ผ่าร่างงบฯ กทม.ปี 66 ยุค "ชัชชาติ" 7.9 หมื่นล้าน หน่วยงานใดได้จัดสรรมากที่สุด
เปิดรายละเอียดร่างงบประมาณ กทม.ประจำปี 2566 ยุค "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" เป็นผู้ว่าฯกทม. หน่วยงานใดได้รับจัดสรรมากที่สุด
ภายหลังเว็บไซต์หน่วยงานกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสภา กทม.ได้เปิดเผย “ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีพ.ศ.2566” วงเงิน79,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดเผยร่างข้อบัญญัติงบประมาณ เป็นไปตามนโยบาย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม.
ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2566
วงเงิน 79,000 ล้านบาท ถูกปรับลดลงเพียงเล็กน้อยจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2565 ซึ่งอยู่ที่ 79,855 ล้านบาท แต่ในร่างงบปี 2566 ถูกแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ประกอบด้วย
- งบบุคลากร 17,568 ล้านบาท (36.27%)
- งบดำเนินงาน 17,701 ล้านบาท (17.96%)
- งบรายจ่ายอื่น 13,703 ล้านบาท (17.27%)
- งบลงทุน 10,383 ล้านบาท (16.63%)
- งบเงินอุดหนุน 5,272 ล้านบาท (6.68%)
- งบกลาง 14,370 ล้านบาท (13.76 %)
เมื่อแบ่งออกตามด้าน 9 ด้าน จะพบว่าร่างฯงบประมาณปี 2566 ประกอบด้วย
1.ด้านการจัดบริการของสำนักงานเขต 50 เขต 18,865 ล้านบาท (23.88%)
2.ด้านการบริหารจัดการและบริหารราชการ กทม. 16,282 ล้านบาท (20.61%)
3.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 11,090 บาท (14.04%)
4.ด้านเมืองและการพัฒนาเมือง 11,072 ล้านบาท (14.01%)
5.ด้านสาธารณสุข 2,417 ล้านบาท (3.06%)
6.ด้านพัฒนาสังคมและชุมชนเมือง 944 ล้านบาท (1.20%)
7.ด้านการศึกษา 644 ล้านบาท (0.81%)
8.ด้านเศรษฐกิจและการพาณิชย์ 194 ล้านบาท (0.25%)
9.ด้านความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย 166 ล้านบาท (0.21%)
หน่วยรับงบประมาณของ กทม.ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากมากที่สุด ถึงน้อยที่สุด มีดังนี้
1.สำนักการโยธา 8,274,064,200 บาท
2.สำนักการระบายน้ำ 6,466,581,500 บาท
3.สำนักสิ่งแวดล้อม 5,779,199,100 บาท
4.สำนักการแพทย์ 4,584,994,600 บาท
5.สำนักการจราจรและขนส่ง 3,126,273,600 บาท
6.สำนักการคลัง 3,052,486,000 บาท
7.มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 2,954,013,800 บาท
8.สำนักอนามัย 2,433,697,100 บาท
9.สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว 1,330,560,000 บาท
10.สำนักปลัด กทม. 956,859,800 บาท
11.สำนักการศึกษา 864,063,300 บาท
12.สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล 812,092,800 บาท
13.สำนักงานตลาด กทม. 548,069,600 บาท
14.สำนักพัฒนาสังคม 395,677,000 บาท
15.สำนักงานสถานธนานุบาล กทม. 270,655,400 บาท
16.สำนักเทศกิจ 207,084,600 บาท
17.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 196,524,000 บาท
18.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ กทม. 192,062,300 บาท
19.สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 178,628,900 บาท
20.สำนักงานเลขานุการสภา กทม. 127,049,200 บาท
21.สำนักงบประมาณ กทม. 85,675,900 บาท
22.สำนักงานเลขานุการผู้ว่าฯกทม. 71,534,800 บาท
23.สำนักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย 6,407,600 บาท
หากตรวจสอบไปที่ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ซึ่งประกาศไว้ในเว็ปไซต์ราชกิจจานุเบกษา นับเฉพาะปี 2555-2565 มีตัวเลขงบประมาณในแต่ละปี มีดังนี้
ปี 2565 : 79,855 ล้านบาท
ปี 2564 : 76,451 ล้านบาท
ปี 2563 : 83,398 ล้านบาท
ปี 2562 : 80,445 ล้านบาท
ปี 2561 : 79,047 ล้านบาท
ปี 2560 : 75,635 ล้านบาท
ปี 2559 : 70,424 ล้านบาท
ปี 2558 : 65,442 ล้านบาท
ปี 2557 : 65,517 ล้านบาท
ปี 2556 : 60,527 ล้านบาท
ปี 2555 : 55,507 ล้านบาท
สำหรับการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 โดย ผู้ว่าฯ กทม.จะนำเข้าสู่วาระการประชุมสภา กทม.ในวันที่ 6 ก.ค.นี้