ตามไทม์ไลน์ความจริงป่าทับลาน ปมปัญหา #saveทับลาน ลงชื่อ #Saveชาวบ้านทับลาน

ตามไทม์ไลน์ความจริงป่าทับลาน ปมปัญหา #saveทับลาน ลงชื่อ #Saveชาวบ้านทับลาน

ตามไทม์ไลน์ความจริงป่าทับลาน มรดกโลก "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" ไขปมปัญหาถือครองที่ดิน #saveทับลาน ลงชื่อ #Saveชาวบ้านทับลาน ปรับแนวเขต 2.6 แสนไร่ "ประชาชนอยู่ก่อน" ที่ดินทำกิน ทับซ้อน ส.ป.ก. คนไทยเห็นป่าลานเป็นอย่างไร เห็นด้วย - ไม่เห็นด้วย ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน

ตามไทม์ไลน์ความจริง ป่าทับลาน มรดกโลก ฟังจากปาก "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" ไขปมปัญหาพื้นที่ทับซ้อน ถือครองที่ดินอุทยานแห่งชาติทับลาน #saveทับลาน ลงชื่อ #Saveชาวบ้านทับลาน ปรับแนวเขตใหม่ 265,000 ไร่ ปรับปรุงแผนที่เส้นแนวเขตที่ดิน

"ประชาชนอยู่ก่อน" ที่ดินทำกิน ทับซ้อน ส.ป.ก. คนไทยต้องการป่าลานผืนสุดท้ายของประเทศไทยเป็นอย่างไร? ร่วมแสดงความคิดเห็น "เห็นด้วย - ไม่เห็นด้วย" ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน ได้ทางออนไลน์ถึง 12 กรกฎาคม 2567

 

ตามไทม์ไลน์ความจริงป่าทับลาน ปมปัญหา #saveทับลาน ลงชื่อ #Saveชาวบ้านทับลาน

อุทยานแห่งชาติทับลาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปักธงชัย อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,387,375 ไร่ หรือ 2,235.80 ตารางกิโลเมตร 

ซึ่งหากมีการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานตามแนวเขตใหม่นี้ จะมีผลทำให้อุทยานแห่งชาติทับลานมีเนื้อที่ลดน้อยลงไปประมาณ 265,000 ไร่

และแม้จะมีการเสนอผนวกพื้นที่ทางตอนเหนือในท้องที่ตำบลจระเข้หิน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เพิ่มเข้ามาอีกประมาณ 80,000 ไร่ ก็ยังไม่สามารถที่ จะยืนยันว่าจะผนวกเพิ่มได้หรือไม่

เนื่องจากพบว่ามีราษฎรถือครองที่ดินอยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังอยู่ในขั้นตอนของการหาข้อยุติกับกรมป่าไม้ เนื่องจากมีแผนงานโครงการปลูกป่าที่มีงบประมาณต่อเนื่อง รวมทั้งมีการจัดตั้งป่าชุมชนไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว 

 

ตามไทม์ไลน์ความจริงป่าทับลาน ปมปัญหา #saveทับลาน ลงชื่อ #Saveชาวบ้านทับลาน

ย้อนไทม์ไลน์ความจริงป่าทับลาน ฟังจากปาก "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" ไขปมปัญหาพื้นที่ทับซ้อน ถือครองที่ดินอุทยานแห่งชาติทับลาน #saveทับลาน #Saveชาวบ้านทับลาน

นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่าจากกรณีปมปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นกรณีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ไปทับพื้นที่ที่ทำกิน ที่อยู่อาศัยของประชาชน ไปทับซ้อนที่ดินของหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  ส.ป.ก. เป็นต้น 

ด้วยเหตุนี้เข้าเงื่อนไขที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน ต้องเข้ามาดูแล แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การแก้ไขอย่างยั่งยืนต้องแก้ไขจากเส้นแนวเขตแดน ต้องมีการตรวจสอบเส้นแนวเขตที่เป็นจริง จากการที่ประกาศแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานเมื่อปี 2524 อาจจะขาดการลงมาดูข้อเท็จจริงในพื้นที่ ขีดเส้นจากแผนที่มันก็จะทับซ้อน 

ตามไทม์ไลน์ความจริงป่าทับลาน ปมปัญหา #saveทับลาน ลงชื่อ #Saveชาวบ้านทับลาน

ฉะนั้นเมื่อปี 2540 คณะรัฐมนตรี มีมติว่าให้มีการตรวจสอบแนวเขตใหม่ ซึ่งกรมป่าไม้ในขณะนั้นได้จัดตั้งคณะทำงานพร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกไปสำรวจตรวจสอบแนวเขตก็ได้แนวเขตใหม่ในปี 2543 ถือได้ว่าเป็นแนวเขตที่ค่อนข้างจะเป็นธรรมทั้งภาครัฐและประชาชน 

เพียงแต่ว่ามีการปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการ คือ กรมป่าไม้ถูกแยกออกเป็นกรมอุทยานแห่งชาติ และการแสดงร่างพระราชกฤษฎีกาทบทวนแนวเขตเป็นหน้าที่ของกรมอุทยานฯ หน่วยงานที่ถูกจัดตั้งใหม่อาจยังไม่เข้าที่เข้าทาง ก็เลยไม่มีการยื่นแสดงร่างพระราชกฤษฎีกาทบทวนแนวเขต ดังนั้นปัญหาความเดือนร้อนก็ยังตกอยู่กับประชาชน

#Saveชาวบ้านทับลาน ประชาชนเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ปัญหาทับซ้อนถือครองที่ดิน

ประชาชนในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ต้องรวมตัวร้องเรียนปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรบริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน

โดยผู้ตรวจการแผ่นดิน เมื่อได้รับการร้องเรียนจากตัวแทนประชาชนที่มีปัญหาที่ดินทับซ้อน ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือแนวทางแก้ไขปัญหา พร้อมจัดทำรายงานข้อเสนอแนะไปยังคณะรัฐมนตรี 

ปี 2562 ผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยการหารือร่วมกันกับหน่วยงานี่เกี่ยวข้อง มีข้อสรุปร่วมกันแสดงต่อคณะรัฐมนตรี ว่าเห็นควรที่จะมีการทบทวนเส้นแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน โดยใช้เส้นแนวเขตปี 2543 ซึ่งผ่านการเห็นชอบร่วมกันแล้ว

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ด้วยกัน 3 ประการ

  • ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินไปพิจารณาดำเนินการทบทวนแนวเขตตามอำนาจหน้าที่ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น 
  • ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เร่งรัดดำเนินการตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 เตรียมความพร้อมกรณีที่ประชาชนเข้าไปอยู่ในเขตอุทยานฯ ภายหลังจากประกาศแล้ว จะมีโครงการทำกินได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
  • ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เร่งรัดการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

 

ตามไทม์ไลน์ความจริงป่าทับลาน ปมปัญหา #saveทับลาน ลงชื่อ #Saveชาวบ้านทับลาน

แนวทางใช้เส้นปรับปรุงการสำรวจแนวเขตปี พ.ศ. 2543

วันที่ 14 มีนาคม 2566 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ แนวทางใช้เส้นปรับปรุงการสำรวจแนวเขตปี พ.ศ. 2543 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ

โดยให้กรมอุทยานฯ , กรมป่าไม้, สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ส.ป.ก. จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกันตรวจสอบข้อมูลพื้นที่จุดที่ไม่ชัดเจนให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน 

ในพื้นที่ส่วนที่ถูกกันออกจากเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ ส่งมอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. ดำเนินการจัดที่ดินที่ดินให้ประชาชนอยู่อาศัยทำกินตามกฎหมายต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขปัญหาคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู็ตรวจการแผ่นดิน

ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ได้พิจารณาเห็นชอบเส้นแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานบริเวณจุดที่ไม่ชัดเจน และได้ส่งข้อมูลดังกล่าวให้คณะทำงานพิจารณาปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐฯ (One Map) และได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป 

 

 

เปิด 3 นโยบายเร่งด่วน ปมปัญหาเพิกถอนอุทยานทับลาน 2.6 แสนไร่

"พัชรวาท วงษ์สุวรรณ" รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (9 ก.ค. 67) มีนโยบายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการเร่งด่วน กรณีอุทยานแห่งชาติทับลาน ดังนี้

  • ให้พิจารณาสิทธิ์ชาวบ้านในการถือครองที่ดิน สปก.ที่ทำกิน ต้องไม่มีนายทุน นักการเมือง ถือครองเด็ดขาดพิสูจน์สิทธิ์ให้ชัดเจน
  • ให้ความเป็นธรรมแก่ชาวบ้าน ที่อยู่มาดั้งเดิมกว่า 20 ปี เพื่อรับสิทธิ์ที่ดินอย่างถูกต้องเป็นธรรม 
  • พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ไม่อนุญาตให้แบ่งแยกออกไป เพราะต้องรักษาผืนป่าไว้

 

ตามไทม์ไลน์ความจริงป่าทับลาน ปมปัญหา #saveทับลาน ลงชื่อ #Saveชาวบ้านทับลาน

ทำความรู้จักอุทยานแห่งชาติทับลาน ป่าลานผืนสุดท้ายของประเทศไทย

อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นส่วนของแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ที่ประกาศขึ้นทะเบียนโดยองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ครอบคลุมพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเสิงสาร อำเภอครบุรี อำเภอปักธงชัย ในจังหวัดนครราชสีมา และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี 

ท่ามกลางความสวยงามและสมบูรณ์แบบกับพบปมปัญหาที่ยืดเยื้อยาวนานมาตั้งแต่ในอดีต จนเป็นเหตุให้ประชานในพื้นที่ดังกล่าว ยื่นเรื่องร้องเรียนมายังผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้ว พบว่าสาเหตุสำคัญเริ่มต้นขึ้นมาในปี พ.ศ. 2524 เมื่อกรมป่าไม้ ได้นำที่ดินที่มิได้มีสภาพเหมาะสมมากำหนดเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ 

ซึ่งนอกจากจะขัดต่อหลักเกณฑ์ตามมาตรา 6 พราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แล้ว เส้นแนวเขตยังมีความบกพร่องคลาดเคลื่อน เนื่องจากไม่ได้มีการสำรวจรังวัดพื้นที่จริง

ส่งผลให้การประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ทับซ้อนกันกับที่ดินทำกินของราษฎรที่อาศัยมาแต่เดิม บริเวณ "บ้านไทยสามัคคี" โดยจัดตั้งหมู่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ซ้ำยังทับซ้อนกับพื้นที่ดำเนินโครงการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ส.ป.ก.  และโครงการของรัฐ เพื่อความมั่นคงตามมติคณะรัฐมนตรีอีกด้วย 

โดยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ได้พยายามร่วมกันแก้ไขปัญหา ปรับปรุงแนวเขต โดยการสำรวจรังวัด จัดทำแผนที่ และฝังหลักแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ให้ถูกต้องตรงตามสภาพความเป็นจริง 

 

ตามไทม์ไลน์ความจริงป่าทับลาน ปมปัญหา #saveทับลาน ลงชื่อ #Saveชาวบ้านทับลาน

ตามไทม์ไลน์ความจริงป่าทับลาน ปมปัญหา #saveทับลาน ลงชื่อ #Saveชาวบ้านทับลาน

จนกระทั่งเกิดเป็นเส้นแนวเขตปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่ประชาชนอาศัยอยู่และทำกินมาก่อน 270,000 ไร่ และมีพื้นที่ ที่มีสภาพป่าไม้สมบูรณ์ผนวกกลับเข้ามา 110,000 ไร่ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปรับปรุงแนวเขตดังกล่าว ยังไม่เกิดผลใช้บังคับในทางกฎหมาย 

เนื่องจากในช่วงเวลานั้นมีการปฏิรูประบบราชการ และจัดตั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ขึ้นใหม่ จึงไม่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาปรับปรุงแนวเขตให้แล้วเสร็จ

จากข้อเท็จจริงและสภาพปัญหาข้างต้นจะเห็นได้ว่าเรื่องร้องเรียนดังกล่าวเป็นกรณีที่ประชาชในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงได้มีคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปรับปรุงแนวเขตอุทยยานแห่งชาติทับลาน ให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง โดยยึดถือเส้นแนวเขต พ.ศ. 2543 

ต่อมา 2 กุมภาพันธ์ 2564 คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้กระทรวจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะดังกล่าว ไปดำเนินการให้มีความคืบหน้าและเกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้มติคณะรัฐมนตรี 14 มีนาคม 2566 ตามความเห็นและข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติให้ใช้เส้นแนวเขตปี พ.ศ. 2543 สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน ในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการในเรื่องต่างๆ ตามหน้าที่และอำนาจให้ถูกต้องรอบครอบเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ อย่างเคร่งครัดต่อไป

ตามไทม์ไลน์ความจริงป่าทับลาน ปมปัญหา #saveทับลาน ลงชื่อ #Saveชาวบ้านทับลาน

 

คนไทยต้องการป่าลานเป็นอย่างไร? #saveทับลาน #Saveชาวบ้านทับลาน

ในการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามมาตรา 8 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ให้สงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง และบำรุงรักษาอุทยานแห่งชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาดำเนินการในพื้นที่อื่น ๆ ด้วย

  • ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็น "เห็นด้วย - ไม่เห็นด้วย" ลงชื่อคัดค้านอุทยานแห่งชาติทับลาน ผ่านทางออนไลน์ถึง 12 กรกฎาคม 2567 (คลิก)

 

ตามไทม์ไลน์ความจริงป่าทับลาน ปมปัญหา #saveทับลาน ลงชื่อ #Saveชาวบ้านทับลาน

 

อ้างอิง-ภาพ : สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน , กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช , อุทยานแห่งชาติทับลาน - Thap Lan National Park