"ลูกหนี้กยศ." หากไม่พร้อมชำระหนี้ 5 ก.ค. ต้องทำอย่างไร?
วันที่ "5 ก.ค. ของทุกปี" คือวันครบกำหนดชำระประจำปีของ กยศ. ซึ่งตามปกติแล้ว กยศ. จะมีหนังสือแจ้งภาระหนี้ไปถึงผู้กู้ยืม 1 ครั้ง ก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้งวดแรก โดยจะส่งไปตามที่อยู่เดิมตามภูมิลำเนาของผู้กู้ยืม หรือที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์
โดยในแต่ละปี กยศ. จะมีมาตรการช่วยเหลือ หรือ โปรโมชั่น ชำระหนี้คืน ลดหนี้ ลดเบี้ยปรับ เพื่อช่วยลูกหนี้ให้คืนเงิน กยศ. ได้โดยที่ไม่ต้องเสี่ยงถูกฟ้องร้องเมื่อไม่มาชำระหนี้
เพราะหน้าที่ของผู้กู้ยืมคือจะต้องชำระเงินที่กู้ยืมมาพร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด 1% ต่อปี โดยต้องชำระคืนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี (นับแต่วันเริ่มชำระหนี้) ส่วนการชำระหนี้งวดต่อๆ ไปผู้กู้ยืมจะต้องชำระเงินต้นคืน ตามอัตราผ่อนชำระที่กองทุนกำหนด พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินต้นที่คงค้าง ภายในวันที่ 5 ก.ค.ของทุกปี
5 ก.ค. หน้าที่ลูกหนี้กยศ. ต้องไปชำระหนี้
หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินจะต้อง "ชำระค่าปรับ หรือ ค่าธรรมเนียมจัดการ" กรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนด
โดยปกติแล้วค่าปรับจะอยู่ที่ 12% กรณีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี และ 18% กรณีค้างชำระเกิน 1 ปี ของเงินต้นค้างชำระ
- การลงทะเบียนผู้ใช้งาน ผู้กู้ต้องลงทะเบียนด้วยตัวเองผ่านระบบได้ 2 ช่องทาง
- ผ่านช่องทาง Mobile Application "กยศ. Connect" ได้ทั้งระบบปฎิบัติการ iOS และ Android
- ผ่านทางเว็บไซต์ (คลิก)
หมายเหตุ
หากท่านมีความประสงค์เปลี่ยนแปลง / แก้ไขเบอร์โทรศัพท์ ที่ใช้ในการลงทะเบียน ช่องทาง Mobile Application "กยศ. Connect" หรือช่องทางเว็บไซต์ ขอให้ทำหนังสือถึงกองทุนเพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ในการลงทะเบียน กยศ.Connect พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนชน (รับรองสำเนาถูกต้อง) โดยจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เข้ามาตามที่อยู่กองทุนหรือส่งเอกสารไฟล์ .pdf ทางอีเมล [email protected]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ลูกหนี้ "กยศ." ต้องรู้! กู้แล้วไม่คืน จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ?
"กยศ." ชำระหนี้วันสุดท้าย 5 ก.ค. นี้ เช็กวิธีจ่ายง่ายๆ ผ่าน "กยศ. Connect"
- เช็กช่องทางการชำระหนี้ กยศ.
เพื่อเพิ่มความสะดวกมากยิ่งขึ้น ชำระหนี้ กยศ. และ กรอ.ได้ตลอดปี ไม่จำกัดจำนวนเงิน ไม่ต้องใช้บาร์โค้ด เพียงยื่นบัตรประชาชน หรือแจ้งเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ได้แล้ววันนี้ ที่ เคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกสาขาทั่วประเทศ
เงินชำระหนี้ไม่รวมค่าธรรมเนียมบริการเคาน์เตอร์ เซอร์วิส 10 บาท
ตัวอย่าง หากต้องการชำระหนี้ 100 บาท ต้องชำระ 110 บาท ประกอบด้วย
- ชำระหนี้ 100 บาท
- ค่าธรรมเนียมบริการเคาน์เตอร์ เซอร์วิส 10 บาท
เตือน ชำระหนี้กยศ.ก่อนถูกฟ้องร้อง
นอกจากนั้น ยังสามารถ ชำระหนี้กยศ. ด้วยเช็ค ตั๋วแลกเงิน แคชเชียร์เช็ค
ให้สั่งจ่าย “กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา บัญชีรับชำระหนี้ ชื่อ-นามสกุลผู้กู้ยืมเงิน หมายเลขบัตรประชาชนผู้กู้ยืมเงิน”
1. ก่อนการนำฝากเช็ค ตั๋วแลกเงิน แคชเชียร์เช็คทุกครั้ง ผู้กู้ยืมเงินจะต้องดาวน์โหลด QR Code หรือ Barcode ผ่าน Application “กยศ. Connect” หรือจากระบบ DSL ... คลิก โดยระบุจำนวนเงินที่จะชำระให้ตรงกับยอดเงินหน้าเช็ค ตั๋วแลกเงิน แคชเชียร์เช็ค พร้อมบันทึกภาพ หรือจัดพิมพ์ QR Code หรือ Barcode ภายในวันที่ไปชำระหนี้เท่านั้น
2. ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้ด้วยเช็ค ตั๋วแลกเงิน แคชเชียร์เช็ค ที่หน้าเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ก่อนเวลา 12.00 น. โดยแสดงภาพ QR Code หรือ Barcode
3. เมื่อธนาคารกรุงไทยรับชำระหนี้จากผู้กู้ยืมเงินแล้ว ระบบจะดำเนินการลดยอดหนี้ให้ผู้กู้ยืมเงินโดยอัตโนมัติภายใน 3-5 วันทำการ (เมื่อวันที่เช็ค ตั๋วแลกเงิน แคชเชียร์เช็คมีผลเรียบร้อยแล้ว) หมายเหตุ
* กรณีชำระหนี้เป็นเช็คที่มิใช่เช็คของธนาคารกรุงไทย อาจมีการเคลียร์ริ่งเช็คต่างธนาคาร ทำให้ยอดหนี้ที่ชำระไม่ครบถ้วน
รวมถึงสามารถชำระหนี้ ผ่านเงินเดือน
การชำระเงินจากต่างประเทศ
ผู้กู้ยืมสามารถดำเนินการได้โดยการโอนเงินเข้าบัญชี ดังนี้
1. Krung Thai Bank Public Company Limited, Na na nua Office
2. Account No.: 034-6-05362-5
3. Account Name : Student Loan
4. Swift Code KRTHTHBK
5. Remark your Thai Citizen ID (13 หลัก)*
6. จำนวนเงินที่ชำระควรมากกว่าจำนวนเงินที่ตรวจสอบได้จาก Web site บวก Payment fee 10 บาทและ Inward Transfer fee 200 บาท (ถ้าโอนไม่เกิน 200,000 บาท)
7. เมื่อชำระแล้ว ควรตรวจสอบยอดค้างชำระใน Web site อีกครั้ง หลังจากโอนเงินแล้ว ประมาณ 7 วันทำการ
อย่างไรก็ตาม ผู้กู้สามารถชำระหนี้ปิดบัญชีได้ที่หน้าเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย /ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และแอปพลิเคชันเป๋าตัง เท่านั้น
ผิดนัดชำระหนี้ต้ ถูกเบี้ยปรับ 7.5% ต่อปี
หากผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ กยศ.ได้มีการขยายเวลาให้ได้ แต่ขอให้ติดต่อมายังกยศ. เพราะหากผิดนัดชำระหนี้ อาจจะต้องถูกดำเนินการดังนี้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กระทรวงยุติธรรมโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมบังคับคดี ร่วมกับ กยศ. และสถาบันการเงินต่าง ๆ จัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนทั่วประเทศ ช่วยเหลือประชาชนรวมถึงลูกหนี้ กยศ. ไกล่เกลี่ยหนี้ทั้งก่อนฟ้องและหลังฟ้อง ซึ่งตั้งแต่เดือน ก.พ. จนถึงขณะนี้ได้จัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ฯ ไปแล้ว 19 ครั้ง ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 14,538 ราย ทุนทรัพย์ 3,461 ล้านบาท