"โอมิครอน" มาแรงแซงเดลตา เป็นสายพันธุ์หลักถึง 97.1%

"โอมิครอน" มาแรงแซงเดลตา เป็นสายพันธุ์หลักถึง 97.1%

"หมอยง" เผยเพียงเดือนเดียวสามารถตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนได้ประมาณร้อยละ 90 แล้ว ระบุโอมิครอนกำลังเข้ามาแทนที่เดลตา ขณะที่ "ศูนย์วิจัยจีโนม" แจงผลตรวจสายพันธุ์โควิดเดือนม.ค. พบโอมิครอน 97.1% เบียดเดลตา 2.8%

การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในระลอกที่ห้าของไทยนี้ แม้จะมีอัตราผู้เสียชีวิตน้อย แต่อัตราป่วยกลับพุ่งสูงต่อเนื่องทุกวัน โดยล่าสุด วันที่ 18 ม.ค.2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 6,397 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 6,232 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 165 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565 จำนวน  114,376 ราย ขณะที่ยอด เสียชีวิต 18 ราย

วันนี้ (18 ม.ค.2565) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า โควิด- 19  สายพันธุ์ โอมิครอน กำลังเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดลตา 

\"โอมิครอน\" มาแรงแซงเดลตา เป็นสายพันธุ์หลักถึง 97.1%

โดยข้อมูลการศึกษาวิจัยของศูนย์ ที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ได้มีการจำแนกสายพันธุ์ตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว ซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่จะเป็นในกรุงเทพฯ  พบว่าสายพันธุ์เดลตาเข้ามาแทนที่สายพันธุ์อัลฟา ยังใช้เวลา 2-3 เดือน  แต่สายพันธุ์ โอมิครอน แพร่กระจายได้เร็วกว่า ช่วงระยะเวลาเพียงเดือนเดียว สามารถตรวจพบได้ประมาณร้อยละ 90 แล้ว

ทั้งนี้ ในช่วงเดือนธันวาคมการตรวจตัวอย่างส่วนใหญ่จะเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ แต่ในเดือนมกราคมเป็นต้นมา ตัวอย่างทั้งหมดจะเป็นการติดเชื้อในประเทศ ไม่ได้เอาตัวอย่างผู้เดินทางมาจากต่างประเทศมาตรวจแล้ว  ฉะนั้น เห็นได้ว่าสายพันธุ์ โอมิครอน แพร่ได้เร็วและจะเข้ามาแทนที่ ทั้งหมด ภายในเดือนนี้ ตามหลักของวิวัฒนาการ

 

  • โควิด-19 ในไทยโอมิครอน กำลังแทนที่ เดลตา

ขณะที่ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ตรวจสายพันธุ์ไวรัสโคโรนา 2019 จาก รพ. รัฐ และ เอกชน ใน กรุงเทพ และปริมณฑล ระหว่างวันที่ 3-16 ม.ค. 2565 พบ

  • โอมิครอน   97.1% (69/71)
  • เดลตา          2.8% (2/71)
  • ตัวอย่างสุ่มตรวจจากเรือนจำ    
  • เดลตา    100%  (30/30)

\"โอมิครอน\" มาแรงแซงเดลตา เป็นสายพันธุ์หลักถึง 97.1%
 

อันหมายถึงในกรุงเทพ หากไม่นับในเรือนจำ "โอมิครอน" น่าจะเข้ามาแทนที่ "เดลตา" เกือบหมดแล้ว "Twindemic" หรือการติดเชื้อสองสายพันธุ์ ระหว่าง "โอมิครอน" และ "เดลตา" ไปพร้อมกันในระยะเวลาสั้นๆได้จบลงแล้ว ไม่นาน "โอมิครอน"คงจะกระจายไปทั่วประเทศ ไม่ช้า

ทั้งนี้ คงเป็นตามที่ ดร. แอนโธนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคติดต่อและภูมิแพ้แห่งชาติของสหรัฐ ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคนสำคัญในคณะทำงานเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19ของรัฐบาลสหรัฐ ได้เตือนว่า "ในที่สุดแทบทุกคนจะติดเชื้อไวรัส โอมิครอน” (เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ที่คนส่วนใหญ่บนโลกได้เคยติดเชื้อกันแล้ว) 

\"โอมิครอน\" มาแรงแซงเดลตา เป็นสายพันธุ์หลักถึง 97.1%

จากนั้นทั้งภูมิคุ้มกันจากวัคซีนและจากการติดเชื้อตามธรรมชาติจะพุ่งขึ้นสูง ลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 และลดอัตราการเสียชีวิตลงอย่างรวดเร็ว เห็นปรากฏการนี้ได้อย่างชัดเจนจากข้อมูลผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตทั่วโลกจาก "โอมิครอน"

 

 

 

  • เปิดสถานการณ์ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละประเทศ

ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแอฟริกาใต้ลดลงจนเข้าสู่สภาวะปรกติ ในขณะที่ผู้เสียชีวิตไม่มาก  มีประชากรติดเชื้อไวรัสจากธรรมชาติเป็นจำนวนมาก

ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในอังกฤษเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผู้เสียชีวิตไม่มาก อังกฤษใช้วัคซีนไวรัสเป็นพาหะ และเข็มกระตุ้นเป็นวัคซีนสารพันธุกรรม (mRNA)

\"โอมิครอน\" มาแรงแซงเดลตา เป็นสายพันธุ์หลักถึง 97.1%

ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าใกล้ถึงจุดสูงสุดใน 1-2 อาทิตย์ข้างหน้าในขณะที่ผู้เสียชีวิตไม่มาก  อเมริกาใช้วัคซีน mRNA เป็นวัคซีนนำสองเข็มแรก และใช้เป็นเข็มกระตุ้นด้วย

ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับประเทศไทย รวมทั้งอิหร่าน ที่มีการติดเชื้อจากธรรมชาติในอัตราสูงนำมาก่อน ก่อนจะมารับวัคซีนเชื้อตาย และสลับมารับวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ และ/หรือ วัคซีน mRNA เป็นเข็มกระตุ้น พบว่าได้ผลดีมาก มีผู้ติดเชื้อรายใหม่จากโอมิครอนและผู้เสียชีวิตต่ำ

  • เงื่อนไขเร่งโควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น

ประเทศไทย มีการติดเชื้อจากธรรมชาติไม่มาก ได้รับวัคซีนเชื้อตาย และสลับมารับวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ และ/หรือ วัคซีน mRNA เป็นเข็มกระตุ้น ได้ผลดีเช่นกัน  แม้จะเห็นผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรก แต่ขณะouhเริ่มคงตัวและเริ่มลดระดับลง (จากโอมิครอน) แต่ผู้เสียชีวิตลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ไวรัสโคโรนา 2019 คงจะจบเกม (End game)  กลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) เหมือนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมาตามฤดูกาล โดยมีผู้เสียชีวิตประมาณร้อยละ 0.1

\"โอมิครอน\" มาแรงแซงเดลตา เป็นสายพันธุ์หลักถึง 97.1%

เงื่อนไขสำคัญที่จะเร่งให้โควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ภายในปีนี้คือการฉีดวัคซีนให้กับประชากรในทุกประเทศทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลกเรียกร้องให้ผู้นำโลกช่วยบรรดาประเทศที่กำลังพัฒนาดำเนินการฉีดวัคซีนอย่างน้อยร้อยละ 70 ของประชากรโลก เพื่อทั้งป้องกันหรือชะลอการป่วยหนัก และเสียชีวิต มิให้เกิดกับประชาชนหมู่มากพร้อมๆกันอันจะทำให้ระบบสาธารณสุขของประเทศเหล่านั้นล่มสะลาย รวมถึงเป็นการป้องกันการเกิดไวรัสกลายพันธุ์อย่างในกรณีของสายพันธุ์ “อัลฟา” "เบตา" และ "โอมิครอน" หรือสายพันธุ์อื่นที่อาจอุบัติขึ้นในอนาคต จากกลุ่มประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีน

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าว เป็นการคาดคะเนอาศัยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จาก 3 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามโรคโควิด-19 ยังถือว่าเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ ที่เรายังไม่เข้าใจธรรมชาติของการเกิดโรคอย่างถ่องแท้ การคาดคะเนถึงเหตุการณ์ในอนาคตของโรคนี้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้นต้องไม่ประมาทการ์ดหรือมาตรการต่างๆที่เราร่วมปฏิบัติกันมาอย่างเข้มข้นต้องไม่ลดหย่อน