'เลือดจาง' เสี่ยงสูง 'หัวใจล้มเหลว' เลือกกินอาหารแบบไหนดี ช่วยบำรุงโลหิต

'เลือดจาง' เสี่ยงสูง 'หัวใจล้มเหลว' เลือกกินอาหารแบบไหนดี ช่วยบำรุงโลหิต

ภาวะเลือดจาง "โรคโลหิตจาง" มีความเสี่ยงสูง "หัวใจล้มเหลว" เป็นลมหมดสติ เลือกกินอาหารแบบไหนดี ช่วยบำรุงโลหิตได้อีกทาง กรมอนามัย ย้ำเมื่อได้รับ "ยาธาตุเหล็ก" ไม่ควรรับประทานพร้อมนม เช็กสุขภาพวันนี้ อาการผู้ป่วย วิธีป้องกันเบื้องต้น ก่อนสายเกินแก้

เช็กสุขภาพวันนี้ ภาวะเลือดจาง "โรคโลหิตจาง" มีความเสี่ยงสุด "หัวใจล้มเหลว" เป็นลมหมดสติ เลือกกินอาหารแบบไหนดี ช่วยบำรุงโลหิตได้อีกทาง

กรมอนามัย ย้ำเมื่อได้รับ "ยาธาตุเหล็ก" ไม่ควรรับประทานพร้อมนม เช็กอาการผู้ป่วย วิธีป้องกันเบื้องต้น ก่อนสายเกินแก้

\'เลือดจาง\' เสี่ยงสูง \'หัวใจล้มเหลว\' เลือกกินอาหารแบบไหนดี ช่วยบำรุงโลหิต

"เลือดจาง" ภาวะโลหิตจาง คืออะไร?

ภาวะโลหิตจาง (anemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณของเม็ดเลือดแดงลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะซีด เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ เป็นลมหมดสติ 

หากมีภาวะโลหิตจางรุนแรง อาจทำให้มีภาวะหัวใจล้มเหลวได้ อาการและความรุนแรงของภาวะโลหิตจางมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะโลหิตจาง และความเร็วในการเกิดภาวะโลหิตจางว่า เป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง 

เปิดสาเหตุ-อาการคนโลหิตจาง แบบเฉียบพลัน

ในรายที่มีภาวะโลหิตจางแบบเฉียบพลัน จะมีอาการและอาการแสดงมากกว่ารายที่เป็นแบบเรื้อรัง 

สาเหตุของภาวะโลหิตจางเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยและมีความสำคัญ คือ ภาวะขาดสารอาหารบางอย่างที่มีผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ได้แก่ 

  • ภาวะขาดธาตุเหล็ก 
  • ภาวะขาดวิตามินบี 12 
  • ภาวะขาดโฟลิก 

อาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ มีความสำคัญในกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงการสร้างเม็ดเลือดต่าง ๆ ด้วย

ดังนั้นเราจึงควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ 

มิฉะนั้นอาจเกิดภาวะขาดสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ ซึ่งจะขอกล่าวถึงภาวะโลหิตจางจากขาดสารอาหารที่พบบ่อย ได้แก่

  • ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
  • ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟลิก
  • ภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12

\'เลือดจาง\' เสี่ยงสูง \'หัวใจล้มเหลว\' เลือกกินอาหารแบบไหนดี ช่วยบำรุงโลหิต

ใครบ้าง? มีความเสี่ยงสูง ภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง 

กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดธาตุเหล็ก คือ 

  • ทารกแรกเกิด 
  • เด็กที่กินยากหรือกินไม่เพียงพอ 
  • ผู้ที่มีความผิดปกติในการย่อยและการดูดซึมอาหาร 
  • หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร 
  • วัยรุ่นที่เริ่มมีประจำเดือน 
  • ผู้สูงอายุ 

\'เลือดจาง\' เสี่ยงสูง \'หัวใจล้มเหลว\' เลือกกินอาหารแบบไหนดี ช่วยบำรุงโลหิต

อาการผู้ป่วยเลือดจาง

  • ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย 
  • เบื่ออาหาร 
  • มีความต้านทานโรคต่ำ 
  • เปลือกตาขาวซีด 
  • ลิ้นอักเสบ 
  • เล็บบางเปราะ
  • มีระดับสติปัญญาลดลง

เมื่อทำการตรวจเลือดจะพบว่า มีภาวะซีด เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก การสร้างเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนลดลง และอาจพบเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะเฉพาะ รูปร่างเรียวยาว เรียกว่า pencil cell 

ภาวะเลือดจาง เสี่ยงสุด "หัวใจล้มเหลว" เลือกกินอาหารแบบไหนดี ช่วยบำรุงโลหิตได้อีกทาง

การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ 

  • เนื้อสัตว์เนื้อแดง 
  • ตับ 
  • เครื่องในสัตว์ 
  • ไข่แดง 
  • ผักใบเขียว 
  • สาหร่าย 
  • อาหารทะเล 
  • ธัญพืช

\'เลือดจาง\' เสี่ยงสูง \'หัวใจล้มเหลว\' เลือกกินอาหารแบบไหนดี ช่วยบำรุงโลหิต

เตือนยาธาตุเหล็ก ไม่ควรรับประทานพร้อมนม

หากผู้ป่วยมีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก จะได้รับยาธาตุเหล็ก โดยยาธาตุเหล็กนี้ไม่ควรรับประทานพร้อมนม และสิ่งที่ช่วยการดูดซึมธาตุเหล็ก คือ วิตามินซี 

ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟลิก สารโฟลิกเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารพันธุกรรม DNA และ RNA ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์ต่าง ๆ และยิ่งมีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็ว 

โดยเซลล์ที่มีการแบ่งตัวเร็วจำเป็นต้องมีการใช้โฟลิกในกระบวนการสร้างเซลล์ตลอดเวลา หากมีการขาดโฟลิก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสารพันธุกรรม มักจะมีผลต่อเซลล์ที่แบ่งตัวเร็วก่อนเซลล์อื่น เช่น เม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ในร่างกาย 

ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะซีด เม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่กว่าปกติ และยังทำให้มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำและเกล็ดเลือดต่ำได้ด้วย 

นอกจากนั้นยังมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา อาจทำให้ทารกมีหลอดประสาทเปิด (neural tube defect) รวมทั้งเกิดปากแหว่ง เพดานโหว่ได้ การป้องกัน คือ การรับประทานอาหารที่มีโฟลิกสูง ได้แก่ ผักใบเขียว ไข่ ถั่วและธัญพืช

 

อ้างอิง : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย , กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข