ฟื้นฟูร่างกายหลังหายจาก "โควิด-19" สังเกตอาการ "ลองโควิด"

ฟื้นฟูร่างกายหลังหายจาก "โควิด-19" สังเกตอาการ "ลองโควิด"

อาการ "ลอง โควิด" ซึ่งเกิดในผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 นอกจากส่งผลกระทบต่อร่างกายแล้ว ยังรวมไปถึงสภาพจิตใจผู้ป่วยในบางราย ดังนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องสังเกตอาการตนเอง ฟื้นฟูให้เร็ว เพื่อมี "คุณภาพชีวิต" ที่ดีเหมือนเดิม

จากรายงานสถานการณ์การติดเชื้อ โควิด-19 จนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ายังมีประชาชนที่ติดเชื้อรายวัน รวมถึงผู้ที่เคยป่วยและหายป่วยแล้วเป็นจำนวนมาก ซึ่งคนในกลุ่มนี้ ยังต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับ COVID-19 ในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่เคยติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากปอดได้รับความเสียหาย รวมถึงยังมีอาการอื่นๆ

 

ซึ่งเป็นผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 ถึงแม้ผลการตรวจเชื้อจะเป็นลบแต่ยังคงมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อน ตั้งแต่ระยะเวลา 1 – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับระบบร่างกายของผู้ป่วย หรือที่เรียกว่า Long COVID ขณะที่ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลที่มีศูนย์การให้บริการด้าน COVID-19 เฉพาะด้านอย่างครบวงจร

 

นพ. เดช จงนรังสิน แพทย์ผู้ชำนาญด้านเวชบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวในงานแถลงข่าว"บำรุงราษฎร์ เปิดคลินิก COVID-19 ชู All COVID Solutions"  โดยระบุว่า โควิด-19 นับเป็นโรคที่น่ากลัว ประเทศไทยมีอัตราตายคำนวณเกือบๆ 1% และคนที่เป็นโควิด-19 ใน 100 คน อาจต้องเข้าไอซียู 3-5 คน เลยทีเดียว ปัจจัย คือ การหายใจ เพราะโควิดทำให้มีการอักเสบปอดรุนแรง และใช้เครื่องช่วยหายใจ

 

ฟื้นฟูร่างกายหลังหายจาก \"โควิด-19\" สังเกตอาการ \"ลองโควิด\"

ตัวอย่าง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อของ รพ.บำรุงราษฎร์ บางรายที่รักษานานถึง 4 เดือน เป็นความพยายามอย่างมากที่จะกู้ผู้ป่วยหนักขึ้นมาได้ ซึ่งต้องใช้ทีมสหวิชาชีพ ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยที่ออกจาก รพ. ยังต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง มีทีมกายภาพที่ดูแลต่อ ในคนไข้หลายคน โดยเฉพาะผู้สูงวัย ที่อยู่ไอซียูนานๆ ซึ่งเป็นห้องปิด เวลาออกจากไอซียู อาจจะเบลอ ดังนั้น แพทย์ด้านอายุรกรรม ดูแลผู้สูงอายุ ก็มีส่วนสำคัญ รวมถึง จิตแพทย์ และแพทย์ด้านระบบประสาท

 

  • "ผู้ป่วยโควิด-19" ร้อยละ 30 มีอาการระบบทางเดินหายใจ

 

ปัจจุบันมีกลุ่มผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 แล้วเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่ยังมีอาการของ Long COVID อยู่ในระบบร่างกาย จึงควรได้รับการดูแลฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้ป่วยร้อยละ 30 จะยังคงมีอาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากการติดเชื้อที่ปอด เช่น มีการหายใจลำบาก เอาออกซิเจนเข้าปอดไม่เพียงพอ หรือหายใจไม่อิ่ม รู้สึกเพลียง่าย หรือบางรายอาจมีระบบความจำมีปัญหา ไม่สามารถจดจ่อในสิ่งที่ทำได้เหมือนเดิม สมาธิสั้นลง ลืมง่ายขึ้น

 

รองลงมา คือ สภาพจิตใจยังไม่เข้าสู่สภาวะปกติ ยังมีความเครียด ความวิตกกังวลแฝงอยู่ หรือแม้แต่อาการเกี่ยวกับหัวใจหรือระบบหลอดเลือดตีบตัน ซึ่งจะเป็นอันดับต้นๆ ของอาการ Long COVID นอกจากนี้ บางรายยังมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อต่างๆ ที่สำคัญในรายที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน อาจส่งผลให้มีอาการ Long COVID นานกว่าคนที่มีร่างกายปกติ เป็นต้น

 

ฟื้นฟูร่างกายหลังหายจาก \"โควิด-19\" สังเกตอาการ \"ลองโควิด\"

  • ฟื้นฟู เพื่อให้คุณภาพชีวิตที่ดี

 

นพ.เดช อธิบายต่อไปว่า หลังจากคนไข้ออกจาก รพ. ภาวะ "ลอง โควิด" ซึ่งทำให้มีอาการหลายด้าน โดยเฉพาะ ในผู้ป่วยอาการหนัก ยิ่งมีอาการค้างจากโควิด เช่น ความกระชุ่มกระชวยไม่เท่าเดิม จากที่ออกกำลังกาย วิ่งไกลๆ ได้ ไม่สามารถทำได้แล้ว พอตรวจปอดพบว่าเกิดพังผืดปอด ทำให้การทำงานของปอดลดลง หรือ ต้องใช้ออกซิเจนอยู่เมื่อกลับไปที่บ้าน หรือต้องกระตุ้นกล้ามเนื้อ เพราะนอนรักษาเป็นเวลานานทำให้กล้ามเนื้อฝ่อ ต้องมีทีมกายภาพมาช่วย โดยเฉพาะคนอายุมากต้องดูแลพิเศษ

 

ดังนั้น ที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยมาด้วยหลายอาการ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของแต่ละบุคคล หลังจากเป็นโควิด ผลกระทบด้านหัวใจก็มีได้ เพราะมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจซึ่งพบรายงานในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เด็กอาจมีหัวใจวายได้ แม้โอกาสอาจจะเป็นน้อยแต่เป็นได้

 

“หากปล่อยไม่รักษา ในระยะยาวจะส่งผลในเรื่องของ คุณภาพชีวิต ที่แย่ลง แน่นอนว่าหากคุณภาพชีวิตแย่ลง ทำสิ่งต่างๆ ไม่ได้เหมือนเดิม ความสุขของชีวิตก็จะน้อยลง ดังนั้น จะต้องฟื้นฟูให้กลับมา ใช้ชีวิตใกล้เคียงเดิมให้ได้”

 

  • หากสงสัยว่าเป็น "ลอง โควิด" ควรทำอย่างไร

 

นพ.เดช กล่าวว่า หากผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นภาวะลอง โควิด แนะนำว่า ควรจะพบแพทย์เพื่อหาต้นตอ ผู้ป่วยบางคน 1-2 เดือน กลับมาพบว่ามีอาการเหนื่อย ซึ่งจากการตรวจพบว่าเป็นลิ่มเลือดที่ขาและไปที่ปอด ทำให้มีการเหนื่อย

 

ดังนั้น ต้องมาดูว่ามีอาการอย่างไร เพื่อทำการแนะนำ และส่งต่อผู้ป่วยให้แพทย์แต่ละสาขา อายุรแพทย์ก็จะส่งตัวผู้ป่วย แนะนำว่าเจอแพทย์สาขาไหน หรือบางคนเป็นจิตใจ หลังจากอยู่ รพ.นานๆ เครียด ต้องเจอจิตแพทย์ พอได้รับยาก็จะช่วยได้เยอะ

 

“อย่างไรก็ตาม เมื่อหายเป็นโควิด-19 แล้ว ขอฝากว่า การ์ดห้ามตกยังเป็นโควิดได้อยู่ ใช้ชีวิต New Normal รักษาระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และการฉีดวัคซีน สามารถป้องกันอาการหนักได้ โควิด-19 เป็นอาการในหลายระบบ หากผ่านไปราว 1 เดือน แล้วรู้สึกยังไม่เหมือนเดิม ควรมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ” นพ.เดช กล่าว

 

ฟื้นฟูร่างกายหลังหายจาก \"โควิด-19\" สังเกตอาการ \"ลองโควิด\"

 

ล่าสุด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิด ‘Bumrungrad COVID-19 Recovery Clinic’ หรือที่เรียกว่า ‘คลินิกฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์’ ด้วยการบริการที่ครอบคลุมทุกความต้องการเกี่ยวกับ COVID-19 แบ่งออกเป็น 3 Solutions คือ

 

1) Now Normal COVID Solution ประกอบด้วยการบริการให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวในการอยู่ร่วมกับโควิด-19 ทั้งการดูแลสุขภาพทั่วไป การตรวจโปรแกรม Fit to Fly การฉีดวัคซีนโควิด-19 และการขอวัคซีนพาสปอร์ต เป็นต้น

 

2) Fighting COVID Solution ประกอบด้วยการบริการด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก Hospitel และผู้ป่วย Home Isolation ด้วยการรักษาด้วยยาตัวใหม่ และใน ICU เป็นต้น

 

3) Recover COVID Solution ประกอบด้วยการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ Long COVID เพื่อดูแลฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงและมีสุขภาพที่ดีเหมือนเดิม

 

ฟื้นฟูร่างกายหลังหายจาก \"โควิด-19\" สังเกตอาการ \"ลองโควิด\"