เปิดรายชื่อสายพันธุ์มันป่า 'มันม่วง' เสี่ยงสูญพันธุ์ เร่งศึกษาพันธุกรรม

เปิดรายชื่อสายพันธุ์มันป่า 'มันม่วง' เสี่ยงสูญพันธุ์ เร่งศึกษาพันธุกรรม

เปิดรายชื่อสายพันธุ์มันป่า เสี่ยงสูญพันธุ์ "มันม่วง" เป็นหนึ่งในนั้น วช. หนุน ม.นเรศวร เร่งศึกษาพันธุกรรมพืช สำหรับเป็นธนาคารพันธุกรรมพืชต่อไป ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนกับประเทศ ที่สำคัญคุณค่าทางโภชนาการของมันป่าเหลือล้นอย่างคาดไม่ถึง

สภาพแวดล้อม สภาพอากาศเปลี่ยนไป "โลกร้อน" กระทบหลายสิ่งหลายอย่างบนโลก หนึ่งในนั้นคือพืชพันธุ์ ไม้ป่าต่างๆ โดยเฉพาะ "มันป่า" พามาเปิดรายชื่อสายพันธุ์มันป่า เสี่ยงสูญพันธุ์ รวมถึง "มันม่วง" วช. หนุน ม.นเรศวร เร่งศึกษาพันธุกรรมพืช สำหรับเป็นธนาคารพันธุกรรมพืชต่อไป ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนกับประเทศ ที่สำคัญคุณค่าทางโภชนาการของมันป่าเหลือล้นอย่างคาดไม่ถึง 

 

เปิดรายชื่อสายพันธุ์มันป่า \'มันม่วง\' เสี่ยงสูญพันธุ์ เร่งศึกษาพันธุกรรม

 

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ประเทศไทย เพราะถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีความหลากหลายทางชีวภาพและสภาพทางภูมิอากาศ และตั้งอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมสองชนิด คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ 

จึงทำให้มีความหลากหลายของระบบนิเวศและพรรณพืชหลายชนิด แต่ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้มีสภาพเสื่อมโทรม และมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก

กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทอดพระเนตรเห็นปัญหา ทรงได้รับสั่งให้ดำเนินงานอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้เพื่อเป็นแนวทางหลักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) และการจัดตั้งธนาคารพืชพรรณ รวมถึงทรงสนับสนุนให้มีการรวบรวมพันธุ์พืชเฉพาะถิ่น พืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ ตลอดจนประโยชน์ของพืชชนิดต่างๆ การทำเกษตรกรรม 

 

เปิดรายชื่อสายพันธุ์มันป่า \'มันม่วง\' เสี่ยงสูญพันธุ์ เร่งศึกษาพันธุกรรม

วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะหน่วยงานสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน 

จึงสนับสนุนทุนวิจัยให้ นายพุทธพงษ์ สร้อยเพชรเกษม นักวิชาการเกษตร  รองศาสตราจารย์พีระศักดิ์ ฉายประสาท แห่งคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและขยายพันธุ์มันม่วง (Dioscorea alata L.) เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 

 

เปิดรายชื่อสายพันธุ์มันป่า \'มันม่วง\' เสี่ยงสูญพันธุ์ เร่งศึกษาพันธุกรรม

ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของมันป่าด้วยเทคนิคเครื่องหมายดีเอ็นเอ ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์และวิธีการปลูกมันป่าเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี 

ศึกษาวิธีการทำเมล็ดเทียมสำหรับการอนุรักษ์พันธุกรรมและขยายพันธุ์มันป่า พร้อมวิเคราะห์ปริมาณสาระสำคัญ ได้แก่ saponin และ diosgenin พร้อมสร้างแปลงรวบรวมสายพันธุ์มันป่า สำหรับเป็นธนาคารพันธุกรรมพืชต่อไป

คุณค่าทางโภชนาการของมันป่า กินแล้วดีอย่างไรต่อร่างกาย?

รองศาสตราจารย์พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัยโครงการดังกล่าวพบว่า มันป่ามีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน น้ำตาล วิตามิน แคลเซียม โซเดียม ไฟเบอร์สูงแคโรทีนอยด์ และแอนโทไซยานินรวมอยู่ 

ทั้งนี้ ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระในการป้องกันและยับยั้งโรคเบาหวาน รวมถึงสามารถลดระดับไขมันในเลือด นอกจากนี้การรับประทานมันเลือดยังสามารถช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศและช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม โรคหลอดเลือดหัวใจ ได้อีกด้วย 

เปิดรายชื่อสายพันธุ์มันป่า \'มันม่วง\' เสี่ยงสูญพันธุ์ เร่งศึกษาพันธุกรรม

เปิดรายชื่อสายพันธุ์มันป่า เสี่ยงสูญพันธุ์ 

ทีมวิจัยได้ทำการสำรวจและจำแนกชนิดของมันป่า พบว่ามันป่ามีอยู่ด้วยกัน 13 ชนิด ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศ แบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ได้ 7 ชนิด 

การใช้ประโยชน์ทางอาหาร 5 ชนิด อาทิ 

  • กลอย 
  • มันเลือด 
  • มันแซง 
  • มันมือเสือ 
  • มันคันขาว 

การใช้ประโยชน์ทางเภสัชกรรม 2 ชนิด ได้แก่ 

  • กลิ้งกลางดง 
  • ยั้ง

 

เปิดรายชื่อสายพันธุ์มันป่า \'มันม่วง\' เสี่ยงสูญพันธุ์ เร่งศึกษาพันธุกรรม

 

ผลสำเร็จจากโครงการวิจัยนี้มีส่วนช่วยป้องกันการสูญพันธุ์เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงส่งเสริมให้คนในชุมชนตระหนักและหวงแหนที่จะร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรทางพันธุกรรม 

ตลอดจนใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในประเทศอย่างยั่งยืน ส่งเสริมความรู้การใช้ประโยชน์ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต