"สอน." พัฒนาระบบบริการรับโควิด 19 สร้าง สอน.ต้นแบบ Covid Free Area

"สอน." พัฒนาระบบบริการรับโควิด 19 สร้าง สอน.ต้นแบบ Covid Free Area

"สอน." พัฒนาระบบบริการในรูปแบบ "New normal" สอดรับกับการสถานการณ์ "โควิด 19" พร้อมพัฒนา สอน.ต้นแบบ Covid Free Area 2 แห่ง และพัฒนาเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพปฐมภูมิครบทุกแห่ง

ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ประธานกรรมการมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) เปิดเผยว่า มูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการบริการให้สอดรับกับนโยบายลดความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของ กระทรวงสาธารณสุข โดยสนับสนุนให้ สอน. ทั่วประเทศนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการมากขึ้น มีการจัดส่งยาให้ผู้ป่วยถึงบ้าน และพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัคร/จิตอาสา ออกให้บริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด 19 ได้เน้นการปรับการให้บริการในรูปแบบ "New normal"

 

รวมถึงปรับปรุงระบบระบายอากาศห้องทันตกรรมให้ได้มาตรฐานปลอดเชื้อโควิด 19 จำนวน 24 แห่ง และยังร่วมกับสถานีอนามัยที่ได้รับพระราชทานนาม รวม 92 แห่งทั่วประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2564) เป็นหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 โดย 43 แห่ง ให้บริการแก่หน่วยงานราชการ และ 13 แห่ง ให้บริการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มเชิงรุกแก่ประชาชน
กลุ่มเปราะบางในพื้นที่ เพื่อเร่งเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีน

 

\"สอน.\" พัฒนาระบบบริการรับโควิด 19 สร้าง สอน.ต้นแบบ Covid Free Area

พร้อมทั้งจัดพื้นที่ Covid Free Area ต้นแบบ ใน สอน. 2 แห่ง คือ สอน.พิกุลทอง จ.สิงห์บุรี และ สอน.บางขันแตก จ.สมุทรสงคราม ซึ่งมีผลงานการฉีดวัคซีนให้กลุ่มเป้าหมาย 608 ในพื้นที่ได้ครอบคลุมถึง ร้อยละ 7

 

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้ สอน.ทุกแห่งพัฒนาตนเองสู่การเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพปฐมภูมิ (Health Literate Organization for Primary care) โดยปี 2562-2563 พัฒนาต้นแบบและนำร่อง 16 แห่ง พร้อมถอดบทเรียนจัดทำเป็นชุดความรู้และคู่มือการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชน และเป็นคู่มือครูพี่เลี้ยงในการสร้างองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ ก่อนขยายผลไปสู่สอน.และ สถานีอนามัยที่ได้รับพระราชทานนาม ครบทั้ง 92 แห่ง ในปี 2564

"สำหรับการดำเนินงานของ สอน. ในปี 2565 คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้เห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติการมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ฯ จำนวน 6 โครงการ และแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ จำนวน 7 โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวิสัยทัศน์ องค์กรนำความรอบรู้ สง่างามสมพระเกียรติ”