'Climate Change' ประเด็นร้อนระดับโลก ท้าทายธุรกิจ

'Climate Change' ประเด็นร้อนระดับโลก ท้าทายธุรกิจ

'การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' ถือเป็นประเด็นที่ภาคธุรกิจทั่วโลกให้ความสนใจ การที่มีแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ในการเดินหน้าธุรกิจไปพร้อมกับคำนึงถึงปัญหาสภาพภูมิอากาศ จึงเป็นประเด็นสำคัญเพื่อเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

การประชุม Race to Zero: Meet the World’s Race to Zero Heroes for Climate Action ถือเป็นครั้งแรกที่ภาคธุรกิจไทยที่ได้รับทราบถึงแนวปฏิบัติที่ดีของโลก ในการพลิกความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปสู่โอกาสทางธุรกิจ

ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงกับพันธมิตรเพื่อปณิธานด้านสภาพอากาศ (Climate Ambition Alliance) ในโครงการรณรงค์ Race to Zero และการรณรงค์อื่น ๆ เช่น การเร่งรัดฟื้นฟูอย่างยั่งยืน (Race to Resilience) และพันธมิตรทางการเงินกลาสโกว์

เพื่อเป้าหมายการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์ (Glasgow Financial Alliance for Net Zero) ที่อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ การแบ่งปันประสบการณ์จากสมาชิกโครงการ Race to Zero โดยบริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF, แฮปปี้ โกรเซอร์ (Happy Grocers), โครงการริเริ่มที่มีเป้าหมายบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets Initiative) และโครงการรณรงค์ Business Ambition for 1.5°C การสนับสนุนในด้านต่างๆ สำหรับภาคธุรกิจเพื่อการดำเนินการด้านสภาพอากาศ

   

โดยเมื่อเร็วนี้ๆ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT : Global Compact Network Thailand):ร่วมกับสหประชาชาติ และศูนย์ความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติในกรุงเทพมหานคร (UNFCCC RCC Bangkok) ร่วมกับ คณะผู้แทนระดับสูงของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (High-Level Climate Action Champion) ​กอนซาโล มูนโญส (Gonzalo Muñoz) และ ไนเจล ทอปปิง (Nigel Topping) เป็นเจ้าภาพจัด การประชุมออนไลน์ Race to Zero: Meet the World’s Race to Zero Heroes for Climate Action

ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทยกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) พร้อมแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อยกระดับขีดความ สามารถในการแข่งขัน พลิกความเสี่ยงอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน เป็นโอกาสต่อยอดธุรกิจสู่ระดับโลก โดยมีสมาชิก GCNT และผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 400 คน

การประชุมครั้งนี้ เป็นการรวมพลผู้เชี่ยวชาญด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากทั่วโลก ที่มาฉายภาพสถานการณ์ล่าสุด พร้อม แนวปฏิบัติที่ดีในการรับมือกับเรื่องนี้ให้กับภาคธุรกิจไทย เพื่อเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์บน พื้นฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์ เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงและพลิกความเสี่ยงให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ ก่อนที่การประชุม สุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ ครั้งที่ 26 (COP 26) จะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2564  

     

นอกจากนี้ ถือเป็นการอุ่นเครื่องก่อนงาน GCNT FORUM 2021 ซึ่งเป็นการประชุมสุดยอดผู้นำความยั่งยืน ของไทยที่ GCNT จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีปลายเดือนตุลาคมนี้ "นพปฎล เดชอุดม" เลขาธิการGCNTเปิดเผยว่าหัวข้อการประชุม คือ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เพราะเป็นประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญที่สุดของโลกในขณะนี้ โดย GCNT จะจัดให้มีเวทีระดมสรรพกำลังของภาคธุรกิจไทย เพื่อต่อสู้กับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ ปี 2564  อยู่ในจุดเริ่มต้นของการรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งประเทศต่างๆ ได้สรุปแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ของประเทศให้เข้ากับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับประเทศ (NDCs : Nationally Determined Contributions)

ภาคเอกชนจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งให้เกิดการแข่งขันเพื่อลดการปล่อย GHG ให้เป็นศูนย์ (Race to Zeroที่สอดคล้องกับเป้าหมายอุณหภูมิ 1.5 องศาตามข้อตกลงปารีส ซึ่งหมายถึงการลดการปล่อย GHG ทั่วโลกประมาณ 45% ภายในปี 2030 ต่อจากนี้ไปจะเป็นการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของเศรษฐกิจ และภาคเอกชนจำเป็นต้องมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ผ่านการกำหนดเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก