด 

โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1) วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด 2) ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ 3) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่

คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี 

พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช ตรัง และสงขลา

ปัจจุบันมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพัทลุง รวม 6 อำเภอ 48 ตำบล 274 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,857 ครัวเรือน 

สถานการณ์น้ำท่า

  • น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน   
  • น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

กรมทรัพยากรน้ำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 12  นิ้ว เพิ่มเติม จำนวน 1 เครื่อง รวมเป็น 2 เครื่อง เพื่อสูบน้ำท่วมขังในพื้นที่เกษตรนาข้าวและชุมชนที่อยู่อาศัยของประชาชนในพื้นที่ ทต.บ้านด่าน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เนื่องจากมีฝนตกหนักทำให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ มีประชาชนได้รับผลกระทบ จำนวน 4 หมู่บ้าน 1,181 ครัวเรือน 3,376 คน พื้นที่เกษตรนาข้าว โดยประมาณ 800 ไร่ ปัจจุบันสูบระบายน้ำท่วมขังได้แล้วทั้งสิ้น 231,200 ลูกบาศก์เมตร และจะดำเนินการจนกว่าเข้าสู่ภาวะปกติ

สทนช. เชิญชวนประชาชนในพื้นที่ แสดงข้อคิดเห็นต่อผังน้ำ ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ขอเชิญประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของ หรือครอบครองที่ดิน หรืออาคาร ที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง ร่วมดาวน์โหลดผังน้ำและข้อมูลต่างๆ รวมทั้งแสดงความคิดเห็นต่อผังน้ำและรายการประกอบผังน้ำ 

สทนช. ยังได้เผยแพร่แผนที่แสดงขอบเขตลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างและระบบทางน้ำ แผนผังแสดงผังน้ำ แผนที่แสดงพื้นที่ต้นน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำ และรายการประกอบผังน้ำทางระบบอินเทอร์เน็ตของ สทนช. (www.onwr.go.th) ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย. 66 จนถึงวันที่ 7 ม.ค. 67 

ทั้งนี้ ผู้มีส่วนได้เสียในเขตผังน้ำมีสิทธิเสนอข้อสอบถาม ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นต่อผังน้ำและรายการประกอบผังน้ำดังกล่าวได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเสนอคำร้องแนบท้ายประกาศนี้ โดยให้ทำเป็นหนังสือ หรือผ่านช่องทางออนไลน์ (www.onwr.go.th) ภายในวันที่ 7 ม.ค. 67