'เงินช่วยเหลือ' เพิ่มมากกว่า 10000 บาท ใครบ้างกว่า 6 แสนคนได้รับ เช็กที่นี่
อัปเดตล่าสุด 'เงินช่วยเหลือ' เพิ่มมากกว่า 10000 บาท จากเดิมได้แค่ 6000 บาท ใครบ้างกว่า 6 แสนคนได้รับ เช็กที่นี่
ตรวจสอบ "เงินช่วยเหลือ" เพิ่มมากกว่า 10000 บาท อัปเดตล่าสุดจากเดิมได้แค่ 6000 บาท จะมีใครบ้างกว่า 6 แสนคนได้รับ เช็กที่นี่ "กรุงเทพธุรกิจ" ติดตามข่าวมาตรการสำคัญ
ล่าสุด คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่า บอร์ด สปสช. ได้อนุมัติเพิ่มงบประมาณค่าบริการจากเดิมเหมาจ่ายการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่
- เป็นจำนวน 10,442 บาทต่อคนต่อปี
- จากเดิมอยู่ที่จำนวน 6,000 บาท เพิ่มขึ้น 4,442 บาท
- ขยายการดูแลเพิ่มเติม 2 กลุ่มเป้าหมาย
-ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมตั้งแต่ระยะปานกลาง
-ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
คาดการณ์ว่า จะทำให้มีผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับการดูแลในระบบเพิ่มรวมเป็นจำนวนประมาณ 600,000 คน เดิมจำนวนผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลต่อปีอยู่ที่ 320,000 คน
อีกทั้งยังเป็นการหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้รุกดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ และเพิ่มศักยภาพหน่วยบริการ ให้สามารถจัดบริการดูแลได้อย่างครอบคลุม
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บอร์ด สปสช. ชี้แจงว่า ตามนโยบายรัฐบาล เมื่อปี 2559 ที่มุ่งให้การดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการรองรับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยจัดสรรงบประมาณและมอบให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานดำเนินการให้ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่จำเป็น
ภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ บัตรทอง 30 บาท โดยได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปท. ผ่านกลไก ระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ หรือ Long Term Care : LTC
ผู้ที่ภาวะพึ่งพิงที่ได้รับการดูแล คือบุคคลที่มีคะแนนประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล Barthel index of Activities of Daily Living: ADL เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 คะแนน จากหัวข้อการประเมิน 10 รายการ ดังนี้
- การรับประทานอาหาร เมื่อเตรียมสำรับไว้ให้เรียบร้อยต่อหน้า
- ล้างหน้า หวีผม แปรงฟัน โกนหนวด ในระยะ 24 - 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา
- การลุกจากที่นอนหรือลุกจากเตียงไปยังเก้าอี้
- การใช้ห้องน้ำ
- การเคลื่อนที่ภายในห้องหรือบ้าน
- การสวมใส่เสื้อผ้า
- การขึ้นลงบันได 1 ชั้น
- การอาบน้ำ
- การกลั้นการถ่ายอุจจาระในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา
- การกลั้นปัสสาวะในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา
เมื่อประเมินแล้ว กลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง คือ กลุ่มที่ได้คะแนน 0 - 11 คะแนน จากนั้นนำมาแบ่งกลุ่มตามภาวะพึ่งพิงเป็น 2 กลุ่ม คือ
- กลุ่มติดเตียง (0 - 4 คะแนน)
- กลุ่มติดบ้าน (5 - 11 คะแนน)
ซึ่งจะได้รับการดูแลจากทีมหมอครอบครัวและผู้ช่วยเหลือดูแล (Care giver) รวมถึงการได้รับอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์เครื่องช่วยที่จำเป็น ตามแผนการดูแลรายบุคคล (Care Plan)
"เงินช่วยเหลือ" มากกว่า 10000 บาท ล่าสุด
หลัง บอร์ด สปสช. ได้อนุมัติเพิ่มงบประมาณค่าบริการจากเดิมเหมาจ่ายการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ทำให้อปท. มีงบประมาณสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น สำหรับดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ผลการอนุมัติดังกล่าวจะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีงบประมาณสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นในการดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่
ทำให้หน่วยบริการสามารถจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นให้กับผู้ป่วยได้ดีขึ้น และเกิดแรงจูงใจหน่วยบริการที่มีศักยภาพ เช่น สถานชีวาภิบาลที่อยู่กระจายในชุมชนเข้าร่วมให้การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบ
สปสช. มีการสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยที่ภาวะพึ่งพิง ในพื้นที่ของตนเองจะทำให้เกิดการบูรณาการการดูแลผู้ป่วยทั้งด้าน Health Care และ Social Care ได้มากขึ้น รวมถึงเป็นศูนย์กลางในการประสานและรับทราบข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการดูแลและงบประมาณได้
อ้างอิง - สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.