ครั้งแรก!'ชวน' ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อไทย จี้เยียวยาไฟใต้-สุจริต'ไม่ติดคุก'
ครั้งแรก!'ชวน' อภิปรายนโยบาย ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย จี้เยียวยาไฟใต้ -โยกย้ายข้าราชการเป็นธรรม พร้อมสอนมวย ยึดคำถวายสัตย์ 'สุจริต' ไม่ติดคุก-หนีคดี
ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิรายวาระการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา162 ถือเป็นครั้งแรกที่มีการอภิปรายในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย หลังพรรคประชาธิปัตย์มีมติร่วมรัฐบาล
โดยนายชวน กล่าวว่า เมื่อวันที่12ก.ย.ปีที่แล้วตนอภิปรายนโยบายของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน เรื่องแรกคือ เรื่องภาคใต้ ขณะนั้นพูดในฐานะฝ่ายค้าน วันนี้พูดในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลแต่ไม่ว่าตนจะอยู่ในพรรคไหนก็ตามความจริงก็คือความจริงความจริงไม่อาจเปลี่ยนไปตามฐานะ ในครั้งนั้นจุดประสงค์ของตนคือต้องการให้มีการบรรจุนโยบายเรื่องภาคใต้ไว้ในรัฐบาลแต่ติดตรงที่ไม่มีการบรรจุไว้เลย
นายชวน ยังกล่าวว่า รัฐบาลน.ส.แพทองธาร ชินวัตร ได้บรรจุนโยบายภาคใต้ไว้ในคำแถลงนโยบายในหน้าที่12 แม้จะมีเพียง1บรรทัด แต่ก็เป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ
เหตุที่ตนเหยิบเรื่องนี้โดยให้ความสำคัญที่สุดเพราะยึดหลักที่ว่า ชีวิตมีค่ามากกว่าเงิน เราจะไปพลาดนโยบายเศรษฐกิจขาดทุนไปกี่หมื่นกี่แสนล้านไม่เท่าชีวิตคน7,500คนที่เสียไปจากความผิดพลาดนโยบายด้านความมั่นคง
"ความสำเร็จที่จะแก้ปัญหาได้คือเราต้องยอมรับความจริง เหตุทั้งหมดมันเกิดจากอะไร เช่นเหตุการณ์8เม.ย.2544 โชคดีว่าวันนี้มีสมาชิก วุฒิสมาชิกที่เป็นอดีตแม่ทัพภาค4อยู่ในที่นี้ด้วย ผมเชื่อว่าท่านจะเป็นประโยชน์ในการให้ข้อมูลเพื่อที่เราจะได้แก้ปัญหาภาคใต้"
นายชวน ยังกล่าวว่า ภาคใต้ถือเป็นแหล่งขวานทองด้านการท่องเที่ยว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้สถานการณ์เกิดความสงบให้ได้ ทั้งนี้นายกฯได้แถลงนโยบายอารัมภบทไว้ตอนต้นว่าต้องการจะเห็นความสามัคคีและปรองดอง
ตนย้ำว่าไม่มีใครไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้แต่การที่จะสามัคคีปรองดองกันได้สำคัญคือต้องปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเสมอภาค อย่าเลือกปฏิบัติ
สิ่งที่ตนได้ย้ำไว้ตั้งแต่รัฐบาลที่แล้วคือการชดเชยกรณีที่เราเลือกปฏิบัติก่อให้เกิดการเสียโอกาส แม้กระทั่งในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งอดีตนายกฯเห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวแต่ก็ยังไม่พบการเยียวยาที่เป็นรูปธรรม
"ขอให้รัฐบาลลองทบทวนว่าที่ผ่านมีมีอะไรที่ทำให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจและทำให้เกิดความขัดแย้ง ไม่ปรองดอง อันเกิดจากการปฏิบัติที่ไม่ได้รับความเสมอภาค"
ทั้งนี้นโยบายทั้ง14หน้าตนข้อตั้งข้อสังเกตว่าจะสำเร็จได้อย่างไรสิ่งที่นายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์ เมื่อถวายสัตย์ปฏิญาณแล้ว นายกฯพูดว่า "นับเป็นเกียรติยศ และความภูมิใจสูงสุดของดิฉัน และความภูมิใจของคณะรัฐมนตรีพร้อมนำพระราชดำรัชมาปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน"
นอกจากนี้พระราชดำรัชที่พระราชทานแก้คณะรัฐมนตรีคือ "ขอให้พรด้วยความยินดี ให้คณะรัฐมนตรีมีกำลังใจ มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้ถวายสัตย์ไปแล้ว เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน"
นายชวนยังกล่าวว่า คำถวายสัตย์ "ข้าพเจ้าจะจงรักคนดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้ และปฏิบัติตาม ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
ทั้งนี้ เราไม่ต้องพูดถึงเรื่องความจงรักภักดีตามคำถวายสัตย์ปฏิญาณ แต่ในเรื่องของการปฏิบัติในการบริหารคือ ความซื่สัตย์สุจริต และการปฏิบัติหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ
ทั้งนี้ความซื้อสัตย์สุจริตไม่ได้มีแค่การฉ้อราชบังหลวงแต่หมายรวมไปถึงเมื่อเรามีคณะรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศ เรามีข้าราชการที่รองรับในแต่ละกระทวง ทบวง กรม บางคนไต่เต้าขึ้นมาจากข้าราชการชั้นผู้น้อยดังนั้นถ้าการแต่งตั้งเป็รไปโดยซื่สัตย์สุจริต ไม่เอามาเป็นราคา กระทรวงนี้ราคาเท่านั้น กระทรวงนั้นเราคาเท่านี้ความซื้อสัตย์สุจริตก็เกิดไม่ได้
ฉะนั้นฝ่ายบริหารจะต้องปฏิบัติตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และธรรมภิบาลโดยให้ข้าราชการเหล่านั้นมีโอกาสเติบโตได้ด้วยความสามารถ ไม่ใช่เรื่องราคา เราจะสำเร็จได้ต้องมีคนดีช่วยงาน
นอกจากนี้ ข้อที่ระบุว่า จะปฏิบัติหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน ถ้าเราทำได้ไม่เพียงจะเป็นประโยชน์แต่ประเทศชาติเท่านั้นแต่รวมไปถึงการปกครองในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
"แต่วันนี้มีข้อหย่อนยานที่ทำให้รู้สึกว่าระบบการปกครองของเราไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ แต่กลายเป็นระบบที่เหมือนมือใครยาวสาวได้สาวเอาเพราะราไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน จึงขอให้คณะรัฐมนตรีแปลความตรงนี้ให้ชัดไม่ได้เพื่อผลประโยชน์พรรคการเมืองของท่านหรือเขตของท่านแต่ต้องคิดถึงประโยชย์ของประเทศและประชาชน องค์กรใดก็ตามที่เป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศจะไม่ต้องรับใช้พรรคการเมือ ต้องไม่รับใช่นักการเมืองเพื่อผลประโชย์ต่อประเทศถ้าเป็นเช่นนี้การบริหารประเทศก็จะมั่นคง"
ขณะที่การบริบัติตามรัฐธรรมนูญ หลักนิติธรรมเป็นหัวใจของการปกครอง เช่นปัญหาภาคใต้ถ้าเรายึดหลักนิติธรรมตั้งแแต่ต้นคือ ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมาย ฝ่านบริหารดำเนินการตามกฎหมาย ฝ่ายตุลาการตัดสินปัญหาก็จะไม่เกิด
"แต่บังเอิญมีช่วงหนึ่งเราไปใช้ฝ่ายบริหารเป็นศาลคือตัดสินว่าควรตายเดือนละกี่คนมันจึงเป็นที่ท่ของทุกวันนี้ ซึ่งก็ย้ำจุดนี้ว่าเมื่อเรายึดมั่นในหลักนิติธรรมแล้วผมเชื่อว่าไม่มีนิติธรรมใดที่เป็นพิษเป็นภัยต่อบ้านเมือง"
รัฐบาลก่อนๆ ก็ปฏิญาณ รัฐธรรมนูญปี 2540 ปี 2550 ปี 2560 ข้อความการถวายสัตย์ปฏิญาณตนเหมือนกัน แล้วทำไมบางรัฐบาลมีปัญหา มีอันเป็นไปถูกดำเนินคดี ต้องหนีคดี ถูกจำคุก เพราะอะไรคำตอบก็คือแม้ปฏิญาณไปแต่ไม่ปฏิบัติ
"สุดท้ายจึงอยู่ที่ปัจจุบันด้วยความเคารพว่าสิ่งนี้จะทำให้นโยบายรัฐบาลประสบความสำเร็จเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนไม่ใช่ประโยชน์ต่อเมื่อเราต้องปฏิบัติโดยยึดสุจริตเพื่อประโยชน์ของประชาชนอันเป็น หัวใจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย"