โควิดพบเชื้อวันเสียชีวิต 14 ราย พร้อมระบุเหตุผลที่ไม่ควรติดโอมิครอน
ศบค.รายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่กว่า 2.3 หมื่นราย เสียชีวิตกว่า 100 ราย พบติดเชื้อในวันเสียชีวิต 14 ราย เข้ารักษาในรพ.2.3 แสนกว่าราย ป่วยหนักเกือบ 2 พันราย ย้ำ 4 เหตุผลที่ไม่ควรติดโอมิครอน
วันนี้ (13 เม.ย.2565) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำวัน ว่า
พบผู้ป่วยรายใหม่ 23,015 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดเชื้อรายใหม่จากในประเทศ 22,863ราย ผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ 95 รายและผู้ติดเชื้อในเรือนจำ 57ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมระลอกใหม่ ตั้งแต่ม.ค.2565 จำนวน1,725,434ราย
- พบเชื้อโควิดวันเสียชีวิต 14 ราย
ผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 106 คน ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนม.ค.2565 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมถึง 4,697คน ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 26,395คน
ผู้ที่กำลังรักษาตัวอยู่ 232,682ราย กลุ่มคนไข้อาการหนักที่มีอาการปอดอักเสบที่น่าวิตก 1,971ราย และใส่เครื่องช่วยหายใจอีก 834 ราย ยอดผู้ที่หายป่วยกลับบ้านแล้ว 27,626 ราย หายป่วยสะสมตั้งแต่ปี2563 จำนวน 93,689,792ราย
รายงานผู้เสียชีวิตรายใหม่ 106 ราย พบว่า เป็นเพศชาย 62 ราย หญิง 44 ราย เป็นชาวไทย 104ราย เมียนมา 1 ราย กัมพูชา 1 ราย โดยส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 80 ราย คิดเป็น 75% และโรคเรื้อรัง 23ราย คิดเป็น 22% รวม 97 % และพบเชื้อวันเสียชีวิต 14 ราย
- กทม.-นนทบุรี พบผู้ติดเชื้อหลักพันราย
ส่วน 10 อันดับจังหวัด ผู้ติดเชื้อสูงสุด มีดังนี้
- กทม. 2,932 ราย
- นนทบุรี 1,082 ราย
- ขอนแก่น 994 ราย
- ชลบุรี 981 ราย
- สมุทรปราการ 712 ราย
- นครปฐม 554 ราย
- สมุทรสาคร 549 ราย
- นครศรีธรรมราช 528ราย
- บุรีรัมย์ 514 ราย
- สงขลา 479 ราย
นอกจากนั้น จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ปอดอักเสบกำลังรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 10 อันดับแรก ได้แก่
- กทม. 205 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 36.70%
- สมุทรปราการ 99 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 39.70%
- นครราชสีมา 80 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน30.00 %
- ชลบุรี 67 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 33.30%
- สุพรรณบุรี 67 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 32.20%
- บุรีรัมย์ 65 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 28.80%
- นครศรีธรรมราช 61 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 16.10%
- นนทบุรี 52 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 39.30%
- กาญจนบุรี 49 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 36.20%
- เชียงราย 46 ราย ครองเตียง ระดับ 2-3 ในสัดส่วน 19.60%
- ยอดฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้ม ทะลุ 24 ล้านคน
ทั้งนี้ หลังจากประเทศไทยเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ สามารถเข้าทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศได้ 1- 12 เม.ย.2565 สะสม 164,879 คน ติดเชื้อ 732 ราย อัตราการติดเชื้อ 0.44% แบ่งเป็น Test&Go เดินทางเข้าไทย 154,636 คน ติดเชื้อ 615 ราย 0.40 % Sandbox 8,587 คน ติดเชื้อ 76 ราย 0.89% และ Quarantine 1,656 คน ติดเชื้อ 41 ราย 2.48 %
ยอดฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.2564- 12 เม.ย. 2565 สะสมทั้งหมด 131,448,508โดส แบ่งเป็น เข็มที่ 1 สะสม 55,965,161 ราย คิดเป็น 80.5 % ของประชากร เข็มที่ 2 สะสม 50,635,127 ราย คิดเป็น 72.8 %ของประชากร เข็มที่3 สะสม 24,848,220 ราย คิดเป็น35.7% ของประชากร
ทั้งนี้ พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวเมื่อวันที่ 5 ม.ค.2565 ถึงสาเหตุที่ไม่ควรติดโอมิครอนว่า
4 เหตุผลที่ไม่ควรติดโอมิครอน แม้จะไม่แรงแต่ไม่ติดจะดีกว่า มีดังนี้
- การปล่อยให้ติดเชื้อ ส่งเสริมให้เชื้อกลายพันธุ์ แพร่กระจายง่ายขึ้น
- Omicron เป็นสายพันธุ์กลายพันธุ์ใหม่ ทำให้เกิดภาวะ Long COVID ระยะยาวได้
- ยังมีคนไทยอีกหลายล้านคน ไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 เสี่ยงติดเชื้อและอาจเสียชีวิต
- ถ้าผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเร็ว อาจทำให้ระบบสาธารณสุขรองรับไม่ทัน