รมว.สุวิทย์ โชว์วิสัยทัศน์ กระตุ้นคนรุ่นใหม่รู้ทันโลกใบใหม่ ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ กระตุ้นคนรุ่นใหม่สร้างการเปลี่ยนแปลง ร่วมสร้างโลกและสังคมที่ดีขึ้นเตรียมรับศตวรรษที่ 21 ในงาน CEO Innovation Forum 2019 เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มและกระแสความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมครั้งใหญ่ CEO Innovation Forum 2019 ภายใต้หัวข้อ “Empowering the Next Gen for the Future: ขุมพลังคนรุ่นใหม่แห่งอนาคต” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มาเป็นประธานในการเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “Next Gen, Science, Innovation & Entrepreneurship: New Waves of the Thai Economy” โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกคนในการกำหนดอนาคต เน้นย้ำความสำคัญของประเด็นอนาคตและคนรุ่นใหม่ เราจึงต้องเข้าใจว่าอนาคต หรือ future ที่เรากำลังพูดถึงนี้คืออะไร
Peter Drucker กล่าวว่า เวลาเราจะกำหนดอะไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับสมมติฐาน 3 ข้อ ได้แก่ 1. สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ 2. กลยุทธ์ (Strategy) ที่เราคิดนั้นต้องเปลี่ยนไปหรือไม่ 3. ถ้าจะเปลี่ยนกลยุทธ์ แล้วศักยภาพ (Capability) ของเราต้องเปลี่ยนไปหรือไม่ วันนี้เรากำลังทบทวนสมมติฐาน 3 ข้อ ดังกล่าว เรากำลังอยู่ใน new normal ของโลกในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแตกต่างจากโลกในศตวรรษที่ผ่านมานั้นอย่างสิ้นเชิง เช่น จากโลกเดิมที่มีความเสถียร (Stability) วันนี้เราอยู่ในโลกที่มีความผันผวนสูง (Volatility) เราเคยอยู่ในโลกที่มีความแน่นอนสูง (Certainty) แต่ตอนนี้โลกเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน (Uncertaincy) เราเคยอยู่ในโลกที่เรียบง่าย (simplicity) แต่วันนี้เราอยู่ในโลกที่ซับซ้อนมาก (Complexity) เราเคยอยู่ในโลกที่มีความชัดเจน (Clarity) แต่ปัจจุบันโลกอยู่ในความกำกวมอย่างสมบูรณ์ (Ambiguity) โลกในปัจจุบันจึงเรียกว่า “VUCA”
อะไรคือ new landscape ของโลกใบใหม่? ตอนนี้เราเริ่มเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผลจาก disruption ของเทคโนโลยี ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติเทคโนโลยี (Revolution of technology) ซึ่งนำมาสู่การปฏิวัติของมนุษยชาติ มีลักษณะเป็นวัฏจักร แต่วงจรนี้จะเป็นวงจรที่ทำให้โลกนี้ดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคน
ณ วันนี้ มนุษย์กับเทคโนโลยีแยกจากกันไม่ออก มนุษย์อยู่ในสิ่งที่เรียกว่า Socio-technical system อย่างสมบูรณ์ มนุษย์ไม่ใช่ปกติชนอย่างที่เราเห็นกันอยู่ อารยธรรม (civilisation) ที่ดำเนินอยู่จะมีลักษณะเป็น dual-civilisation คือ อารยธรรมในโลกแห่งความเป็นจริง (Real world civilisation) และในโลกเสมือน (Virtual world civilisation) มนุษย์เปลี่ยนจาก Physical human เป็น Virtual human ในโลกใบใหม่ที่มีมนุษยชาติแบบดิจิทัล (Digital humanity) Operating platform ต่างๆได้เปลี่ยนไปสู่ความเป็น cyberphysical platform ที่เราเรียกว่า Industry 4.0 และสิ่งนี้คือภูมิทัศน์ใหม่ของโลก
ดร.สุวิทย์ กล่าวต่อไปว่า เราจะอยู่ในโลกภายใต้ Global setting แบบใหม่นี้ได้อย่างไรหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง? เราเปรียบการเปลี่ยนแปลงของโลกดังกล่าว เหมือนกับการเปลี่ยนจากหนอนเป็นดักแด้ และจะกลายเป็นผีเสื้อผ่านกระบวนการ metamorphosis ทำให้เกิดสิ่งท้าทายพื้นฐาน (Fundamental challenges) 7 เรื่อง ได้แก่
1. Career migration ทำให้หลายอาชีพถูก disrupt
2. Jobless growth การเติบโตของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้งานใหม่ๆจะเป็นงานสำหรับผู้มีทักษะสูง (High skill talent) เท่านั้น
3.Skill divide ถ้าไม่พัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้ดีพอ จะทำให้สังคมแตกแยกออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือพวก high skill มี literacy ด้านต่างๆอย่างสูง (ทั้งด้านเทคโนโลยี การเงิน เป็นต้น) แต่กลุ่มนี้มีจำนวนน้อยมาก ในขณะที่กลุ่มฐานพีระมิดมีคนจำนวนมาก หากคนเหล่านี้ไม่มีความรู้เรื่อง STEM, digital, การบริหารจัดการ ก็จะทำให้เกิดช่องว่างของทักษะ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่จะเกิดขึ้นทั่วโลก
4.Competing for talents การแย่งชิงทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดในโลกคือ ทรัพยากรบุคคล
5.Multistage life ชีวิตของมนุษย์ปัจจุบันไม่ได้ประกอบไปด้วย 3 ขั้น (Three stage life - เรียน ทำงาน และเกษียณ) อีกต่อไป มนุษย์จะมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น เราจะอยู่ได้ไม่ใช่เพื่อเกษียณ แต่ต้องเรียนรู้ใหม่เพื่องานแบบใหม่ในอนาคต
6.Intellectual capital investment หรือการลงทุนด้านปัญญา โดยกระทรวง อว.จัดตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา
7. Career for the future อาชีพแห่งอนาคต
เรากำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ อารยธรรมมนุษย์ยังดำเนินต่อเนื่องไป เราสามารถทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกนี้ได้ ต้องเข้าใจใน 4 ระดับ ตั้งแต่ philosophy, paradigm, principle ไปจนถึง practices โลกได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัย (เช่น เปลี่ยนจากการเกษตรไปสู่อุตสาหกรรม) แต่เป็นโลกที่มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แลกมากับการสูญเสียในหลายๆด้าน เช่น ชีวิตความเป็น สังคม สิ่งแวดล้อม เป็นผลพวงของกระบวนทัศน์ด้าน modernism ที่ผู้คนยึดถือความสนใจส่วนบุคคล (Self-interest) เป็นสำคัญ จำเป็นต้องทบทวนกระบวนทัศน์จากการเป็นสังคมที่ยึดตัวเองเป็นสำคัญ หรือ Me-society และปรับเปลี่ยนไปสู่ We-society และมองเรื่องความยั่งยืน (Sustainism) เป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหัวใจของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และไม่ใช่เรื่องยากสำหรับประเทศไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ กล่าวอีกว่า การรักษาสมดุลดังกล่าวนี้ได้ ต้องเปลี่ยนทัศนคติ (Mindset) และมีการเปลี่ยนผ่านสำคัญ (Major shifts) 9 ประการ ดังต่อไปนี้
1.การเปลี่ยนจาก Ego-centricity หรือการเอาตัวเองเป็นตัวตั้ง ไปสู่ Eco-centricity เน้นการมองในองค์รวม เอาโลกเป็นศูนย์กลาง คำนึงถึงสังคม เศรษฐกิจ และคิดว่ามนุษย์เราจะได้อะไรจากการร่วมกันรักษาโลก รักษาสังคม รักษาเศรษฐกิจ
2.การเปลี่ยนจากความคิด Nature as resource ที่มองว่าธรรมชาติคือทรัพยากรที่เราเผาผลาญได้ ที่มองธรรมชาติเป็นสินค้าสาธารณะ (Public goods) ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดภายใต้กรอบ modernism ไปสู่มุมมอง Nature as source ที่มองธรรมชาติคือแหล่งทรัพยากร ต้องเก็บไว้ให้คนรุ่นลูกหลาน
3.การเปลี่ยนจาก Power of knowledge (ความรู้คือผู้มีอำนาจ) ไปสู่ power of shared knowledge เปลี่ยนแนวคิดจาก individual brain เป็น sigma brain (หลายหัวสมองรวมกัน) มีการนำเอาความรู้ในมิติต่างๆ มาร่วมกันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ องค์ความรู้ไม่ได้เกิดจากสมองคนอย่างเดียว และต้องผนึกกำลังของ human intelligence และ artificial intelligence เข้าด้วยกัน
4.การเปลี่ยนจาก People for growth ไปสู่ growth for people ต้องเห็นคุณค่าของคน แตกต่างจากในสมัยก่อน ที่ในภาคอุตสาหกรรมเรามองคนเป็นปัจจัยการผลิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และใช้ incentive ในการจูงใจให้คนเหล่านี้อยู่ในระบบ แต่คนมีค่ามากกว่านั้น ณ วันนี้ต้องทำให้คนสามารถปลดปล่อยศักยภาพ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ การสร้างคนจากนี้ไปไม่ได้สร้างโดยแรงจูงใจ (incentive) กระทรวง อว.จะสร้างคนโดยใช้แรงบันดาลใจ (inspiration) เพื่อให้คนเกิด purpose ในการสร้างสิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้น ข้อ 5-8 ต้องมีเพื่อให้เกิด Thailand 4.0 เป็นการให้ความสำคัญกับระบบสังคม (Social system), และ social architecture จะทำอย่างไรให้ชนชั้นทางสังคม (Social class) คลายตัว เน้นส่งเสริมการเคลื่อนย้ายทางสังคม (Social mobility) การสร้างสังคมแห่งโอกาส สังคมแห่งปัญญา การสร้าง Social inclusion สังคมแห่งอนาคต เพื่อลดความขัดแย้งที่รุนแรงในอดีตอันเกิดจากความแห็นแก่ตัวของคนไม่กี่คน
5.การปรับเปลี่ยนแนวคิดจาก Detachment/ enforcement ไปสู่ empowerment/ engagement มหาวิทยาลัยต้องมี public engagement ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนามนุษย์
6.การปรับเปลี่ยนจาก Limited access ไปสู่ open access เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
7.การปรับเปลี่ยนจาก Personal privileges หรือการมีอภิสิทธิ์ชน ไปสู่สังคมของ Impersonal rights เพื่อให้เกิดสังคมที่มีโอกาส เกิดสังคมที่เกื้อกูลและแบ่งปันกัน
8.การปรับเปลี่ยนจาก Centralised hierachical structure ให้กลายเป็น Multilayer poly-centric networks เพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจเป็นเครือข่ายมากขึ้น ถ้าไม่เปลี่ยนตามนี้ ก็จะไม่มีนวัตกรรมที่มีผลกระทบสูงต่อประเทศ
9. สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเอกชน ที่ผ่านมาเราเน้นแต่การสร้าง brand เช่น corporate brand คำถามคือองค์กรจะพัฒนาจุดยืนอย่างไร ซึ่งจุดยืนนั้นไม่ใช่จุดขาย (Point of sales) แต่เป็นมุมมอง (Point of view) ที่มีต่อโลก ความสำคัญจึงไม่ใช่เรื่องของกำไร แต่เป็นเรื่องของวัตถุประสงค์ของการมีอยู่ขององค์กร (Purpose)
ดร.สุวิทย์ กล่าวอีกว่า ทุกคนต้องการการเปลี่ยนแปลง แต่ใครจะเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น คือ 1. The future is us (not me). อนาคตขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคน ไม่ใช่คนคนเดียว 2. The future is here (not there). อนาคตอยู่ตรงนี้แล้ว เรามีสิทธิ์กำหนดอนาคตด้วยตัวของเราเอง และ 3. The future is today (not tomorrow). หากต้องการเปลี่ยน ต้องทำตั้งแต่วันนี้
ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่จะร่วมกับสร้างโลกและสังคมที่ดีขึ้นกว่าเดิม ต้องคิดให้ใหญ่กว่าการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ สิ่งที่เราสามารถเริ่มทำได้ มี 3 ประการ ได้แก่
1. Open-minded มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยความต้องการเป็นอิสระ ต้องการแสดงออก (self-expression value) และค่านิยมร่วม (communal value)
2. We society เป็นสังคมที่ clean & clear, free & fair และ care & share
3. Inclusive innovation นวัตกรรมที่คิดมาต้องเกิดประโยชน์กับส่วนรวม เกิด Positive externalities วัฒนธรรมจะเกิดขึ้นและยั่งยืนได้ ต้องมี culture of collaboration, free culture, free to take และ free to share ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์และพัฒนาให้ดีกว่าเดิมได้
การเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่สามารถรอคอยได้