Software-Defined Infrastructure

Software-Defined Infrastructure

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์เปิดตัวSoftware-Defined Infrastructure สุดยอดโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุมมากที่สุด

นายมารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจําประเทศไทยและพม่า บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด หรือเอชดีเอสกล่าวว่าเอชดีเอสได้เปิดตัวนวัตกรรมโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์หรือSoftware-defined Infrastructures(SDI)ที่ช่วยให้การบริการงานไอทีตอบโจทย์กับความต้องการธุรกิจยุคปัจจุบันได้มากขึ้น เนื่องจากจะช่วยลดความซ้ำซ้อนในระบบไอที และปลดปล่อยข้อมูลจากระบบฮาร์ดแวร์เดิมๆ ตลอดจนข้อจำกัดด้านตำแหน่งที่ตั้งของดาต้าเซ็นเตอร์เพิ่มการเข้าถึงเวิร์คโหลดทุกประเภททั้งแบบเดิมและแบบใหม่ที่ขับเคลื่อนโดยการวิเคราะห์ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลในระดับต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มเสมือนจริง, ไฮเปอร์คอนเวิร์จ และแพลตฟอร์มแบบscale-outเพื่อก้าวสู่การให้บริการไอทีแบบ IT-As-AService(ITaaS)  โดยผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ และขับเคลื่อนโดยแอพพลิเคชั่น (Application-led, software-defined Architecture)พร้อมประกาศเป็นผู้นำเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด หลังจากการเข้าซื้อกิจการเชิงกลยุทธ์อย่าง Avrio, oXya, Pantascene และ Pentaho เพื่อรองรับส่วนธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม(Social Innovation) และการวิเคราะห์ข้อมูล

 

 โดยฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ฯ มีเทคโนโลยีภายใต้Software-defined infrastructure หรือ SDIดังต่อไปนี้ : ระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการ Storage Virtualization Operating System (SVOS) ที่ขยายครอบคลุมระบบ Hitachi Virtual Storage Platform family (VSP – G Series) ในทุกๆ รุ่น เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจให้ทุกขนาดองค์กร กลุ่มผลิตภัณฑ์ Converged Infrastructure หรือ  Hitachi Unified Compute Platform (UCP)  ซึ่งเป็นแนวทางที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงปัจจุบัน  โดยเพิ่มการครอบคลุมทั้ง โครงสร้างพื้นฐานแบบคอนเวิร์จ (Converged Infrastructure– CI) ซึ่งเป็น อุปกรณ์ Appliance ที่รวมระบบ เซิร์ฟเวอร์ เน็ตเวิร์คสวิตช์ และระบบจัดเก็บข้อมูลในเครือข่าย (SAN Storage) ที่สามารถทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ต่างๆ

เช่น VMware , SAP HANA เป็นต้น  และ โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จ (Hyper-Converged Infrastructure Appliance – HCIA) ซึ่งเป็น อุปกรณ์ Appliance ที่รวมระบบเซิฟเวอร์, ระบบสตอเรจ และระบบเน็ตเวิร์คเข้าด้วยกัน ด้วยความสามารถของซอฟต์แวร์ทำให้กำหนดรูปแบบการทำงานของอุปกรณ์ให้เป็นระบบเสมือนตามต้องการ เช่น Virtual SAN เป็นต้น จึงเหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กถึงกลาง ที่ต้องการขยายตามการใช้งานที่เพิ่มขึ้น (Scale –out) เมื่อต้องการ  โดยขยายเป็นลักษณะ Node ที่นิยมในปัจจุบัน เช่น HCIA สำหรับ VDI เป็นต้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนที่ไม่จำเป็น แพลตฟอร์ม Hitachi Hyper Scale-Out Platform (HSP) เพื่อวิเคราะห์เวิร์คโหลดข้อมูลจำนวนมหาศาลด้วยความรวดเร็ว ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ๆที่มีคุณสมบัติการสั่งการโดยระบบอัตโนมัติเพื่อการทำ provisioning และการป้องกันในระดับแอพพลิเคชั่น ซึ่งได้แก่ Hitachi Automation Director, Hitachi Infrastructure Director, และ Hitachi Data Instance Directorออกสู่ตลาด

 

Storage Virtualization สำหรับทุกขนาดองค์กร 

กลุ่มผลิตภัณฑ์Hitachi VSP(G-Series) ที่เพิ่มเข้ามาอย่าง G200, G400,G600และ G800ที่กำลังจะเปิดตัวเร็วๆ นี้ ส่งผลให้ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เป็นผู้นำเทคโนโลยีรายเดียวที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการด้านเวิร์คโหลดที่ระบบงานของลูกค้ามีอยู่ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับเมนเฟรมได้ด้วย software stackเดียว การขยายความสามารถของซอฟต์แวร์ประสิทธิภาพสูงที่ถูกสร้างลงไปใน Hitachi SVOSช่วยให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบแพลตฟอร์มสตอเรจเวอร์ชวลไลเซชั่นทั้งหมดสามารถนำเสนอการจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงแบบ native heterogeneous storage  และแบบ multi-site active-active storageโดยสามารถทำการโอนย้ายข้อมูล, คัดลอกข้อมูล และบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างคล่องตัว ลูกค้าในปัจจุบันมีความสามารถในการเลือกใช้ระบบตามความจำเป็นในการใช้งาน, สมรรถนะและราคา ที่ตอบสนองเป้าหมายทางธุรกิจ ไม่ใช่จากความแตกต่างด้านคุณสมบัติการใช้งาน

 

ลูกค้าที่ต้องการระบบที่มีขนาดเล็กลง ปัจจุบันสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นได้ เช่นเดียวกับที่มีอยู่ในระบบสตอเรจระดับสูงของเอชดีเอสซึ่งได้รับตำแหน่งผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ จากคะแนนสูงสุดในการทดสอบการทำงาน / use-case specific scoresจาก Critical Capabilities for General-Purpose, High-End Storage Arrays ของการ์ทเนอร์ดังนั้นความสามารถที่ผ่านการพิสูจน์แล้วเหล่านี้ จึงนับเป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญในการรวมศูนย์ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ง่ายขึ้นให้กับผู้ใช้งานระบบจัดเก็บข้อมูลในทุกขนาด ตลอดจนช่วยให้การโอนย้ายข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น, การบริหารจัดการสะดวกขึ้น รวมถึงความคล่องตัวโดยไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์การทำงานที่ซับซ้อน

 

การผสมผสานแพลตฟอร์มคอนเวิร์จที่ดีที่สุดสำหรับทุกเวิร์คโหลด

          ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Converged Infrastructure หรือ  Hitachi Unified Compute Platform (UCP)ถูกขยายการทำงานด้วยโครงสร้างพื้นฐานไฮเปอร์-คอนเวิร์จและคอนเวิร์จ เพื่อรองรับงานไอที ทั้งส่วนหลักและส่วนรองได้อย่างรวดเร็วและง่ายยิ่งขึ้น โดยล่าสุดสำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ UCP ได้รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์-คอนเวิร์จ Hitachi UCP 1000 สำหรับVMware EVO:RAILและ โครงสร้างพื้นฐานแบบคอนเวิร์จ   Hitachi UCP 2000ซึ่งทั้งสองผลิตภัณฑ์ใช้เซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่ซึ่งเหมาะสำหรับบริษัทขนาดเล็ก-กลาง รวมทั้งธุรกิจที่มีลักษณะเป็นสำนักงานสาขา หรือสำนักงานในพื้นที่ห่างไกลในขณะที่ โครงสร้างพื้นฐานแบบคอนเวิร์จรุ่น Hitachi UCP 6000 ก็มีการผนวกรวมเข้ากับเบลดเซิร์ฟเวอร์ Hitachi CB 2500 ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ ด้วยสมรรถนะที่เหนือราคาสำหรับเวิร์คโหลดข้อมูลที่มีความสำคัญๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ UCP ยังมาพร้อมกับ Hitachi Unified Compute Platform Directorซอฟต์แวร์จัดการโครงสร้างพื้นฐานอัตโนมัติระดับแถวหน้าของอุตสาหกรรมไอที ที่จะช่วยให้ลูกค้าขับเคลื่อนประสิทธิภาพในการทำธุรกิจผ่านการติดตั้งที่รวดเร็ว และสั่งการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานด้านการจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ที่ให้ความยืดหยุ่นสูงเตรียมพร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนเวิร์คโหลดให้เข้ากับความต้องการทางธุรกิจ

 

สร้าง Active Data Lake สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่

สถาปัตยกรรมไฮเปอร์-คอนเวิร์จตัวใหม่ของ Hitachi Hyper Scale-Out Platform หรือ HSP จะช่วยให้งานประมวลผลคอมพิวเตอร์ทำได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ประหยัด และมีความสามารถแบบออนดีมานด์ ด้วยความสามารถในการนำข้อมูลที่เกิดจากการผสมผสานข้อมูลประเภทต่างๆ จำนวนมหาศาลเข้าด้วยกันสู่ระบบ ทั้งที่มีจากสถาปัตยกรรมแบบกระจาย และแบบคลัสเตอร์ การจัดการข้อมูลแบบอัตโนมัติได้อย่างง่ายดายผลิตภัณฑ์ HSP จะช่วยให้บริหารการเติบโตของข้อมูลเป็นไปอย่างยืดหยุ่น ด้วยเทคโนโลยีด้านจัดการไฟล์ข้อมูล (Hitachi file system technology) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบโอเพ่นซอร์ส และเวอร์ชวลไลเซชั่น ทั้งนี้ HSP นับเป็นแพลตฟอร์มscale-out สำหรับฮาดูป (Hadoop)เพราะช่วยให้ผู้ใช้งานทำการวิเคราะห์ข้อมูลภายในหน่วยความจำ  โดยไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายชุดข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อไปใช้ทำการวิเคราะห์สำหรับบิ๊กดาต้า

Application-Led จัดสรรพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและปกป้องข้อมูลอัตโนมัติ

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ยังนำเสนอซอฟต์แวร์ทูลส์ใหม่ๆ ที่จะช่วยผู้ใช้งานในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานบริการแบบIT-as-a-Service (ITaaS)ได้ตามที่ต้องการควบคู่ไปกับการส่งมอบความสามารถในการบริการself-service เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ใช้ภายในองค์กร โซลูชั่นแบบapplication-aware นี้จะนำเสนอระบบการทำงานอัตโนมัติที่ยอดเยี่ยมยิ่งขึ้น และให้การปกป้องเพิ่มขึ้นสำหรับเวิร์คโหลดที่มีความสำคัญๆยิ่งของลูกค้ารวมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนในการจัดการ ขณะเดียวกัน ก็เพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องในสภาพแวดล้อมที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์  ซึ่งซอฟต์แวร์ทูลส์ใหม่ ๆ นี้ได้แก่

 Hitachi Automation Directorเป็นแอพพลิเคชั่นใหม่ที่จะทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์แบบบูรณาการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน Hitachi Command Suiteโดยมาพร้อมกับ templatesที่เป็น best-practice-based สามารถติดตั้งใช้งานได้เลย เพื่อให้ทำงานได้ง่ายเพื่อสั่งการในแอพพลิเคชั่นแบบเฉพาะเจาะจงจากระบบจัดเก็บข้อมูลไปยังฐานข้อมูล, แอพพลิเคชั่นต่างๆ สภาพแวดล้อมแบบ Virtual Desktop Infrastructure (VDI)โดยผู้ใช้งานสามารถนำtemplatesเหล่านี้ เพื่อทำการสั่งการแบบบริการตัวเองได้ทันที โดยไม่ต้องพึงพาฝ่ายไอที

นอกจากนี้ ยังมีแอพพลิเคชั่นขนาดเล็ก Hitachi Infrastructure Directorที่จะสามารถทำงานร่วมกับ Hitachi Command Suite โดยเป็นแอพพลิเคชั่นด้านบริหารจัดการ และการปรับแต่งค่าสตอเรจใหม่ ซึ่งมีการใช้ APIs ใหม่ของระบบแพลตฟอร์มสตอเรจเวอร์ชวลไลเซชั่น (VSP)เพื่อบริหารจัดการง่าย ด้วยการชี้นำจากโปรแกรมให้คำแนะนำ (recommendation engine) ซึ่งติดตั้งไว้ภายในซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานจัดการกับการทำงานได้โดยตรงอย่างสะดวก ในทุกๆ VSPfamily รุ่นใหม่นี้

ในส่วนของการปกป้องข้อมูล  ยังมี Hitachi Data Instance Directorซอฟต์แวร์อัตโนมัติ และควบคุมการทำสำเนาแบบ storage-basedได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีจะช่วยให้การปกป้องข้อมูลทำได้ง่าย ผ่านทั้งระบบอัตโนมัติ และการจัดการระบบเป็นกลุ่มของเทคโนโลยีการเก็บสถานะ (snapshot), การคัดลอก (clone) และการทำซ้ำข้อมูล (replication) แบบ storage-based ของฮิตาชิ โดยเป็นคุณสมบัติเพิ่มเติมจากการทำสำรองข้อมูลไปพร้อมกับการทำงานปกติ (live backup), การปกป้องข้อมูลอย่างต่อเนื่อง (continuous data protection) และความสามารถการจัดเก็บข้อมูลถาวร (archive capabilities) ภายใต้แพลตฟอร์มเดียว โดย Data Instance Director จะสนับสนุนการอินเตอร์เฟซที่ง่าย และจับคู่ระดับบริการปกป้องข้อมูลเข้ากับการจัดเรียงลำดับความสำคัญทางธุรกิจ ด้วยการใช้อินเตอร์เฟซเฉพาะอย่างwhiteboard-style interface

  “ปัจจัยพื้นฐานของไอทีกำลังเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเทคโนโลยี แพลตฟอร์มยุคที่ 3  (the third platform) และการสร้างสมดุลที่เหมาะสมระหว่างระบบไอทีที่มีความแตกต่างกัน หรือการให้บริการไอทีอย่าง IT as a service หรือ ITaaS นี่คือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันลูกค้าพยายามเคลื่อนย้ายไปสู่ ITaaS เพราะต้องการหาวิธีการที่ตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วยืดหยุ่นและคล่องตัวให้ธุรกิจมากขึ้นรวมถึงการเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขัน เราพร้อมที่จะนำนวัตกรรมโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ อย่างSoftware-defined Infrastructures (SDI) มาสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในสภาพแวดล้อมการใช้งานแอพพลิเคชั่นของลูกค้า เพื่อที่จะเชื่อมต่อการทำงานของวันนี้กับอนาคตได้ตามที่ต้องการ”นายมารุต กล่าวทิ้งท้าย