รักษาฟรี! "อาการโควิด" UCEP plus ผู้ป่วยเขียว เหลือง แดง ต่างกันอย่างไร?

รักษาฟรี! "อาการโควิด" UCEP plus ผู้ป่วยเขียว เหลือง แดง ต่างกันอย่างไร?

เริ่มแล้ววันนี้! สิทธิ์รักษาฟรีกับระบบ "UCEP โควิด พลัส" พร้อมอัปเดตการจำแนก "อาการโควิด" ล่าสุด เพื่อแยกผู้ป่วยสีเขียว-สีเหลือง-สีแดง ให้ชัดเจน และเข้ารับการรักษาให้เหมาะสมตามเกณฑ์จำแนก

วันนี้ (16 มีนาคม 2565) เป็นวันแรกที่กระทรวงสาธารณสุขเริ่มให้ "ผู้ป่วยโควิด" รักษาฟรีกับ "UCEP โควิด พลัส" ได้ทุกโรงพยาบาล รวมถึงรักษาฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิ์ที่มี ทั้งนี้ จะมีการจำแนกเกณฑ์ "อาการโควิด" แบ่งเป็นผู้ป่วยสีเขียว สีเหลือง สีแดง ให้ชัดเจน

สำหรับ "สิทธิ์ UCEP โควิด พลัส" และหลักเกณฑ์การจำแนกอาการโควิด-19 มีข้อมูลอัปเดตที่คนไทยต้องรู้ ดังนี้

1. UCEP โควิด พลัส คืออะไร?

UCEP โควิด พลัส (UCEP COVID-19 Plus) ย่อมาจาก Universal Coverage for Emergency Patients Plus เป็นเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ กรณีติดเชื้อโรคโควิด-19 เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิดในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติสีแดงและสีเหลือง รวมถึงสีเขียวที่อาการเปลี่ยนแปลงเป็นสีเหลือง

 

2. อัปเดต "อาการโควิด" ผู้ป่วยสีเขียว เหลือง แดง

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลแนวทางการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่จะเริ่มวันที่ 16 มีนาคม 2565 นี้ ระบุว่า ผู้ป่วยยังได้รับการรักษาฟรีทุกราย โดยแบ่งตามกลุ่มระดับอาการโควิด ดังนี้

รักษาฟรี! \"อาการโควิด\" UCEP plus ผู้ป่วยเขียว เหลือง แดง ต่างกันอย่างไร?

  • ผู้ป่วยสีเขียว : ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย คือ มีไข้ 37.5 องศาฯ ขึ้นไป ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่รับกลิ่น ไอมีน้ำมูก เจ็บคอ ตาแดง มีผื่น ถ่ายเหลว

กลุ่มนี้เข้ารับการรักษาได้ฟรี ในโรงพยาบาลตามสิทธิ์ ได้แก่ บัตรทอง สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม โดยกักตัวที่บ้าน(HI) กักตัวในชุมชน(CI) หรือ ฮอสพิเทล ติดต่อ สปสช.1330 กด14, ประกันสังคม 1506, กรมสบส.1426

  • ผู้ป่วยสีเหลือง : แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย ปอดอักเสบ ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน, เด็กมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมน้อยลง, กลุ่ม608 คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ ภาวะอ้วน (น้ำหนักเกิน 90 กก.)

กลุ่มนี้เข้ารับรักษาฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิ์ และรักษาฟรีกับ UCEP พลัส ได้ทุกโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ติดต่อ สปสช.1330 กด14, สพฉ.1669,  กรมสบส.1426, UCEP พลัส 0-2872-1669 

 

  • ผู้ป่วยสีแดง : หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยค แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก ปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะช็อก มีภาวะโคม่า มีไข้สูงกว่า 39 องศาฯ นานกว่า 24 ชม. ค่าออกซิเจนน้อยกว่า 94%

กลุ่มนี้เข้ารับรักษาฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิ์ และรักษาฟรีกับ UCEP พลัส ได้ทุกโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ติดต่อ สปสช.1330 กด14, สพฉ.1669,  กรมสบส.1426, UCEP พลัส 0-2872-1669 

3. ปรับลดวันรักษานอน รพ. จาก 10 วัน เหลือ 7 วัน

สำหรับจำนวนวันรักษาโควิด-19 ในโรงพยาบาล ซึ่งเดิมกำหนดไว้ 10 วัน จะมีการหารือปรับลดเป็นลักษณะ 7 + 3 คือ รักษาในโรงพยาบาล 7 วัน และกลับไปแยกกักตัวที่บ้านต่ออีก 3 วัน

แต่ทั้งนี้จะต้องพิจารณาบนหลักของความปลอดภัยโดยแพทย์ ส่วนยารักษาโควิด-19 "โมลนูพิราเวียร์" ที่นำเข้ามา จะใช้ทั้งในกลุ่ม 608 และคนทั่วไป เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้กับยา "ฟาวิพิราเวียร์"

หากได้ผลดีสามารถจัดหายาโมลนูพิราเวียร์จากแหล่งผลิตในจีนและอินเดีย ในราคาที่ใกล้เคียงกับยาฟาวิพิราเวียร์ได้ ส่วนยา "แพกซ์โลวิด" กำลังจะนำเข้ามาในเร็วๆ นี้เช่นกัน