บิทาซซ่า นายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker)
บิทาซซ่า นายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker) ประกาศลิสต์เหรียญ DeFi ใหม่ 8 เหรียญ เน้นย้ำจุดเด่นของโบรกเกอร์ในการลิสต์เหรียญใหม่ๆพร้อมดึงราคาและสภาพคล่องจากตลาดโลก
บิทาซซ่า นายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker) ชั้นนำของประเทศไทย (www.bitazza.com) ประกาศเปิดลิสติ้งเหรียญใหม่ๆภายนระบบนิเวศน์ของ Decentrallized Finance ให้กับผู้ใช้งานแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลของบิทาซซ่า ซึ่งการเปิดให้เทรด 8 เหรียญใหม่ครั้งนี้เป็นความตั้งใจเน้นย้ำจุดเด่นของโบรกเกอร์ในการลิสต์เหรียญใหม่ซึ่งยังไม่มีสภาพคล่องในประเทศ ทั้งนี้ทำให้บิทาซซ่ากลายเป็นแพลตฟอร์มที่มีคู่เทรดมากที่สุดในประเทศไทย
บิทาซซ่ายังคงมุ่งเน้นการพาคนไทยเข้าถึงตลาดโลกทั้งด้านราคาสินทรัพย์ดิจิทัล ทางเลือกเหรียญที่คัดสรรมาแต่โครงการคุณภาพและปริมาณสภาพคล่อง (วอลลุ่ม) โดยไม่ลืมถึงบริการพื้นฐานที่รวมถึงความเสถียรของระบบ การลงทะเบียนเข้าใช้งานและยืนยันตัวตนอย่างสะดวกรวดเร็วด้วยเทคโนโลยี AI บริการลูกค้าสัมพันธ์ 24 ชม. และการฝากถอนได้ตลอดเวลาที่ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ลูกค้ายังสามารถเลือกจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นโทเคนของบิทาซซ่าหรือจ่ายเป็นเงินบาทและได้รับโทเคนที่มีมูลค่ากลับคืน ด้วยคอนเซ็ปท์ “ค่าธรรมเนียมคุ้มกว่าฟรี” อีกด้วย
การลิสติ้งเหรียญ 8 เหรียญใหม่นี้ยังเป็นการเปิดทางให้การเงินแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Finance) ให้เป็นเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น แสดงเห็นถึงการใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนที่หลากหลายมากกว่าการเกร็งกำไรมูลค่าเหรียญ
1) Aave คือโปรโตคอล DeFi ที่ให้กู้ยืมคริปโตโดยมีดอกเบี้ยทั้งแบบประจำและแบบอัตรา ทั้งสำหรับการฝากและการถอน ฟีเจอร์เด่นๆของ Aave คือการให้กู้ยืมแบบไม่ต้องวางเบี้ยมัดจำ การสลับเรทราคา การกู้ยืมแบบ Flash Loan และการใช้เบี้ยมัดจำแบบพิเศษต่างๆ
2) SushiSwap เป็น Decentralize exchange สร้างบนอีธีเรียมโดยมุ่งเน้นการคอมมูนิตี้ สร้างโดยบุคคลลึกลับในนาม Chef Nomi หลังจากที่สร้าง Uniswap ขึ้น และในปัจจุบันอยู่ภายใต้ บุคคลที่ใช้ชื่อ 0xMaki
SushiSwap ให้ผู้ใช้งานแลกเปลี่ยนคริปโตเป็นคริปโตกันเองโดยตรง และให้ผลประโยชน์แก่เครือข่ายผู้ใช้งานที่ร่วมมาฝากสินทรัพย์และสร้างสภาพคล่องกันเอง ความมีชื่อเสียงของโปรเจ็คนี้เกิดมาจากทิศทางการพัฒนาฟีเจอร์ที่เน้นความต้องการของผู้ใช้งาน โปรโตคอลนี้ไม่มีการดูแลควบคุมโดยหน่วยงานใด และทำงานบนสมาร์ท คอนแทรค (สัญญาอัจฉริยะ)
3) Curve Dao Token หรือ CRV คือ Governance Token ของ DeFI Protocol ชั้นนำอย่าง Curve ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มประเภท decentralized autonomous organization (DAO) โดยแพลตฟอร์นี้เป็นที่รู้จักจากการที่เป็นผู้สร้างสภาพคล่องซื้อขายอัตโนมัติ Automated Market Maker (AMM) ให้กับ Stablecoins อย่างเช่น USDT,USDC และ Dai เพื่อให้ได้อัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกที่สุด ผู้ที่นำสินทรัพย์ดิจิทัลประเภท Stablecoins มาฝากเพื่อช่วยสร้างสภาพคล่องให้เทรดเดอร์สามารถซื้อขายกันได้โดยตรงผ่าน Smart Contract ภายในแพลตฟอร์มของ Curve จะได้รับผลตอบแทน (Yield) เป็นรางวัล ส่วนผู้ที่ถือโทเคน CRV จะได้รับสิทธิในการอกเสียงโหวตภายใน Protocol และสามารถนำโทเคนไปทำการ Stake เพื่อรับผลตอบแทนได้อีกด้วย
4) MKR เป็นแพลตฟอร์มที่ให้ผู้ใช้งานกู้ยืมได้โดยการฝากสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อแลกกับเหรียญ DAI ซึ่งเป็น stablecoin ที่เป็นที่ยอมรับแพร่หลายในหลายๆโปรโตคอล DeFi โทเคน MKR เป็นโทเคน governance ใช้ควบคุมโปรโตคอล Marker ผู้ ถือโทเคนจะมีสิทธิ์เข้าร่วมตัดสินใจต่างๆ
5) ALPHA เป็นยูทิลิตี้โทเคนของ Alpha Finance Lab จากประเทศไทย ซึ่งเป็นโปรเจ็คที่สร้างโปรดักส์ DeFi หลากหลาย รูปแบบในระบบนิเวศน์ร่วมกัน ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับผลตอบแทนมากและลดความเสี่ยง Alpha Finance Lab มุ่งเน้นโปรดักส์ที่ตอบโจทย์และการใช้งานที่เข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย ทีมงานเบื้องหลังทุ่มเทกับการสร้างและทดลองโปรดักส์อย่างรวดเร็วตาม ความต้องการ ของผู้ใช้งาน ตัวอย่าง เช่น Alpha Homora ได้รับความสนใจที่ดี ด้วยเงิน 400 ล้าน เหรียญสหรัฐ ที่ได้รับความไว้วางใจมาฝากไว้และใช้งาน Alpha Homora
Alpha Finance Lab จะควบคุมแบบวิธี decentralized autonomous organization (DAO) และให้ผู้ถือโทเคน ALPHA ออกเสียงโหวตทั้งเรื่องโปรดักส์และการเงินของแพลตฟอร์ม
6) BAL คือโทเคนที่ถูกสร้างบนบล็อกเชนอีธีเรียมและถูกใช้ขับเคลื่อนโปรเจ็ค Balancer ซึ่งเป็น Automated Market Maker (AMM) ที่ให้ผู้ใช้งานสร้างหรือเพิ่มสภาพคล่องเพื่อการเทรดและสามารถได้ค่าธรรมเนียมที่ปรับได้ตามชอบ Balancer สร้างนวัตกรรมการเพิ่มจำนวนสินทรัพย์ดิจิทัลใน Liquidity Pool ได้มากกว่าสองสินทรัพย์ จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง Index Fund ที่มีการจัดพอร์ตให้นักลงทุนแบบอัตโนมัติ โดยผู้ฝากเงินจะได้รับค่าธรรมเนียมจากคนที่มาเทรดกับกองทุนนี้ ซึ่งต่างจากการกองทุนทั่วไปที่นักลงทุนต้องจ่ายเงินผู้บริหารกองทุน
7) wNXM Nexus Mutual คือโปรโตคอลประกันภัยแบบกระจายศูนย์บนอีธีเรียมโดยคุ้มครองสมาร์ทคอนแทรคที่อยู่บนบล็อกเชนอีธีเรียม ในปัจจุบั น Nexus Mutual ให้การคุ้มครองโปรโตคอล DeFi หลักๆ ทั้งหลาย Nexus Mutual รองรับในกรณีที่สมาร์ทคอนแทรคล้มเหลวด้วยการป้องกันบั๊กในโค้ด โทเคน WrappedNXM (wNXM) มอบสิทธิ์ในโปรโตคอล ให้ผู้ใช้งานซื้อความคุ้มครอง และเข้าร่วมประเมิน การเคลม ประเมิน ความเสี่ยง และควบคุมโปรโตคอลในรูปแบบต่างๆ
8) GRT เป็นโทเคนอีธีเรียมที่ ขับเคลื่อนโปรโตคอล The Graph ที่ช่วยเรียบเรียงและส่งมอบข้อมูลบนบล็อกเชน GraphQL ช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ทุกคน สามารถ เข้าถึงข้อมูลเพื่อค้นหาและนำข้อมูลนั้นไปใช้ต่อในการสร้างแอปพลิเคชัน บนบล็อกเชน (dApps) ทั้งหลายโดยไม่ต้องมีเซิฟเวอร์เป็นของตัวเองผ่าน The Graph Network ผู้ใช้งานยังสามารถสร้างชุดข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งานคนอื่นสามารถนำไปใช้ต่อและได้ผลตอบแทน เปรียบเสมือนแหล่งรวมข้อมูลของบล็อกเชนสาธารณะก็ว่าได้
ทั้งนี้ บิทาซซ่าได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนายหน้าสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Broker Licenses) จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และกระทรวงการคลังและผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัยในเดือนตุลาคมปีพ.ศ.2562 และเริ่มปฏิบัติธุรกิจในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน โดยบิทาซซ่ามีพันธะกิจในการสนับสนุนและผลักดันให้เทคโนโลยีด้านสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นที่รู้จักและรับรู้ในวงกว้างผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ