ป.ป.ช.ฟัน 'ซิโนไทย' ฐานสนับสนุนทุจริต 'โรงไฟฟ้าขนอม'

ป.ป.ช.ฟัน 'ซิโนไทย' ฐานสนับสนุนทุจริต 'โรงไฟฟ้าขนอม'

มติ "ป.ป.ช." ฟัน 4 จนท.รัฐ คดีสินบนข้ามชาติโรงไฟฟ้าขนอม ร่วมด้วย 2 ผู้บริหาร "ซิโน-ไทย" ฐานสนับสนุนกระทําความผิด

นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสํานักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่ของรัฐ 4 ราย กรณีร่วมกันเรียกรับเงินจํานวน 20,000,000 บาท จากบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่รับว่าจ้างก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อแลกกับการอนุญาตให้ใช้ ท่าเทียบเรือชั่วคราวบริเวณโรงไฟฟ้า ตลอดจนให้เรือลําเลียงเข้าเทียบท่าเพื่อขนถ่ายชิ้นส่วนของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า โดยไม่ชอบ และชี้มูลความผิด บริษัท ซิโน - ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) รวมถึงผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ อีกสองราย ในฐานเป็น "ผู้สนับสนุน" เจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งสี่รายในการกระทําความผิดดังกล่าว

การไต่สวนคดีนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์คณะในการ ไต่สวนข้อเท็จจริง และมี นายวิทยา อาคมพิทักษ์ และนายสุรศักดิ์ คีรีวิเชียร เป็นกรรมการผู้รับผิดชอบสํานวน ซึ่งการไต่สวนข้อเท็จจริง มีการรวบรวมพยานหลักฐานทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศ จากพยานหลักฐานข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2556 บริษัทค้าร่วม (Consortium) ประกอบด้วย บริษัท สัญชาติญี่ปุ่น และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) ได้รับว่าจ้างให้ดําเนินการ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม ที่อําเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยโรงไฟฟ้าดังกล่าวเป็นโรงไฟฟ้า ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จํากัด (KEGCO) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม EGCO Group ที่เป็นบริษัทเอกชนผู้ทําการผลิต และจําหน่ายกระแสไฟฟ้าทั้งหมดให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ต่อมา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เรือลําเลียง 3 ลํา ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเทียบท่าได้ เนื่องจากมีขนาด ใหญ่เกินกว่าท่าเทียบเรือที่จะรองรับได้ เจ้าหน้าที่ของรัฐ 4 ราย ประกอบด้วย 1) นาวาโท สาธิต ชินวรณ์ ผู้อํานวยการสํานักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขานครศรีธรรมราช ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตรวจการขนส่งทางน้ํา งานตรวจเรือ งานทะเบียนเรือและงานคนประจําเรือในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

2) นายคณิน เมืองด้วง รองนายกเทศมนตรีตําบลท้องเนียน ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ในการสั่ง หรือปฏิบัติราชการแทน ในด้านงานป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย งานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ความปลอดภัยของชุมชน รวมถึงการขนส่งทางน้ําหรือทางบกที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเดือดร้อนกับ ประชาชนในเขตเทศบาลตําบลท้องเนียน ดูแลรักษาทางน้ํา รวมทั้งการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม

3) นายอภิชาติ สวัสดิรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 ตําบลท้องเนียน ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ช่วยเหลือ นายอําเภอในการปฏิบัติหน้าที่และมีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยให้กับประชาชน ในหมู่บ้าน

4) พันตํารวจโท สันติพงษ์ พันธ์สวัสดิ์ สารวัตรสถานีตํารวจน้ํา 4 กองกํากับการ 6 กองบังคับ การตํารวจน้ํา ซึ่งมีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม สืบสวนการกระทํา ความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ติดต่อประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมกันเรียกรับเงินจํานวน 20,000,000 บาท จากผู้แทนของบริษัท มิตซูบิชิ ฮิตาชิ พาวเวอร์ ซิสเต็มส์ จํากัด (Mitsubishi Hitadi Power Systems Ltd : “WMHPS”) ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่มาปฏิบัติงานก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อแลกกับการอนุญาตให้เรือลําเลียงชิ้นส่วนอุปกรณ์ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่นําเข้าจากต่างประเทศสามารถเข้าเทียบท่าเทียบเรือชั่วคราวบริเวณโรงไฟฟ้าได้ แม้ว่าเรือจะมี ขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะเข้าเทียบท่าเทียบเรือชั่วคราวตามที่ขออนุญาตก่อสร้างไว้ ซึ่งผู้บริหารของบริษัท MHPs ตัดสินใจที่จะจ่ายเงินสินบนจํานวน 20,000,000 บาท เพราะหากการขนส่งชิ้นส่วนเครื่องจักรเกิดการหยุดชะงัก จะทําให้การก่อสร้างไม่ทันกําหนดเวลาการส่งมอบงาน และบริษัท MHS จะต้องเสียค่าปรับตามสัญญาถึงวันละ 40 ล้านเยน (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 11,000,000 บาท)

157362870321

ทั้งนี้ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า บริษัท ซิโน-ไทยฯ และผู้บริหารระดับสูงสองราย ได้แก่ นายภาคภูมิ ศรีชํานิ กรรมการผู้จัดการ และ นายราเกส กาเลีย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการส่วนงานปฏิบัติการ ได้ให้ความช่วยเหลือ ในการกระทําความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐในการเรียกรับสินบนจากบริษัทญี่ปุ่น โดยมีการจัดทําสัญญาที่ไม่มี การจ้างงานจริง เพื่อให้บริษัท ซิโน-ไทยฯ จัดเตรียมสินบนเป็นเงินสด 20,000,000 บาท ต่อมา มีการมอบเงินสินบน ให้กับผู้แทนบริษัทญี่ปุ่นที่สํานักงานใหญ่ของบริษัทซิโน-ไทยฯ เพื่อให้ขนเงินไปยังพื้นที่อําเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช และส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งสี่ราย ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่าในช่วงเวลาเดียวกัน เรือลําเลียงก็สามารถเทียบทําและขนถ่ายชิ้นส่วนของเครื่องกําเนิดไฟฟ้า ณ ท่าเทียบเรือชั่วคราวโรงไฟฟ้าขนอมได้ แม้ว่าจะไม่มีการแก้ไขเรื่องการขออนุญาตก่อสร้างท่าเทียบเรือให้ถูกต้องตามระเบียบของกรมเจ้าท่าแต่อย่างใด

157362871358

คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วมีมติว่าผู้ถูกกล่าวหามีมูลความผิด ดังนี้
1. กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐจํานวน 4 ราย ประกอบด้วย นาวาโท สาธิต ชินวรณ์ นายคณิน เมืองด้วง นายอภิชาติ สวัสดิรัตน์ และพันตํารวจโท สันติพงษ์ พันธ์สวัสดิ์ มีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบเพื่อกระทําการหรือไม่กระทําการ อย่างใดในตําแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และ สําหรับราย นายคณิน เมืองด้วง รองนายกเทศมนตรีตําบลท้องเนียน มีมูลเป็นความผิดอันเป็นเหตุให้พ้นจาก ตําแหน่งได้ ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 73 และส่วนเจ้าหน้าที่ของรัฐ อีก 3 ราย มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง

2. กลุ่มผู้สนับสนุน ได้แก่ บริษัท ซิโน-ไทยฯ นายภาคภูมิ ศรีชำนิ และ นายราเกส กาเลีย มีมูลความผิด ทางอาญา ฐานสนับสนุนเจ้าพนักงาน เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสําหรับตนเองหรือ ผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทําการหรือไม่กระทําการอย่างใดในตําแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ และ ฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 86