สร้างภูมิคุ้มกันด้วย 'วิตามินซี'
จากสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบัน การดูแลสุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญ ขณะเดียวกัน การทานวิตามินซี ควบคู่กับการผักผลไม้ ถือเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
ในยุค Covid-19 การดูแลสุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการล้างมืออย่างถูกวิธี หรือล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป การใส่หน้ากากอนามัย การรักษาร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงการทานวิตามินซีเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโดยรวมได้ และหากรับประทานวิตามินซีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของภูมิคุ้มกันโรค ควรเลือกรับประทานผัก ผลไม้ที่มีวิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระสูงควบคู่ไปด้วย
พญ.กมลพร พูลพุฒ แพทย์ประจำศูนย์ลดน้ำหนัก โรงพยาบาลยันฮี อธิบายประโยชน์ที่สำคัญของวิตามินซี ว่า มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการทำงานเม็ดเลือดขาวของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น โดยเม็ดเลือดขาวจะคอยต่อสู้และกำจัดเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย
รวมถึงลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส และเมื่อวิตามินซีเข้าไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเมล็ดเลือดขาวให้แข็งแรง เท่ากับว่าร่างกายของเรามีภูมิคุ้มกันที่ดีมากขึ้น ทำให้ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ และยังช่วยเสริมความแข็งแรง ป้องกันความเสียหายของร่างกายที่เป็นผลมาจากสารอนุมูลอิสระได้อีกด้วย หากได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอต่อวันก็เป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ
ทั้่งนี้วิตามินซี เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่างกายสร้างเองไม่ได้ การขาดวิตามินซีทำให้ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ติดเชื้อได้ง่าย ควรรับประทานวิตามินซีให้เพียงพอต่อความต้องการ วิตามินซีมีในผัก ผลไม้ และอยู่ในรูปอาหารเสริม ซึ่งมีหลายหลายชนิด เรามาดูกันว่าวิตามินซีมีแบบไหนบ้าง และแต่ละแบบเหมาะกับใคร
- แบบเม็ด เหมาะกับคนทั่วไปที่ต้องการเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ข้อดีคือทานง่าย พกพาสะดวก
- แบบชง เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้ที่กังวลเรื่องระคายเคืองกระเพาะอาหาร และผู้ที่ไม่ชอบทานแบบเม็ด ข้อดีคือรสชาติดี ทานง่าย ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร บางชนิดมีใบโอฟลานโวนอยด์สูง ช่วยให้ร่างกายดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น
- แบบเยลลี่ แนะนำเป็นขนมสำหรับเด็กที่ต้องการเสริมวิตามินซี ข้อดีคือรสชาติดี พกพาสะดวก ทานง่าย
การทานวิตามินซีไม่เป็นอันตราย สามารถทานได้ทุกวัน แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ แนะนำให้ทานพร้อมมื้ออาหารหรือหลังอาหารเพื่อการดูดซึมที่มีดี ปริมาณที่แนะนำต่อวันจะแตกต่างกันไป ตามเพศ ความต้องการของแต่ละช่วงวัย ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
ปริมาณวิตามินซีที่ควรได้รับต่อวัน ทารก ชาย/หญิงอายุ 0-5 เดือน ควรได้รับ 40 มิลลิกรัม ชาย/หญิง อายุ 6-11 เดือน ควรรับ 50 มิลลิกรัม เด็กชาย 1-3 ปี 20 มิลลิกรัม อายุ 4-5 ปี ควรรับ 25 มิลลิกรัม อายุ 6-8 ปี 30 มิลลิกรัม หญิงอายุ 1-3 ปี 20 มิลลิกรัม อายุ 4-5 ปี 25 มิลลิกรัม อายุ 6-8 ปี30 มิลลิกรัม
วัยรุ่น ชาย 9-12 ปี 50 มิลลิกรัม อายุ 13-15 ปี 70 มิลลิกรัม อายุ 16-18 ปี 80 มิลลิกรัม หญิง อายุ 9-12 ปี 50 มิลลิกรัม อายุ 13-15 ปี 65 มิลลิกรัม อายุ 16-18 ปี 65 มิลลิกรัม ผู้ใหญ่ชายอายุ 19-30 ปี 80 มิลลิกรัม อายุ 31-50 ปี 80 มิลลิกรัม อายุ 51-60 ปี 80 มิลลิกรัม อายุ 61-70 ปี 80 มิลลิกรัม≥ 71 ปี 80 มิลลิกรัมหญิง อายุ 19-30 ปี 70 มิลลิกรัม อสยุ 31-50 ปี 70 มิลลิกรัม อายุ 51-60 ปี 70 มิลลิกรัม อายุ 61-70 ปี70 มิลลิกรัม ≥ 71 ปี 70 มิลลิกรัม
ขณะที่ หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 +10 มิลลิกรัม ไตรมาสที่ 2 +10 มิลลิกรัม ไตรมาสที่ 3 +10 มิลลิกรัม หญิงให้นมบุตร 0-5 เดือน +60 มิลลิกรัม 6-11 เดือน +60 มิลลิกรัม ทั้งนี้ ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ.2563 สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ที่สำคัญหากรับประทานวิตามินซีมากเกินไป จะมีอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารและระบบการย่อยอาหาร จึงทำให้เกิดอาการท้องเสียหรือแสบท้องได้ เนื่องจากภาวะความเป็นกรดของวิตามินซีนั่นเอง