ดีแทค เปิด 3 เมกะเทรนด์ช่วยธุรกิจพลิกวิกฤติหลังยุคโควิด-19

ดีแทค เปิด 3 เมกะเทรนด์ช่วยธุรกิจพลิกวิกฤติหลังยุคโควิด-19

ซีอีโอ ดีแทค วิเคราะห์ 3 เมกะเทรนด์โลก “ประสิทธิภาพธุรกิจ-ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ-รับผิดชอบสิ่งแวดล้อม” ช่วยพาองค์กรเติบโตยั่งยืนหลังโควิด-19 พร้อมหนุนแนวคิด 'ทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ'

เมื่อเวลา 13.30 .วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค จัดสัมมนาออนไลน์ dtac Responsible Business Virtual Forum 2021 : Rethinking Business Resilience in Post-Pandemic Economy พลิกวิกฤตเศรษฐกิจ สู่แนวคิดใหม่เพื่อองค์กรธุรกิจที่ยั่งยืน

162211026880

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวบรรยายในหัวข้อ “พลิกวิกฤตเศรษฐกิจ สู่แนวคิดใหม่เพื่อองค์กรธุรกิจที่ยั่งยืน ตอนหนึ่งว่า สถานการณ์โควิด-19 ได้ตอกย้ำบทบาทของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยในช่วงที่มีการล็อคดาวน์มีข้อมูลว่าผู้ใช้บริการลูกดีแทคมีการใช้งาน productivity apps เพิ่มขึ้นเป็นเลขสามหลักในระยะของการล็อกดาวน์ และในปี 2020 การใช้งานดาต้าก็ได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว ซึ่งข้อมูลยังระบุว่าปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้นแบบเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นในโรงพยาบาลสนาม ขณะที่องค์กรดีแทคก็มีการยืดหยุ่นด้วยการให้พนักงานดีแทค 95% ทำงานจากที่บ้านในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ทั้งนี้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคนี้ ดีแทคมองเห็น 3 แนวโน้มสำคัญหรือเมกะเทรนด์ที่จะเปลี่ยนสภาพสังคมและธุรกิจในโลกหลังยุคโควิด-19 ได้แก่

1.โครงสร้างธุรกิจเปลี่ยนสู่ Economy of Scale เพื่อประสิทธิภาพธุรกิจ

วิกฤตโควิด-19 ได้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของภาคธุรกิจ โดย 'การประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale)' มีบทบาทมากขึ้นในโลกธุรกิจ ดังจะเห็นได้จากการควบรวมกิจการต่างๆ ในระดับภูมิภาค เช่น ความสนใจในธุรกิจโทรคมนาคมของบริษัทพลังงาน การควบรวมธุรกิจระหว่าง Digi และ Celcom ในมาเลเซีย ขณะที่ Grab สตาร์ทอัพยูนิคอร์นสัญชาติมาเลเซียนั้นมีแผนการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้ง (IPO) ที่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก

“โควิด-19 ทำให้ธุรกิจจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs กำลังพบกับภาวะหนี้สะสมท่วม แต่ในเวลาเดียวกัน ก็ต้องลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านธุรกิจสุ่ดิจิทัล ซึ่งนับเป็นความท้าทายอย่างมากของ SMEs และนอกเหนือไปจากการควบรวมกิจการ การทำ Partnership และ Outsource เป็นอีกวิธีการที่ทำให้ธุรกิจโฟกัสได้ดีขึ้น ตัวอย่างการถือหุ้นใน dtac ของ Telenor ซึ่งทำให้เราได้รับประโยชน์จากความรู้ความเชี่ยวชาญในระดับโลก ทั้งการพัฒนา 5G การเป็นสมาชิกของคณะกรรมการจริยธรรมในการใช้ AI และตอนนี้ดีแทคกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Telenor Connexion ในการพัฒนา IoT (Internet of Things) มีบทบาททั้งในด้านการใช้งานในชีวิตประจำวัน” นายชารัดกล่าว

2.ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่กว้างขึ้น (Digital Divide)

แม้โควิด-19 จะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลอย่างรวดเร็วในภาครัฐและเอกชน แต่ในกลุ่มคนชายขอบและกลุ่มเปราะบางยังคงต้องได้รับการแก้ไข และนี่คือสิ่งที่ดีแทคมองว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการดิจิทัลได้ง่ายและปลอดภัย โดยที่ผ่านมาดีแทคร่วมแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลผ่าน Digital ecosystem ที่ทำให้ผู้ใช้งานสนุก มีปฏิสัมพันธ์ร่วม และตรงกับความต้องการเฉพาะ ทั้งยังได้พัฒนาโครงข่ายบนคลื่นความถี่ 700 MHz เพื่อเสริมศักยภาพด้านโครงข่ายให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งช่วยพัฒนาประสบการณ์การใช้งานได้ดียิ่งขึ้นโดยในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงดีแทคมีโครงการ Safe Internet เพื่อช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในการท่องโลกออนไลน์ และยังมีโครงการ ดีแทคเน็ตทำกิน ติดอาวุธทางดิจิทัลให้แก่ผู้ประกอบการรายเล็ก

3.ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน (Climate change) ต่อห่วงโซ่อุปทานโลก

นอกเหนือจากวิกฤตโควิด-19 ประเทศไทยยังเผชิญกับภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันได้ส่งผลกระทบตามแนวชายฝั่งและระบบนิเวศทางการเกษตรที่เปราะบาง และในอนาคตอันใกล้นี้ การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศอาจส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งได้เคยเกิดขึ้นแล้วในมหาอุทกภัย ปี 2554 ทำให้เกิดการขาดแคลน ชิปเซ็ตและตอนนี้ ได้ส่งผลกระทบตามแนวชายฝั่งและระบบนิเวศทางการเกษตรที่เปราะบาง ซึ่งการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบช่วยทำให้ระบบซัพลายเชนมีความแข็งแกร่งมากขึ้นในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ ทำให้ดีแทคตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 50% ภายในปี 2030 โดยเปลี่ยนมาใช้แหล่งพลังงานทางเลือกและพลังงานหมุนเวียน

162211023521

กางแผนฝ่าความท้าทาย 3 ความปกติใหม่

นายชารัดอธิบายเพิ่มเติมว่า ดีแทคได้กำหนดหลักการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible business) อันจะเป็นหัวใจสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการยืนหยัดท่ามกลางความไม่แน่นอน และสร้างความไว้วางใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ โดยประกอบด้วย 7 เสาหลัก ได้แก่ 1. การสร้างบรรทัดฐานใหม่ด้วยหลักธรรมาภิบาล 2. การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล 3. การสร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน 4. การสร้างสังคมดิจิทัลสำหรับทุกคน 5. การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ 6. สิทธิมนุษยชน และ 7. การสร้างสุขภาวะในที่ทำงาน