อาการ "หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด"ต้องเฝ้าะวังเข้ารักษาทันที

อาการ "หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด"ต้องเฝ้าะวังเข้ารักษาทันที

กรมอนามัยเผยรอบสัปดาห์หญิงตั้งครรภ์-หลังคลอดติดโควิดกว่า 200 คน แนวโน้มมากขึ้น  สะสมกว่า 7,000  ราย เสียชีวิต 110 ราย  พบไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิดถึง 87 % ย้ำวัคซีนช่วยลดอัตราตายกลุ่มนี้ 10 เท่า  แนะอาการต้องระวังกรณีติดเชื้อแยกกักตัวที่บ้าน และอาการสีแดงต้องไปรักษาทันที

        เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงสถานการณ์โควิด19 ประเด็น หญิงตั้งครรภ์(ต้อง)ปลอดภัยในสถานการณ์โควิด19 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า  กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 6 สัปดาห์เป็นอีกลุ่มที่จะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ  โดยตั้งแต่ 27 ก.พ.-5 มี.ค. 2565 มีการติดเชื้อในหญิงกลุ่มนี้ 224 คน  และจากข้อมูการติดตามสถานการณ์ในหญิงตั้งครรภ์ หลังคลอด 6 สัปดาห์  และทารกแรกเกิดตั้งแต่ 1 เม.ย.2565 - 5 มี.ค.2565 พบหญิงตั้งครรภ์,หญิงหลังคลอด 6 สัปดาห์ ติดเชื้อ 7,210 ราย เสียชีวิต 110 ราย   คิดเป็น 1.5 % และทารกแรกเกิด คลอดแล้ว  4,013 ราย ติดเชื้อ 319 ราย เสียชีวิต 67 ราย  คิดเป็น 1.6 %
        เมื่อวิเคราะห์ผลกระทบอื่นที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ พบว่า อัตรการผ่าตัดคลอดเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ทั่วไปที่ไม่ติดเชื้อ สูงถึง 53 % ทารกน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัม 15 % และเมื่อดูแนวโน้ม ตั้งแต่ม.ค.2565 พบว่ามีแนวโน้มที่เริ่มสูงขึ้นสอดคล้องกับการระบาดระลอกสายพันธุ์โอมิครอน  โดยข้อมูล 4 สัปดาห์ย้อนหลังพบผู้ติดเชื้อที่ 59 ราย, 71ราย ,157 ราย และ224 รายตามลำดับ แสดงถึงอัตราการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ต้องเฝ้าระวังในกลุ่มนี้อย่างเข้มข้นเพื่อลดอัตรการเสียชีวิตให้น้อยลง

       การให้วัคซีนโควิด19 เป็นหนึ่งประเด็นสำคัญที่จะสร้างความปลอดภัยให้กับหญิงกลุ่มนี้  โดยพบว่าในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ 7,210 ราย เป็นผู้ไม่ได้รับวัคซีน 6,292 ราย คิดเป็น 87 % ได้รับ 1 เข็ม 398 ราย คิดเป็น 5 % และได้รับ 2 เข็ม 550 ราย คิดเป็น 8 % และเมื่อวิเคราะห์ถึงอัตราตายในหญิงกลุ่มนี้ พบว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มมีอัตราเสียชีวิตที่ลดลงเกือบ 10 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน”นพ.สุวรรณชัยกล่าว 

         ขณะนี้หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 แล้ว 117,385 ราย  2 เข็มแล้ว 105,094 ราย และเข็มที่3แล้ว 17,361 ราย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับวัคซีน 240,000 ราย ซึ่งจากการติดตามอาการไม่พึงประสงค์และผลลัพธ์การคลอดของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับวัคซีนโควิด19 โดยมีหญิงตั้งครรภ์ไดhรับวัคซีนโควิด19และคลอดแล้วทั้ง สิ้น2,770 คน พบว่า 57 % ไม่มีอารกข้างเคียงจากการรับวัคซีน 43 % ที่มีรายงานมีผลบข้างเคียงจากวัคซีน

     ในจำนวนนี้ 97 % มีอาการไม่พึงประสงค์เช่นเดียวกัยนคนทั่วไป  เช่น ปวด มีไข้ ปวมบริเวณที่ฉีด และ3% มีรายงานอาการที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ เช่น ปวดท้องน้อย และจากการสอบสวนพบว่าเกือบทั้งหมดเป็นอาการปวดท้องน้อยจากการเจ็บครรภ์คลอด จึงขอให้ความมั่นว่าการรับวัคซีนในช่วงตั้งครรภ์มีความปลอดภัย และ ขอให้หญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข้ารับวัคซีนตามเกณฑ์

ข้อปฏิบัติหญิง“ตั้งครรภ์ติดโควิด”อยู่บ้าน

      ด้าน นพ.เอกชัย เพียรศรีวัชรา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า  การดูแลหญิงตั้งครรภ์ติดโควิด19 หากไม่มีโรคประจำตัวหรือภาวะครรภ์เสี่ยงสูง สามารถแยกกักตัวที่บ้านได้  โดยมีข้อปฏิบัติ คือ งดเยี่ยม ระหว่างแยกกักตัว รักษาระยะห่าง งดการสัมผัสกับผู้สูงอายุและเด็ก แยกห้องพักที่นอนของใช้ส่วนตัวกับผู้อื่น เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท ไม่ควรนอนร่วมกันในห้องปิดที่ใช้เครื่องปรับอากาศ หลีกเลี่ยงกินอาหาร่วมกัน 
        สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาที่จะออกมาจากที่พักอาศัย ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่สัมผัสกับผู้อื่น และหยิบจับของ แยกซักเสื้อผ้า ผ้าขนหนู และเครื่องนอนด้วยสบู่หรือผงซักฟอก ควรใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น หากเลี่ยงไม่ได้ให้ใช้คนสุดท้าย หมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ และเตรียมถึงขยะส่วนตัวที่มีฝาปิดมิดชิดและของใช้ส่วนตัวทั้งในบริเวณที่นอนแล้ะห้องน้ำ 

อาการ “หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด”ต้องรักษาทันที
     -  อาการหญิงตั้งครรภ์ติดโควิดที่ควรเฝ้าระวังในกรณีแยกกักตัวที่บ้าน  ท้องแข็งบ่อย เลือดออกทางช่องคลอด น้ำใสๆ ไหลออกทางช่องคลอด อาการของครรภ์เป็นพิษ เช่น ปวดศรีษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่

   -  อาการหญิงตั้งครรภ์ติดโควิดที่ควรแจ้งแพทย์และเข้ารับการรักษาทันที  คือ กลุ่มผู้ป่วยสีแดง ที่มีอาการรุนแรง ต้องรีบเข้ารับการรักษาตัวโดยเร็ว คือ

    -  ระบบหายใจมีปัญหารุนแรงทำให้หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หากเอกซเรย์จะพบปอดอักเสบรุนแรง

  - เกิดภาวะปอดบวมจากการเปลี่ยนแปลง ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96 % หรือลดลง 3 % จากค่าที่วัดได้ในตอนแรก

   -  แน่นหน้าอกตลอดเวลา และหายใจเจ็บหน้าอก ตอบสนองช้า หรือไม่รู้สึกตัว

     โดยหากเป็นสตรีตั้งครรภ์ให้นอนตะแคงซ้ายเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี พยายามขยับขาป้องกันลิ่มเลือดและดื่มน้ำเยอะๆ แต่ไม่แนะนำให้นอนตะแคงทางด้านขวาเพราะจะไปกดการไหลเวียนของเส้นเลือดใหญ่ และไม่แนะนำให้นอนหงายโดยเฉพาะหญิงที่มีอายุครรภ์มาก ๆ เพราะท้องจะไปยกตัวไปเบียดกระบังลมทำให้หายใจลำบาก  
การให้ยา "หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด”

         นพ.เอกชัย กล่าวอีกว่า ในหญิงตั้งครรภ์ติดโควิด ไม่จำเป็นต้องผ่าคลอด ซึ่งจะใช้เวลาในการเตรียมตัวคลอดนานถึง 4-5 ชั่วโมง ดังนั้นจึงควรคลอดตามธรรมชาติ ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ว่าต้องผ่าคลอด เช่น เด็กตัวใหญ่ มีความเครียดสูง เป็นต้น ทั้งนี้กรณีเด็กที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อก็จะมีการตรวจว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ หากติดเชื้อ และมีอาหารก็จะให้รักษาตัวในหอผู้ป่วยเด็ก หากไม่มีอาการ ก็สามารถอยู่กับแม่ได้ แม่อุ้มลูกได้โดยตั้งล้างมือทั้งก่อน และหลังการอุ้ม สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
       ส่วนกรณีแม่ติด ลูกไม่ติด แต่แม่มีอาการน้อย หรือไม่มีอาการก็ยังสามารถอุ้มลูกได้เช่นกันโดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือทั้งก่อน และหลังการอุ้ม งดหอมแก้มทุกกรณี ทั้งนี้ลูกยังสามารถกินนมจากเต้านมได้ แต่ก่อนกินให้มีการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดเต้านมก่อน หรือหากแม่มีอาการมากสามารถปั๊มนมเก็บให้ลูกดื่มได้ เพราะเชื้อโควิด -19 ไม่ได้ส่งผ่านทางน้ำนม
       “ส่วนการให้ยารักษาหญิงตั้งครรภ์ติดโควิดนั้นไม่แนะนำให้กินยาฟาวิพิราเวียร์ หรือฟ้าทะลายโจร เพราะมีผลต่อทารกในครรภ์ แต่หากมีข้อบ่งชี้ต้องใช้ยาก็จะใช้ฉีดแรมดิสซีเวียร์แทน แต่หากพื้นที่ไหนมียาฉีดแรมดิสซีเวียร์จำกัด หรือไม่เพียงพอ ก็จะพิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์แทนได้ แต่กรณีนี้จะให้เฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ไตรมาสสุดท้ายเท่านั้น และต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป”นพ.เอกชัยกล่าว