อีอีซี ปักธง! สร้างไทยเป็นศูนย์กลางแห่งเอเชียด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า
ไทยเราต้องเร่งศึกษาและพัฒนากำลังคนที่เข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์เทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ 5G, การวิเคราะห์ข้อมูล ระบบอัตโนมัติ และเทคโนโลยี Cloud
“อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ประเทศไทยเรานั้นเป็นแชมเปี้ยนการผลิตรถยนต์ฟอสซิลในภูมิภาคเอเชียมานานปี ต้องตั้งหลักให้ดี จึงจะรักษาฐานที่มั่นได้และพัฒนาต่อเนื่องจนสามารถก้าวเป็นศูนย์กลางแห่งเอเชียด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าได้ ไทยเราต้องเร่งศึกษาและพัฒนากำลังคนที่เข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์เทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ 5G, การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics), ระบบอัตโนมัติ (Automation) และเทคโนโลยี Cloud ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Productivity) ให้สูงขึ้นจนเป็น อุตสาหกรรม 4.0 จนสามารถแข่งขันกับระดับสากลได้” รศ. ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านการพัฒนาการศึกษา บุคลากรและเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ให้ทรรศนะอย่างชัดเจน
การดำเนินการงานของอีอีซี ปี 2564 นี้ จักมุ่งเน้นการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ ที่รวมถึงต่อยอดอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย หลังจากช่วงแรกอีอีซีได้ดำเนินการเรื่องโครงสร้างพื้นฐานจนสำเร็จผลตามแผน คาดว่าปีนี้จะมียอดลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยถึง 300,000 ล้านบาท รศ. ดร.ชิต ยังได้กล่าวเสริมว่า “วันนี้ภาคอุตสาหกรรมจะไม่ได้แข่งขันกันที่เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวอีกแล้ว แต่จะต้องมุ่งเน้นด้านการทำ Digital Platform และ บุคคลากร ที่มีความสามารถในซัพพลายเชน จนสามารถสร้างความได้เปรียบระยะยาว ภาครัฐและเอกชนซึ่งต้องปรับตัวไปตามยุคสมัยให้ทัน
ตอนนี้แนวโน้มยานยนต์ไฟฟ้า EV กำลังมาแรงมาก ผู้นำเทคโนโลยีด้านนี้กำลังเล็งสร้าง EV City ในพื้นที่อีอีซี จากการที่ไทยเรามีระบบซัพพลายเชนที่เข้มแข็ง และ ระบบโลจิสติกส์ที่ดีที่สุดในกลุ่มประเทศ CLMV (กลุ่มประเทศเขมร ลาว พม่าและเวียดนาม) ภายในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนี้ อุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าในอีอีซีจะเติบโตขึ้น ถึงการผลิตระดับ 10 Gwats
แบตเตอรี่ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้า EV คิดเป็น 30-40% ของต้นทุนรถ EV เลยทีเดียว แม้ว่า Lithium-ion เป็นเทคโนโลยีแบตหลักของยานยนต์ Manufactured and Fossil Converted EV อีอีซี ก็ยังให้การสนับสนุนวิจัยเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทางเลือก Zinc ion ด้าน Energy Storage System (ESS) สำหรับ Solar/Wind Farms และ EV Charging Stations อีกด้วย” ดร. ชิต กล่าวทิ้งท้าย
ในแง่การพัฒนาประสิทธิภาพสายการผลิต วิศวกร ช่างหรือนักอุตสาหกรรมต้องมีการ reskill/upskill ความรู้ด้านเทคโนโลยีอยู่เสมอ หาโอกาสสัมผัสเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ได้ไอเดียไปต่อยอดกับสายการผลิตของตนเอง งานแสดงสินค้า แมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2021 เวทีที่รวบรวมเหล่าผู้ให้บริการเทคโนโลยีใหม่ๆ ครบครันในงานเดียว ระหว่างวันที่ 23 -26 มิถุนายน ณ ไบเทค บางนา เปิดโอกาสให้นักอุตสาหกรรมในวงการได้พบปะ เลือกสรร สัมผัสเทคโนโลยีและพูดคุยขอคำแนะนำจากผู้ให้บริการได้โดยตรง