กฟผ. หนุน EV Ecosystem ครบวงจร ส่ง Supernova ตู้ชาร์จอัจฉริยะ สร้างกระแสธุรกิจ EV Charger ในไทย
กฟผ. หนุน EV Ecosystem ครบวงจร ส่ง Supernova ตู้ชาร์จอัจฉริยะ สร้างกระแสธุรกิจ EV Charger ในไทย
การจะยกระดับสังคมพลังงานสะอาดให้เกิดขึ้นเร็ววันในประเทศไทยนั้น นอกจากการส่งเสริมให้มีรถยนต์ไฟฟ้าหลากหลายรุ่นออกมาสู่ตลาดมากขึ้นแล้ว อีกความจำเป็นไม่แพ้กันนั่นคือประเทศไทยต้องวางฐานราก สร้าง Eco System ของยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ
ในฐานะผู้นำด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นอีกองค์กรหลักที่ประกาศเดินหน้าเข้าสู่ธุรกิจพลังงานสะอาดเพื่ออนาคตเต็มตัว ด้วยการเปิดตัวธุรกิจใหม่ EGAT EV Business Solutions พร้อมวางโรดแมปที่จะเป็นหัวหอกในการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าครบวงจร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้รถไฟฟ้าในการเลือกใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการเดินทางมากขึ้น นัยหนึ่งเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้รถ EV ในประเทศมากขึ้น เดินหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)
หลังจากประสบความสำเร็จอย่างดีกับการชิมลางเปิดตัวผลิตภัณฑ์เครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV แบรนด์ EGAT + Wallbox ในรุ่นเล็กอย่าง Pulsar Plus ไปแล้วเมื่อปีก่อน ที่ได้รับการตอบรับ ด้วยยอดขายมากกว่า 300 เครื่อง ทั้งยังได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการโครงการบ้านและคอนโดฯ ที่อยากจะนำ Wallbox เข้าไปติดตั้งในโครงการต่อเนื่อง
ล่าสุด กฟผ. เดินหน้าต่อในการหนุนเป้าหมายของรัฐบาลในการเร่งให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในไทยให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2573 นั้น กฟผ. ไม่เพียงดำเนินการเปิดสถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGAT ตามจุดเดินทางต่างๆ รวมถึงสถานที่สำคัญและจุดท่องเที่ยวทั่วประเทศ ที่คาดว่าจะสามารถขยายสถานีได้ไม่น้อยกว่า 40-50 สถานี ภายในช่วงต้นปี 2565 นี้
อีกด้านหนึ่งทาง กฟผ. เอง ก็ยังบุกหนักต่อเนื่องในการที่จะปูพรมขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้ครอบคลุมการให้บริการมากขึ้น ล่าสุดยังใช้กลยุทธ์การสร้างพันธมิตรธุรกิจเครือข่าย โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเป็นเจ้าของสถานีชาร์จไฟฟ้าได้ ซึ่งทาง กฟผ. ได้เปิดตัว “Supernova” เครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว (DC Fast Charger) รุ่นใหม่ ภายใต้แบรนด์ EGAT + Wallbox เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในงาน Motor Expo 2021 ซึ่งถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการตั้งเป้าสู่ธุรกิจสถานีอัดประจุไฟฟ้าเต็มตัว
รู้จัก Supernova ตู้ชาร์จพลังงานอัจฉริยะที่ไม่ได้มีดีแค่ “สวย”
สำหรับคุณสมบัติหรือจุดเด่นของ Supernova นั้นเป็นเครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Fast Charger) ขนาด 60 กิโลวัตต์ ซึ่งนอกจากจุดเด่นในด้านผลิตภัณฑ์นั่นคือการดีไซน์ทันสมัย สวยงาม และสามารถรองรับกำลังไฟฟ้าสูงสุดของรถ EV ในท้องตลาด สามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 60 กิโลวัตต์ โดยใช้เวลาชาร์จเพียง 15 นาที วิ่งได้ 100 กิโลเมตร และรองรับหัวชาร์จทุกค่ายรถยนต์ทั้งแบบ CCS และ CHAdeMo แล้ว
Supernova ยังตอบโจทย์กลุ่มผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนด้วยการมีแพลตฟอร์มระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ ที่นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานสูง ทำให้จ่ายพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้นแต่ใช้ทรัพยากรน้อยลง และมีราคาถูกกว่าเครื่องชาร์จแบบเดียวกันเกือบ 50% ทั้งยังมีค่าบำรุงรักษาต่ำ
สุดอัจฉริยะ ชาร์จไว แถมอัพเกรดได้
อีกความโดดเด่นสำคัญที่อาจทำให้ Supernova น่าจะมาแรงในตลาดธุรกิจสถานีชาร์จไฟฟ้าได้ไม่ยาก คือการมีระบบที่สามารถอัพเกรดเพิ่มกำลังไฟเป็น 100 กิโลวัตต์ได้ อีกทั้งยังสามารถแชร์พลังงานไฟระหว่างตู้สองตู้ได้
ข้อดีคือจะทำให้ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนสถานีชาร์จเร็วสามารถตัดสินใจลงทุนง่ายขึ้น เนื่องจากสามารถอัพเกรดเป็น 100 กิโลวัตต์ (ซึ่งจะเปิดให้บริการอัพเกรด power module ประมาณ กลางปี 2565) ได้ในภายหลัง โดยไม่ต้องซื้อเครื่องอัดประจุไฟฟ้าใหม่ นอกจากนี้ Supernova ยังรองรับเทคโนโลยี DC Link หากผู้ประกอบการลงทุนติดตั้ง 2 ตู้ สามารถเชื่อมต่อแชร์ไฟระหว่างตู้ให้เป็น 100 กิโลวัตต์ได้ โดยจะเปิดตัวในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการมี cash flow ที่ดีกว่าการลงทุนเพียงครั้งเดียว
นายสาธิต ครองสัตย์ ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ กฟผ. เปิดเผยว่า สาเหตุที่ กฟผ. เลือกนำเครื่องอัดประจุไฟฟ้ารุ่น Supernova มาวางจำหน่ายนั้น เพราะมองแล้วว่าปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยส่วนใหญ่อัตราการชาร์จยังคงอยู่ในระดับ 60-100 กิโลวัตต์เท่านั้น ซึ่งเพียงพอสำหรับการเดินห้างหรือช็อปปิ้งเพียงครึ่งชั่วโมงก็เต็มพอดี แต่หากในอนาคตตลาดรถอีวีเติบโตมากขึ้น ก็สามารถรับกำลังไฟฟ้าให้มากขึ้นเป็น 100 กิโลวัตต์ได้ อีกทั้งทาง กฟผ. ยังมองเผื่อลูกค้าในระยะยาว กระทั่งการพยายามสรรหาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ อีกหลายแบบเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เป็นเจ้าของธุรกิจพลังงานสะอาดได้ง่ายขึ้น อาทิ การลีสซิ่ง เช่าซื้อ
คุ้มทุนระยะยาว
จุดคุ้มทุนขึ้นอยู่กับทำเลเป็นหลัก หากผู้ประกอบการสังเกตว่าเริ่มมีรถ EV เข้ามาเยอะ และทราบได้ว่ามักใช้เวลาจอดนานกี่นาที หากผู้ประกอบการตั้งราคาขายที่ประมาณ 9-10 บาท หักต้นทุนค่าไฟที่ประมาณ 30-40% แล้ว จะได้กำไร 6 บาท กรณีลูกค้าชาร์จ 60 นาที ได้ 60 หน่วยหรือกิโลวัตต์ เท่ากับผู้ประกอบการได้กำไร 360 บาทต่อชั่วโมง หากให้บริการเฉลี่ยวันละ 10 ชั่วโมง ก็จะได้กำไรประมาณ 3,600 บาท หรือเดือนประมาณแสนบาท เพียง 7 เดือนก็สามารถคุ้มการลงทุนได้
นายเศรษฐศิษฎ์ ชาติการุณ หัวหน้าแผนกธุรกิจระบบโครงข่ายไฟฟ้าดิจิทัลและพลังงานใหม่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจเกี่ยวเนื่อง กฟผ. ให้ข้อมูลว่า “เราเน้นต่างจังหวัด กลุ่มเมืองท่องเที่ยว ในโซน 200-300 กิโลเมตร เนื่องจากมองว่าในกรุงเทพฯ ลูกค้าสามารถชาร์จได้ที่บ้าน แต่เขาจะต้องการชาร์จเมื่อเขาเดินทาง ซึ่งปกติไลฟ์สไตล์คนเราจะไม่ได้ไปที่ไหนเพื่อชาร์จไฟ แต่อาจอยากไปนั่งร้านกาแฟ รับประทานอาหาร 20 นาที ซึ่งหากเรามีตู้ชาร์จไฟฟ้าติดตั้งอยู่ ระหว่างนั้นผู้ใช้ก็สามารถชาร์จได้”
สำหรับตลาดกลุ่มแรกที่ ทาง กฟผ. เล็งไว้คือ ท่องเที่ยว โรงแรม อาหาร สนามกอล์ฟ โดยคาดว่าจะเปิดจำหน่าย Supernova ในไตรมาสที่ 1 ในปี 2565 เนื่องจากรอการผลิตจากโรงงานในสเปน ซึ่งปัจจุบันนี้กระแสความต้องการทั่วโลกมีสูงมาก จนทำให้เกิดภาวะสินค้าขาดตลาดไปชั่วขณะ
ชูจุดเด่นแบรนด์นวัตกรรมระดับโลก
ในเรื่องความเชื่อมั่น แนะนำว่าสิ่งที่ผู้บริโภคต้องดูเมื่อจะเลือกซื้อเครื่องอัดประจุไฟฟ้า ควรดูที่ความเสถียรของการจ่ายไฟซึ่งจะขึ้นอยู่กับเครื่องชาร์จแต่ละแบรนด์ เป็นเหตุผลที่เราต้องเลือกแบรนด์ที่ได้รับการรับรองการผ่านมาตรฐานคุณภาพจากประเทศยุโรประดับสูงมาแล้ว อย่าง Wallbox ซึ่งผ่านแลป Derka เยอรมนี เป็นที่เรียบร้อย และปัจจุบัน Wallbox เป็นแบรนด์ผู้ผลิตที่มีการจำหน่ายใน 60 ประเทศทั่วโลก บริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา และเป็นบริษัทที่มีการลงทุนพัฒนาด้านนวัตกรรมต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ EGAT ให้ความสำคัญมาก นอกจากนี้ทางบริษัทยังมีแนวคิดการลงทุนโรงงานในหลายประเทศทั่วโลกในอนาคต ซึ่งอาจรวมทั้งไทยที่สามารถจะเป้นฮับใหญ่การผลิตและส่งออกในภูมิภาคได้ด้วย
แต่นอกจาก Supernova ปัจจุบัน EGAT มีผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ที่วางจำหน่ายอีกหลากหลายรุ่น หนึ่งในนั้นที่กำลังได้รับความนิยมได้แก่ เครื่องอัดประจุไฟฟ้าในบ้าน ( Home Charging) รุ่น Pulsar Plus ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์มีขนาดเล็กกะทัดรัดด้วยน้ำหนักเพียง 1 กิโลกรัม แต่สามารถเพิ่มกำลังไฟในการชาร์จ ได้ถึง 22 กิโลวัตต์ สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้ง Wi-fi และ Bluetooth และยังเชื่อมต่อผ่านแอพพลิเคชัน myWallbox โดยมีราคาจำหน่าย 53,000 บาท (พร้อมติดตั้ง) แต่เฉพาะในงานมอเตอร์เอ็กซ์โปร์ครั้งนี้ ทาง กฟผ. ได้จัดราคาพิเศษสำหรับผู้สนใจหากสั่งจองหรือซื้อ ได้ในราคาเพียง 49,000 บาท (พร้อมติดตั้ง)
สนใจ ชม Supernova : Smart DC Charger ตัวจริง และ Charger รุ่นอื่น ๆ ได้ที่บูธ H05-1 ชาเลนเจอร์ 3 ในงาน Motor Expo 2021 นี้