6 จังหวัดใต้น่าห่วง พบผู้ติดเชื้อติดTop 10 จังหวัดติดเชื้อมากสุด
ศบค.เผยยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่โควิด 7,079ราย เสียชีวิต 47 ราย ระบุสถานการณ์จังหวัดใต้น่าเป็นห่วง พบ 6 จังหวัดพบผู้ติดเชื้อพุ่งสูงต่อเนื่อง ติด 10 อันดับผู้ติดเชื้อสูงสุดในประเทศ
วันนี้ ( 14 พ.ย. 64) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ประจำวันว่า ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7,079 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่จากในประเทศ 6,899 ราย ผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ 9 รายและผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 171 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ (ระลอกเดือนเม.ย.) 1,989,547 ราย
ทั้งนี้ ผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 47 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมถึง 19,942 ราย ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 20,036ราย ผู้ที่กำลังรักษาตัวอยู่ 95,528 ราย กลุ่มคนไข้อาการหนักที่มีอาการปอดอักเสบที่น่าวิตก 1,808 ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจอีก 425 ราย ยอดผู้ที่หายป่วยกลับบ้านแล้ว 6,917ราย หายป่วยสะสมตั้งแต่ 1 เม.ย. 2564 จำนวน1,875,420 ราย
สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ รายงานผลบวก ATK วันที่ 14 พ.ย.2564 จำนวน 1,217 ราย ดังนั้น ขณะนี้ ยอดผลบวกสะสม ATKตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค.-14 พ.ย.2564 จำนวน 4,043,739 ราย
- 6 จังหวัดใต้ พบผู้ติดเชื้อสูงสุดติดTOP10
ส่วนรายงานผู้เสียชีวิตรายใหม่ 47 ราย พบว่า เป็นเพศชาย 27 ราย หญิง 20 ราย ในจำนวนนี้เป็นชาวไทย 45 ราย เมียนมา 2 ราย โดยส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 37 ราย คิดเป็น 79% และ กลุ่มโรคเรื้อรัง 7 ราย คิดเป็น 15% ทั้งสองกลุ่มคิดเป็นสัดส่วน 94 %
10 จังหวัดอันดับแรกที่พบผู้ป่วยสูงสุด พบว่า
กทม. 694 ราย
สงขลา 460 ราย
ปัตตานี 371 ราย
เชียงใหม่ 357 ราย
นครศรีธรรมราช 349 ราย
นราธิวาส 339 ราย
สมุทรปราการ 250 ราย
สุราษฎร์ธานี 244 ราย
ยะลา 204 ราย
ชลบุรี 180 ราย
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ภาคใต้ 6 จังหวัด ที่มีจำนวนผู้ป่วยโควิด อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ สำหรับจำนวนผู้ป่วย-ผู้ติดเชื้อในชุมชนรายวัน กทม.และปริมณฑล ชายแดนใต้ ต่างจังหวัด และประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.-14พ.ย.64 พบว่า ชายแดนใต้ มีผู้ติดเชื้อ 20% กทม.และปริมณฑล 17% ส่วน 67% อยู่ที่ 63%
- 10 อันดับประเทศที่เดินทางเข้าไทยมากสุด
สำหรับภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 13 พ.ย.2564 ยอดฉีดทั่วประเทศ 84,467,731โดส แบ่งเป็น
เข็มที่ 1 ฉีดสะสม 45,204,553 ราย คิดเป็น 62.8% ของประชากร
เข็มที่ 2 ฉีดสะสม 36,504,141 ราย คิดเป็น 50.7%ของประชากร
เข็มที่ 3 ฉีดสะสม 2,759,037 ราย คิดเป็น 3.8%ของประชากร
จำนวนผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรอากาศ จำแนกตามประเทศต้นทาง 10 ประเทศแรก
ตั้งแต่วันที่ 1-13 พ.ย.2564 สะสม 44,774 ราย พบว่า
ประเทศเยอรมนี มีผู้เดินทางเข้าประเทศไทย 5,100 ราย
สหรัฐอเมริกา 4,759 ราย
สหราชอาณาจักร 2,706 ราย
ญี่ปุ่น 2,285 ราย
ฝรั่งเศส 1,838 ราย
รัสเซีย 1,769 ราย
เกาหลีใต้ 1,729 ราย
สวิตเซอร์แลนด์ 1,425 ราย
สวีเดน 1,306 ราย
อิสราเอล 1,168 ราย
อัตราการติดเชื้อของผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรทางอากาศ
จำแนกตามประเทศต้นทาง 10 อันดับ สะสม 44,774 ราย พบผู้ติดเชื้อทั้งหมด 52 ราย อัตราการติดเชื้อ 0.12 แบ่งเป็น
ไนจีเรีย เดินทางเข้าไทย 30 ราย ติดเชื้อ 2 ราย อัตราการติดเชื้อ 6.67
ศรีลังกา เดินทางเข้าไทย 67 ราย ติดเชื้อ 1ราย อัตราการติดเชื้อ 1.49 ราย
ตรุกี เดินทางเข้าไทย 83 ราย ติดเชื้อ 1 ราย อัตราการติดเชื้อ 1.2
รัสเซีย เดินทางเข้าไทย 1,769 ราย ติดเชื้อ 12 ราย อัตราการติดเชื้อ 0.68
UAE เดินทางเข้าไทย 1,135 ราย ติดเชื้อ 5 ราย อัตราการติดเชื้อ 0.44
กาตาร์ เดินทางเข้าไทย 500 ราย ติดเชื้อ 2 ราย อัตราการติดเชื้อ 0.40
โปแลนด์ เดินทางเข้าไทย 328 ราย ติดเชื้อ 1ราย อัตราการติดเชื้อ 0.30
สหราชอาณาจักร เดินทางเข้าไทย 2,706 ราย ติดเชื้อ 8 ราย อัตราการติดเชื้อ 0.30
อิตาลี เดินทางเข้าไทย 471 ราย ติดเชื้อ 1 ราย อัตราการติดเชื้อ 0.21
ออสเตรเลีย เดินทางเข้าไทย 511 ราย ติดเชื้อ 1ราย อัตราการติดเชื้อ 0.20
และอื่นๆ เดินทางเข้าไทย 37,106 ราย ติดเชื้อ 18 ราย อัตราการติดเชื้อ 0.12