“ข้าราชการ” ติด “โควิด-19” รักษา "รพ.เอกชน" ฟรี กรณีใดบ้าง?

“ข้าราชการ” ติด “โควิด-19” รักษา "รพ.เอกชน" ฟรี กรณีใดบ้าง?

"ข้าราชการ" ติด "โควิด-19" ก็สามารถเข้ารักษาได้ที่ "รพ.เอกชน" ได้ แต่ต้องอยู่ในกรณีและเงื่อนไขอย่างไรบ้าง? หาคำตอบได้ที่นี่

หลังจากที่ประชุมครม.ครั้งล่าสุด (16 มี.ค. 65) มีมติเห็นชอบให้ “ข้าราชการ” ที่ป่วยด้วยโรค “โควิด-19” และมีอาการอยู่ในระดับความป่วยแบบรุนแรงและฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่ “โรงพยาบาลเอกชน” แต่มีหลักเกณฑ์ในการรักษาและอัตราการเบิกจ่ายจะแตกต่างกับโรงพยาบาลรัฐ

เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สรุปข้อมูลมาให้รู้ชัดอีกครั้งวง่า ผู้ป่วยโควิดในแต่ละระดับอาการจะมีหลักเกณฑ์การเข้ารักษาอย่างไร และการเบิกจ่ายมีระยะเวลาดำเนินการกี่วัน?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ข้าราชการที่มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวที่ติดโรคโควิด-19 แบบฉุกเฉิน-วิกฤติ และแพทย์วินิจฉัย ว่า เข้าเกณฑ์ “UCEP Plus” ตามแนวทางของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ที่แบ่งเป็น “สีแดง สีเหลือง และสีเขียว” สามารถเข้ารับการรักษาที่ “สถานพยาบาลเอกชน” ได้ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 16 มีนาคม 2565

“ข้าราชการ” ติด “โควิด-19” รักษา \"รพ.เอกชน\" ฟรี กรณีใดบ้าง?

1. ผู้ป่วยฉุกเฉินหรือวิกฤติ (สีแดงและสีเหลือง)

  • สามารถไปรักษาได้ทุกสถานพยาบาลเอกชนทั่วไทย
  • การเบิกจ่ายเงินเป็นไปตามหลักเกณฑ์ UCEP Plus
  • ค่ารักษาพยาบาลครอบคลุมตั้งแต่การเริ่มรักษาไปจนถึงการสิ้นสุดการรักษา
  • หากมี “ประกันภัย” ต้องใช้สิทธิการเบิกจ่ายจากประกันภัยก่อน 
  • การส่งเบิกผ่านระบบ สปสช. หากบัญชีกลางได้รับข้อมูลจะจ่ายเงินให้รพ.เอกชนไม่เกิน 15 วัน

2. ผู้ป่วยอาการเบา (สีเขียว)

  • สามารถเข้ารับรักษาได้เฉพาะโรงพยาบาลเอกชน ที่ร่วมกับ สปสช. 85 แห่งเท่านั้น
  • อัตราการเบิกจ่าย สามารถเบิกได้เท่ากับโรงพยาบาลรัฐบาล
  • การรักษาครอบคลุมทุกกรณี รวมถึงฮอสพิเทลหรือโฮมไอโซเลชั่นด้วย
  • สามารถรักษาได้ไม่เกิน 10 วัน ตามเงื่อนไขของกระทรวงสาธาราณสุข
  • การส่งเบิกผ่านระบบ สปสช. หากบัญชีกลางได้รับข้อมูล จะจ่ายเงินให้โรงพยาบาลเอกชนไม่เกิน 15 วัน

3. การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล

  • การเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล โรงพยาบาลเอกชนต้องเป็นผู้เบิกแทนผู้มีสิทธิในระบบเบิกจ่ายตรงเท่านั้น
  • ข้าราชการผู้เข้ารับการรักษาต้องส่งข้อมูลผ่านระบบของ สปสช. 
  • การจ่ายเงินค่ารักษากับโรงพยาบาลเอกชน จะดำเนินการภายในไม่เกิน 15 วัน หลังจากที่กรมบัญชีกลางได้รับข้อมูล
  • มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป 

หมายเหตุ

  • ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค 0416.4/ว 213 (16 มี.ค. 2565)
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ กองสวัสดิการรักษาพยาบาล กรมบัญชีกลาง หมายเลขโทรศัพท์ 02-127-7000 ต่อ 6854 หรือ 4441 ในเวลาราชการ

----------------------------------------

อ้างอิง: กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง