เปิดข้อกฎหมาย หลัง 'โควิด-19' เป็นโรคติดต่ออันตราย

เปิดข้อกฎหมาย หลัง 'โควิด-19' เป็นโรคติดต่ออันตราย

มาตรการ และแนวทางการบังคับใช้ทางกฎหมาย กรณี “โควิด-19” หลังประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย เน้นความร่วมมือ อำนาจสั่งการ และความรับผิดชอบต่อสังคม

จากการประกาศให้โรคติดเชื้อ “โควิด-19” (COVID) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ได้นำไปสู่มาตรการทางกฎหมาย ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ในราชอาณาจักร แบ่งเป็นแนวทางต่างๆ ได้ดังนี้ คือ

การอาศัยรายละเอียดตาม มาตรา 31 และ 32 ในประกาศกระทรวงสาธารณสขุ เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการแจ้งในกรณี ที่มีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังหรือโรคระบาดเกิดขึ้น พ.ศ. 2560 (มีผลใช้บังคับวันที่ 22 ธ.ค. 2560) หากมีการพบผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโรค ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน สถานประกอบการ หรือสถานพยาบาล ต้องดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ ภายใน 3 ชั่วโมงที่ตรวจพบ และแจ้งให้กับกรมควบคุมโรคทราบโดยเร็วที่สุดในทุกช่องทาง

มาตรา 34 เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหลังจากกระทำการสอบสวนโรค แล้วมีขั้นตอนดำเนินการ

1. นำผู้ที่เป็น / มีเหตุสงสัยว่าเป็น COVID-19 / ผู้สัมผัส / พาหะ มารับการตรวจ / การชันสูตร / แยกกัก / กักกัน / คุมไว้สังเกต
2.ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงมารับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
3.ให้นำศพ / ซากสัตว์ไปรับการตรวจ / จัดการทางการแพทย์
4.ให้เจ้าของ / ผู้ครอบครอง / ผู้พักอาศัยในบ้านโรงเรือนสถานที่ หรือพาหนะ กำจัดความติดโรคหรือทำลายสิ่งใดๆ
5.ให้เจ้าของ / ผู้ครอบครอง / ผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือ พาหนะ กำจัดสัตว์ แมลง ตัวอ่อนของแมลง
6. ห้ามผู้ใดกระทำการ / ดำเนินการซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะไม่ถูกสุขลักษณะ
7. ห้ามผู้ใดเข้าไปหรือออกจากที่เอกเทศ
8. เข้าไปในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะที่มี / สงสัยว่ามี COVID-19 เกิดขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมมิให้มีการแพร่ของโรค

158303186414

ในกรณีเร่งด่วน มาตรา 35 กำหนดให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด / กทม. โดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการโรคติดต่อ จังหวัด / กทม. มีอำนาจ สั่งปิด ตลาด / สถานประกอบ / จำหน่ายอาหาร / สถานที่ผลิต / จำหน่ายเครื่องดื่ม / โรงงาน / สถานที่ชุมนุมชน / โรงมหรสพ / สถานศึกษา / สถานที่อื่นใด หรือ สั่งห้ามผู้ที่เป็น / สงสัยว่าเป็นเข้าไปใน สถานที่ชุมนุมชน / โรงมหรสพ / สถานศึกษา / สถานที่อื่นใด หรือ สั่งให้ผู้ที่เป็น / สงสัยว่าเป็น COVID-19 หยุดประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว

ขณะที่ มาตรการทางกฎหมาย ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค นอกราชอาณาจักร มาตรา 39-42 ระบุให้ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอำนาจ

มาตรา 39 เมื่อมีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุสงสัยว่าพาหนะมาจากท้องท่ีหรือเมืองท่าใด นอกราชอาณาจักรที่มีการระบาดของ COVID-19

-ให้เจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะแจ้งกาหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะนั้น ๆ จะเข้ามาถึงด่านฯ
-ให้เจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักรยื่นเอกสารต่อ จพต.ประจำด่านฯ
-ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจ
จาก จพต. ประจำด่านฯ และห้ามผู้ใดนาพาหนะอื่นใดเข้าเทียบพาหนะนั้น เว้นแต่ได้รับอนุญาต
-เข้าไปในพาหนะ และตรวจผู้เดินทาง/สิ่งของ/สัตว์ที่มากับพาหนะ กำจัดสิ่งอันอาจเป็นอันตรายต่อ
สุขภาพในพาหนะ/ ตรวจตราและควบคุม ให้เจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะแก้ไขการสุขาภิบาลของ
พาหนะให้ถูกสุขลักษณะ
-ห้ามเจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะนำผู้เดินทางซึ่งไม่ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเข้ามาใน
ราชอาณาจักร

158303152932

มาตรา 40 เมื่อรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการวิชาการ (มาตรา 8) ประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรค COVID-19

-กำจัดความติดโรค เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ของโรค
-จัดให้พาหนะจอดอยู่ ณ สถานที่ที่กาหนดให้
-ให้ผู้เดินทางซึ่งมากับพาหนะนั้นรับการตรวจในทางแพทย์ ให้แยกกัก/กักกัน/คุมไว้สังเกต/รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ณ สถานที่ และระยะเวลาที่กำหนด
-ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะหรือที่เอกเทศ
-ห้ามผู้ใดนำวัตถุ/สิ่งของ/เครื่องใช้ที่เป็นหรือมีเหตุสงสัยว่าเป็นสิ่งติดโรคเข้าไปในหรือออกจากพาหนะ
-ยกเลิกได้เมื่อสภาวการณ์ของโรคน้ันสงบลงหรือกรณีมีเหตุอันสมควร

มาตรา 41 ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมพาหนะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการขนส่งผู้เดินทาง ซึ่งมากับพาหนะนั้น เพื่อแยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกต หรือรับการสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรค ตลอดทั้งออกค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศตามมาตรา ๔๐ และ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการ

มาตรา 42 ในกรณีที่พบว่าผู้เดินทางเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัย ว่าเป็น COVID-19 หรือเป็นพาหะนำโรค จพต. ประจำด่านควบคุม โรคติดต่อระหว่างประเทศ มีอำนาจสั่งให้บุคคล ดังกล่าว ถูกแยกกัก ถูกกักกัน ถูกคุมไว้สังเกต ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค