อ่วม!! สั่ง 'ศุภชัย' ชดใช้สหกรณ์สำนวน 2 กว่า 9 พันล้าน
ศาลตัดสิน "อดีต ปธ.สหกรณ์คลองจั่น" และพวกรวม 26 คน ผิดเบิกจ่ายเงินสหกรณ์ปี 57 ผิดวัตถุประสงค์เข้ากระเป๋าตัวเอง
ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันพุธที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา ศาลได้อ่านคําพิพากษา คดีที่ "สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จํากัด" เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง "นายศุภชัย ศรีศุภอักษร" อดีตประธานสหกรณ์ฯ อายุ 61 ปี และเจ้าหน้าที่สหกรณ์กับผู้รับเงิน รวม 32 คนเป็นจำเลย ในคดีหมายเลขดํา พ.3628/2557 และ พ.4462/2557 ที่ศาลรวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน
โดยฟ้องโจทก์ ระบุว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 ม.ค.52 - 30 พ.ค.55 ขณะที่ "นายศุภชัย" จําเลยที่ 1 ดํารงตําแหน่งประธานกรรมการดําเนินการสหกรณ์โจทก์ ได้ใช้อํานาจหน้าที่โดยมิชอบโดยไม่ได้กระทําภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์มีการเบิกจ่ายเงินโดยทุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น โดยเบิกจ่ายเงินด้วยเช็ครวม 878 รายการ เป็นเงิน 11,367,218,813.84บ าท ซึ่งระบุว่าเป็นการทดรองจ่าย แต่ไม่มีการนําเงินที่เบิกจ่ายมาส่งคืนให้แก่โจทก์ โดยได้สั่งจ่ายเช็คให้แก่บุคคลภายนอก รวม 191 รายการ เป็นเงิน 4,036,846,911.44 บาทและสั่งจ่ายเช็คให้จําเลยที่ 2 รวม 22 รายการ เป็นเงิน 119,020,000บาท ส่วนจําเลยที่ 3 เป็นรอง ผจก.ใหญ่ของสหกรณ์โจทก์ ได้ลงนามสั่งจ่ายเช็คร่วมกับ จําเลยที่ 1โดยไม่มีอํานาจหน้าที่ในการสั่งจ่ายเช็ค
จําเลยที่ 4 - 5 เป็นเจ้าหน้าที่การเงินสหกรณ์โจทก์ได้ใช้อํานาจหน้าที่ของตนร่วมกันจงใจ ยินยอมและสนับสนุนให้จําเลยที่ 1เบียดบังและยักยอกเงินของสหกรณ์โจทก์ ส่วนจําเลยที่ 6 - 9ได้รับเงินหรือทรัพย์สินจากการที่จําเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คของสหกรณ์โจทก์อันเป็นการได้มาซึ่งเงินหรือทรัพยย์สินโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้
จึงขอให้บังคับจําเลยที่ 1-2 ร่วมกันชําระเงิน 119,020,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย และบังคับให้จําเลยที่ 1,3,4,5 ร่วมกัน ชําระเงิน 9,522,533,049.50 บาท พร้อมดอกเบี้ย พร้อมทั้งให้จําเลยที่ 1ร่วมกับจําเลยที่ 6,7,8,9ชําระเงินคืนส่วนที่จําเลยแต่ละคนได้รับไป
ระหว่างพิจารณาโจทก์ขอถอนฟ้องจําเลยที่ 4 , 5 , 6 , 30 และวัดพระธรรมกาย กับพระราชภาวนาวิสุทธิ์ หรือพระญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโยิอดีตเต้าอาวาส ซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 31-32
ขณะที่ จําเลยร่วมให้การในทํานองเดียวกันว่า คดีโจทก์ขาดอายุความละเมิด 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ว่ามีสิทธิเรียกคืน การใช้สิทธิฟ้องของโจทก์ไม่ใช่การใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน เงิน และทรัพย์สินที่จําเลยที่ 6-9ได้มานั้น เป็นการได้มาโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นลาภมิควรได้ทั้งไม่เกี่ยวข้อง กับการกระทําความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2552 ขอให้ยกฟ้อง
ทั้งนี้"ศาลแพ่ง" พิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว เห็นว่า ตามระเบียบของสหกรณ์โจทก์ ข้อ 20 กําหนดไว้ว่าการจ่ายเงิน ให้จ่ายเฉพาะเพื่อกิจการภายในขอบวัตถุประสงค์และเป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับ เเต่ปรากฏว่า "นายศุภชัย" อดีตปธ.สหกรณ์ จําเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค 878 ฉบับ โดยระบุในใบสําคัญจ่ายว่าเป็นเงินทดรองจ่ายให้กับ จําเลยที่ 1 จึงไม่ใช่การจ่ายเพื่อกิจการภายในขอบวัตถุประสงค์สหกรณ์โจทก์ การกระทําที่ผิดระเบียบของจําเลยที่ 1เป็นการกระทําทุจริตแสวงหาประโยชน์มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองและผู้อื่น โจทก์ในฐานะ เจ้าของเงินตามเช็คซึ่งจําเลยที่ 1ได้สั่งจ่าย จึงมีสิทธิติดตามเอาเงินตามเช็คพิพาท 878 ฉบับคืนได้
และจําเลยที่ 1 ยังสั่งจ่ายเช็คของโจทก์มอบให้จําเลยที่ 2 จํานวน 22 ฉบับ รวมเป็นเงิน 119,020,000 บาท โดยระบุในใบสําคัญ จ่ายเงินว่าเป็นเงินสํารองจ่ายของจําเลยที่ 1ซึ่งไม่ถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินของสหกรณ์ที่ให้จ่ายเงินได้เฉพาะเพื่อกิจการภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์
ดังนั้นการกระทําของจําเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการกระทําโดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย "จําเลยที่ 1และที่ 2" จึงต้องร่วมกันคืนเงินจํานวน 119,020,000 บาทให้แก่นหกรณ์ฯ โจทก์ พร้อมดอกเบี้ย
ส่วนที่ "จําเลยที่ 1" ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คร่วมกับจําเลยที่ 3 จํานวน 841ฉบับ เงินจํานวนดังกล่าวจําเลยที่ 1ได้สั่งจ่าย โดยระบุไว้ในใบสําคัญจ่ายเงินว่าเป็นเงินสํารองจ่ายของจําเลยที่ 1 ซึ่งไม่ถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินของสหกรณ์เช่นกัน จึงถือได้ว่า "จําเลยที่ 1 และที่ 3" กระทําโดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วย กฎหมายสําหรับตนเอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเพื่อติดตามเงิน จํานวน 9,522,533,049.50 บาทคืนจากจําเลยที่ 1และที่ 3 ได้
นอกจากนี้ การที่จําเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คของโจทก์มอบให้แก่บุคคลต่าง ๆ โดยไม่ใช่กิจการภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจําเลยที่ 8-9 และจําเลยร่วมตามจํานวนที่จําเลยแต่ละคนได้รับ
สำหรับเงินที่จําเลยร่วมอีก 3 คนได้รับจากจําเลยที่ 1นั้น ปปง.ได้ยึดและอายัดไว้ โจทก์จะต้องไปดําเนินการพิสูจน์สิทธิต่อไป ดังนั้นที่ "โจทก์" ฟ้องเรียกเงินคืนจากจําเลยและจําเลยร่วม เนื่องจากจําเลยที่ 1และจําเลยที่ 3 ร่วมกัน สั่งจ่ายเช็คของโจทก์โดยไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของโจทก์และเป็นการผิดระเบียบข้อบังคับของโจทก์นั้น จึงเป็นการฟ้องเพื่อติดตามเอาทรัพย์ของโจทก์คืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกําหนดอายุความ ไม่ใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดหรือลาภมิควรได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
"ศาลแพ่ง" จึงมีคำพิพากษาให้ "นายศุภชัย" อดีตปธ.สหกรณ์ จําเลยที่ 1ชําระเงินให้แก่โจทก์ จํานวน 9,642,164,453.61บาทพร้อม ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5ต่อปีของเงินต้น 119,020,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องที่ 26 ส.ค.57 และของเงินต้น 9,522,533,049.50บาทนับแต่วันฟ้องที่ 15 ต.ค.57 เป็นต้นไป จนกว่าจะชําระเสร็จ และให้จําเลยที่ 2 ร่วมกับจําเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์จํานวน 119,631,404.11บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ของเงินต้นจํานวน 119,020,000บาทนับถัดจากวันฟ้องด้วย
ส่วนจําเลยที่ 3 ให้ร่วมกับจําเลยที่ 1 รับผิดจํานวน 9,522,533,049.50บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ของ
นับจากวันฟ้องที่ 15 ต.ค.57และให้จําเลยที่ 8-9 กับจําเลยร่วมอีก 22 คน ร่วมกับจําเลยที่ 1 ชําระเงินโจทก์ตามจํานวน ที่จําเลยแต่ละคนได้รัยพร้อมทั้งดอกเบี้ยนับเเต่วันฟ้อง
โดยยกฟ้องจําเลยที่ 17และที่ 29 เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏว่าเบิกถอนเงินตามเช็คแล้วนําเงินไปมอบ ใหจําเลยที่ 4 - 5 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ไม่ได้นําไปใช้เป็นส่วนตัว จึงไม่ต้องรับผิดคืนเงินให้โจทก์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีแพ่งที่ "นายศุภชัย" ถูกตัดสินเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์ทุจริตเงินสหกรณ์นั้น ถือเป็นสำนวนที่ 2 แล้ว ซึ่งพิพากษานี้อยู่ในศาลชั้นต้น โดยจำเลยทั้งหมดยังมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้อีกใน 30 วัน
โดยคดีแรก หมายเลขดำ ด.1674/2557 ศาลแพ่ง ได้ตัดสินไปเมื่อวันที่ 25 พ.ย.59 ให้ "นายศุภชัย" อดีต ปธ.สหกรณ์ กับจำเลยร่วมอีก 3 คน ที่เป็นอดีตคณะบริหารสหกรณ์ ร่วมกันชำระเงิน 3,811,605,926.18 บาท ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องที่ 1 พ.ค.57 จนกว่าจะชำระเสร็จ
โดยตัว "นายศุภชัย" อดีต ปธ.สหกรณ์ฯ ปัจจุบันถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ คดีอาญาฉ้อโกงสหกรณ์
ขณะที่นายศุภชัย อดีต ปธ.สหกรณ์ฯ ยังมีคดีแพ่ง ที่อัยการ ยื่นฟ้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน อีก 2 สำนวน ประกอบด้วย 1.คดีหมายเลขดำ ฟ.173/2559 อัยการยื่นเมื่อวันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของนายศุภชัย กับพวก ตกเป็นของแผ่นดิน จากที่มีการกระทำความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน รวมทุนทรัพย์ทั้งสิ้น 85,769,438.25 บาท ซึ่งศาลแพ่ง นัดไต่สวนในวันที่ 7 ธ.ค.นี้ เวลา 09.00 น.
2.คดีหมายเลขดำ ฟ.208/2559 อัยการยื่นฟ้องวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของนายศุภชัย กับพวกตกเป็นของแผ่นดิน จากที่มีการกระทำความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชน รวมทุนทรัพย์ทั้งสิ้น 1,585,000,000 บาท โดยศาลแพ่ง นัดไต่สวนในวันที่ 20 ก.พ.2560 เวลา 09.00 น.