ChatGPTและเทคโนโลยี วางแผนสุขภาพอย่างยั่งยืน
การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจุบัน มีการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างมากมายอย่างเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI :Artificial Intelligence ) ที่จัดการเรื่องสุขภาพได้อย่างยั่งยืนเป็นระบบมากขึ้น และการดูแลผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
งาน PTT Group Tech & Innovation Day จัด โดย บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) Sumit Sharma Managing Director and Partner ,BCG
เล่าถึง แนวโน้มสําคัญที่ขับเคลื่อนความก้าวหน้าในการดูแลสุขภาพ และห่วงโซ่และการพูแลสุขภาพ ทั้งผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งปรากฎทั่วไปทั้งในรูปแบบ ยารักษาโรค ซึ่งสามารถค้นพบได้ในระยะเวลาที่เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาโซลูชั่นด้านสุขภาพโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ ทำให้วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ และทางแก้ไขได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ“ผู้สูงอายุ”
“คงไม่ต้องรอจนถึงเวลาเป็นผู้สูงอายุการดูแลสุขภาพแต่เนิ่นๆ ในรูปแบบการใส่ใจสุขภาพโดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง การวางแผนโภชนาการที่ดีตามหลักปกติใหม่จะทำให้ความหมายการดูแลสุขภาพจากนี้เปลี่ยนไปบนพื้่นฐานความยั่งยืนทั้งสุขภาพและสังคมโดยรวมด้วย"
ทั้งนี้ ประชากรสูงอายุมีค่าใช้จ่ายในการดูแลเพิ่มขึ้น จากสาเหตุ 1. เทียบมูลค่ารายได้ต่อหัวประชากรช่วงปี 2503 ซึ่งอยู่ที่ราว 450 ดอลลาร์ ก็เพิ่มขึ้นมาเป็น 12,000 ดอลลาร์ในปี 2564
2. การบริโภคและการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น 5% ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพประจําปีต่อคน มากกว่า 3. การพัฒนาทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง มีการเปิดตัวยารักษาโรคใหม่ 20-60 ตัวต่อปี 4.บริการสุขภาพรูปแบบใหม่ๆ ข้อเสนอพิเศษต่างๆ 5.การส่งมอบการดูแลนอกโรงพยาบาล การดูแลแบบบูรณาการระหว่างผู้ให้บริการด้วยกัน
นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มการใช้งานเอไอและเทคโนโลยี เพื่อการจัดการสุขภาพ และพบว่ามีการลงทุนเพิ่มขึ้นทั่วทั้งห่วงโซ่มูลค่าด้านการดูแลสุขภาพที่มีการนำเอไอมาใช้ ดังนั้น คาดว่าปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะเป็นตัวเร่งและขับเคลื่อนการค้นพบนวัตกรรมการดูแลสุขภาพใหม่ๆในอนาคต ทั้งด้านชีวเภสัชภัณฑ์และเทคโนโลยีชีวภาพ
“เอไอทำให้ความสามารถวิจัย และพัฒนาที่เร็วขึ้น เช่น การเติบโตของเอไอในด้านชีวเภสัชภัณฑ์ที่เติบโตมากขึ้นในปี 2564 และมีบทบาทมากในปัจจุบันและอนาคต เป็นการเร่งสิ่งที่จะต้องได้ใช้ในอนาคตให้ได้ใช้ในเวลาที่เร็วขึ้นนั่นเอง”
ด้านการเดินทางของผู้ป่วย ก็พบว่า เอไอ ได้ผสานกับระบบดิจิทัลเพื่อให้บริการทางการแพทย์ระยะไกลซึ่งไม่ใช่แต่การรับบริการทั่วไป แต่เป็นการมีส่วนร่วมในการเลือกแพทย์ สถาบันการแพทย์ และวิธีการรักษาด้วย รวมถึงบริการทางการเเพทย์ที่มีการพัฒนาในด้านต่างๆได้แก่ 1.การมีส่วนร่วมในการเลือก ของแพทย์ สถาบันการแพทย์ และการรักษา 2. แผนดูแลสุขภาพรูปแบบ “Omni Channel” หรือ การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่หลากหลายช่องทางให้รวมเป็นหนึ่งเดียว ทั้งออน์ไลน์ (Online) และแบบหน้าร้าน (Offline) 3.ความรู้ทางการแพทย์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น 4.การแบ่งปันความเสี่ยงระหว่างผู้ป่วยและระบบจัดการ 5.ความมั่นใจการรักษาพยาบาล 6.การให้คําแนะนําส่วนบุคคลตามโปรไฟล์ที่มีความเสี่ยงต่างกันไป
"สถานที่ไม่ใช่ปัญหาสำหรับการดูแลสุขภาพอีกต่อไป ซึ่งเทคโนโลยีสามารถทำได้ถึงการ เปลี่ยนจากผู้ป่วยในเป็นผู้ป่วยนอก โดย
การบริการสุขภาพระยะไกล ซึ่งใช้เครื่องมือจาก 1.Chatbots การบอกอาการเป็นจุดแรกก่อนนำข้อมูลใช้ในการวินิฉัยอาการ 2.การปรึกษาออนไลน์ การสนับสนุน Telemedicine ที่เชื่อมโยงกับเอไอ 3.การวินิจฉัยและการตรวจสอบระยะไกล การติดตามระยะไกลโดยใช้
อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ(Wearable device) 4.การบําบัดแบบดิจิทัลและการบําบัดแบบดิจิทัลที่ได้รับผ่านการรับรองแล้ว
สำหรับเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คือ แอพพลิเคชันสุขภาพดิจิทัล ซึ่งมีเกณฑ์การทำงานด้านต่าง ได้แก่1. การกำหนดมาตรฐานการทำงานร่วมกัน ใน50 ประเทศจาก 500 บริษัท เพื่อพัฒนาความสามารถการใช้ประโยชน์จากข้อมูลสุขภาพร่วมกัน 2.เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี คลาวด์ขั้นสูงซึ่งจะช่วยให้การปรับตัวทำได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่า 3.อินเตอร์เน็ต ฮาร์ดแวร์เซ็นเซอร์ขั้นสูงและการเชื่อมต่อ เทคโนโลยีช่วยให้สามารถติดตามข้อมูลขนาดใหญ่ได้ 4. เทคโนโลยี Generative AIที่ใช้ AI สร้างข้อมูลที่ไม่มีอยู่จริง โดยสอน AI ให้เรียนรู้จากแบบจำลองของข้อมูลสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่จริง เช่น ChatGPT ที่สามารถนำไปสู่ ความก้าวหน้าครั้งใหม่ เช่นการสร้างแผนการรักษา เป็นต้น