กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 4 รายชื่อจังหวัด มรสุมเข้า เจอพายุฝนถล่ม น้ำท่วม 3-7 ก.ย.
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับที่ 4 รายชื่อจังหวัด เจอมรสุมเข้า พายุฝนถล่ม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน ระหว่างวันที่ 3-7 ก.ย.67 โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน เหนือ กลาง ตะวันออกและใต้ รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก
ประกาศฉบับที่ 4 กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งรายชื่อจังหวัด เจอมรสุมเข้า พายุฝนถล่ม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน ระหว่างวันที่ 3-7 ก.ย.67 โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน เหนือ กลาง ตะวันออกและใต้ รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนัก
ในช่วงวันที่ 3-7 ก.ย. 67 ประเทศไทยจะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับที่ 4 รายชื่อจังหวัด ที่คาดว่าจะมีฝนตกหนัก
วันที่ 3 กันยายน 2567
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมินครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
วันที่ 4 กันยายน 2567
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
วันที่ 5 กันยายน 2567
ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
วันที่ 6-7 กันยายน 2567
ภาคเหนือ: จังหวัดตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยในช่วงวันที่ 4-8 ก.ย. 67 ทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าว เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าวนี้ไว้ด้วย
อนึ่ง พายุโซนร้อน “ยางิ” (YAGI) ที่ปกคลุมประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะเคลื่อนลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในช่วงวันที่ 3-4 ก.ย. 67 และจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และพายุไต้ฝุ่นตามลำดับ คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 7-8 ก.ย. 67 โดยไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย