‘ซีเมนส์' ปลุกภาคการผลิตไทย ดึง ‘ดิจิทัล’ ลดปล่อย 'ก๊าซคาร์บอน’

‘ซีเมนส์' ปลุกภาคการผลิตไทย ดึง ‘ดิจิทัล’ ลดปล่อย 'ก๊าซคาร์บอน’

‘ซีเมนส์’ ย้ำยุทธศาสตร์ธุรกิจมุ่งความยั่งยืน หนุนอุตสาหกรรมไทยลุย ‘ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น’ ด้วยเทคโนโลยีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดปล่อย ก๊าซคาร์บอนฯ ชี้โซลูชั่นเทคฯ ซีเมนส์ช่วยธุรกิจลดปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ 150 ล้านตัน

‘ซีเมนส์’ ย้ำยุทธศาสตร์ธุรกิจมุ่งสู่ ความยั่งยืน สอดรับ โลกยุคใหม่การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ พร้อมเดินหน้าสู่ “ความยั่งยืน” ลดปล่อยก๊าซคาร์บอน ดึงดิจิทัลช่วย กำลังกลายเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับทุกองค์กร ความยั่งยืน ไม่ใช่แค่เทรนด์โลก แต่กลายเป็น “กติกาสากล” ที่ทุกวงการต่างให้ความสำคัญ

นายโจเซฟ คง หัวหน้ากลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล ซีเมนส์ ประเทศไทย หัวหน้ากลุ่มธุรกิจงาน Motion Control ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ซีเมนส์สนับสนุนการทำ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น สำหรับภาคอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเน้นความยั่งยืน โดยปีงบประมาณ 2565 ของบริษัทฯ ผลิตภัณฑ์และโซลูชันของซีเมนส์ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ถึงประมาณ 150 ล้านตัน

‘ซีเมนส์\' ปลุกภาคการผลิตไทย ดึง ‘ดิจิทัล’ ลดปล่อย \'ก๊าซคาร์บอน’

 

‘ซีเมนส์\' ปลุกภาคการผลิตไทย ดึง ‘ดิจิทัล’ ลดปล่อย \'ก๊าซคาร์บอน’

ท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจ ปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ทำให้ภาคอุตสาหกรรม มุ่งหน้านำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงปลายทางที่เป็นผู้ประกอบการ โดยสอดรับกับแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยึดหลักความยั่งยืน หรือ “Sustainability” เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

ปลุกองค์กรดึงดิจิทัลลดปล่อยคาร์บอน

เขากล่าวว่า ด้วยปริมาณประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร และเครื่องดื่มถือว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ต้องเผชิญกับความท้าทาย ทั้งทางด้านการผลิตและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจากสถิติ 30% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกเกิดจากการผลิตและบรรจุอาหาร และ 70% ของปริมาณน้ำจืดบนโลกถูกใช้โดยอุตสาหกรรมอาหาร

‘ซีเมนส์\' ปลุกภาคการผลิตไทย ดึง ‘ดิจิทัล’ ลดปล่อย \'ก๊าซคาร์บอน’

“การลดลงเพียงแค่ 1% ของคาร์บอนฟุตพรินต์ของภาคอุตสาหกรรมทั้งโลก จะเท่ากับ 70 ล้านตันของการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่อปี  ถ้าพูดในบริบทของไทยจะเยอะมาก 70 ล้านตัน เท่ากับ 30% ของปริมาณก๊าซคาร์บอนที่ปล่อยในประเทศไทยทั้งปีของปี 2565 นั่นคือ ทำไมการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมแค่นิดเดียว จะช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกได้มาก การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อโลก จะมีผลต่อความยั่งยืนต่อไป”

สำหรับประเทศไทยอุตสาหกรรมอาหารรวมถึงเครื่องดื่มยังเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม โดยจากข้อมูลของ Statista ระบุ ณ เดือนมีนาคม 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศไทยอยู่ใน อันดับที่ 3 รองจากกลุ่มเภสัชภัณฑ์และยาเตรียม  และอันดับ 1 คือกลุ่มเครื่องจักรกลและอุปกรณ์อุตสาหกรรม

เปิด 4 เทรนด์ความยั่งยืน

ส่วนเรื่องของเทรนด์ด้านความยั่งยืนนั้นมองได้ 4 เรื่อง ได้แก่ 1.พันธกิจเน็ตซีโร่ขององค์กรต่างๆ ที่ต้องรายงานการดำเนินงาน ขณะที่ไทยเองมีแผนที่จะมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 2.ความต้องการในใช้น้ำหรือพลังงานในโลก ประมาณปี 2050 คาดการณ์ว่าโลกจะมีคนเพิ่มอีก 2 พันล้านคน ในขณะที่ทรัพยากร น้ำและพลังงานมีอย่างจำกัด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาและแก้ปััญหาอย่างเร่งด่วน

3.เรื่องความต้องการในบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น เช่น การหลีกเลี่ยงพลาสติก โฟม และ 4.คนในยุคใหม่ หรือ เจนเนอเรชั่นใหม่ๆ จะตื่นตัวในเรื่องนี้สูงมากจะเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม ซึ่งปัจจุบันซีเมนส์มีโซลูชั่นที่ตอบโจทย์เทรนด์ทั้ง 4 เรื่องนี้

“ธุรกิจของซีเมนส์ในไทย มีส่วนโดยตรงที่จะช่วยสนับสนุนในเรื่องของเทคโนโลยีความยั่งยืน ธุรกิจหลักของซีเมนส์ในไทย มี 2 กลุ่ม คือ ดิจิทัล อินดัสทรีส์ และสมาร์ท อินฟราสตรัคเจอร์ ซึ่งดิจิทัล อินดัสทรีส์ เป็นระบบอัตโนมัติของการผลิตทั้งกระบวนการแบบดิจิทัล ส่วนสมาร์ท อินฟราสตรัคเจอร์ เป็นการจัดการระบบพลังงาน ทั้งในอาคาร และในโรงงานซึ่งเทคโนโลยีของซีเมนส์ ล้วนส่งผลเชิงบวกต่อการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นขององค์การต่างๆ”

เทคโนโลยีผลักดันความยั่งยืน

ด้านนายซาช่า แมนเนล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายขายระบบอัตโนมัติโรงงาน กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล ซีเมนส์ เอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่า ปัจจุบันโลกกำลังใช้ทรัพยากรล่วงหน้า และทรัพยากรล่วงหน้านั้นก็กำลังหมดไปเร็วขึ้น

“ในอดีต เราเน้นการผลิต ที่เน้นกำไรเป็นหลัก แต่วันนี้ เราต้องคิดถึงเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น กระบวนการผลิตต้องมีความยั่งยืน ใช้พลังงานน้อยลง ในส่วนของโปรดักส์ที่ผลิตมาแล้ว ต้องคำนึงถึงว่าจะเอาไปใช้งานต่อได้อย่างไรบ้างในอนาคต ดังนั้นในกระบวนการผลิต ต้องคิดตั้งแต่กระบวนการออกแบบ ทำอย่างไรให้ มีการใช้น้ำ ใช้พลังงานได้น้อยลง จะจัดการการขนส่งอย่างไร ให้แหล่งผลิตตั้งแต่ต้น อยู่ใกล้กับโรงงาน แหล่งผลิต หรือ ใกล้ผู้บริโภคมากขึ้น”

นายแมนเนล ยกตัวอย่าง การทำงานร่วมกันระหว่าง ซีเมนส์ และบริษัทโคคาโคล่า เป็นการบริหารข้อมูลที่จะทำให้ กระบวนการผลิตมีความนยั่งยืนมากขึ้น มีการเก็บดาต้าในแต่ละจุด เพื่อมาคำนวณ การใช้พลังงาน หรือเป็นแนวทางปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมไปถึงการสร้างดิจิทัลโมเดลขึ้นมา มีการจำลองกระบวนการผลิตให้ก่อนล่วงหน้า เพื่อวางแผนการผลิตจริงให้เหมาะสม

“ซึ่งตั้งแต่ปี 2010 ที่ซีเมนส์ทำงานร่วมกับโคคาโคล่าก็สามารถเรื่องคาร์บอน ลงได้ 50%“

เร่งดันโซลูชั่นเทคฯเป็นมิตรต่อโลก

สำหรับโซลูชั่นของ ซีเมนส์ เช่น การช่วยเร่ง ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม แบบ End-to-End โซลูชั่นที่จะช่วยให้สามารถผลิตได้มากขึ้น เร็วขึ้น มีความยืดหยุ่นพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ใช้ทรัพยากรน้อยลง และยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ ยังมี โซลูชันการเกษตรแนวตั้ง (Vertical Farming) ที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสู่ความยั่งยืน ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ (End-to-End) ประหยัดน้ำได้ถึง 95% เทียบกับการทำเกษตรทั่วไป เพิ่มผลผลิตได้มากกว่า 300 เท่าต่อตารางฟุต ลดคาร์บอนฟุตพรินท์ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงโต๊ะอาหาร และก่อให้เกิดขยะน้อยกว่า ที่สำคัญใช้พลังงานหมุนเวียน 100% และไม่มียากำจัดศัตรูพืช

รวมไปถึงซอฟต์แวร์ Opcenter APS สำหรับวางแผนและจัดตารางการผลิต ลดความซับซ้อน เพิ่มผลผลิต ลดปริมาณสินค้าคงคลังลดลง และเพิ่มความสามารถในการส่งมอบสินค้า

นอกจากนี้ ยังมี โซลูชัน 5จี สำหรับภาคอุตสาหกรรม ด้วยการเชื่อมต่อความเร็วสูงที่มีความหน่วงในการส่งข้อมูลต่ำในระดับ 1 มิลลิวินาที มีความเสถียรและปลอดภัยสูง ช่วยรองรับการใช้แอปพลิเคชันอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile Robots), การขนส่งอัตโนมัติ (Autonomous Logistics) หรือรถลำเลียงสินค้าที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ (Automated Guided Vehicles or AGVs)

โซลูชั่น 5จี จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ เซ็นเซอร์ และระบบการทำงานทั้ง Information Technology (IT) และ Operation Technology (OT) ให้ลื่นไหลไร้รอยต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ สนับสนุน massive Machine-Type Communications (mMTC) ทำให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์  (IoT) จำนวนมากได้เพื่อการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น

ชู 6 ยุทธศาสตร์อีเอสจี

ทั้งนี้ ซีเมนส์ยังได้กําหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล (ESG) ไว้ในกรอบกลยุทธ์เฟรมเวิร์ก “DEGREE” เน้นดำเนินการใน 6 ด้าน คือ D - Decarbonization การลดปริมาณคาร์บอน E - Ethics จริยธรรม G - Governance บรรษัทภิบาล R - Resource Efficiency การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

E- Equity ความเสมอภาค และ E- Employability การจ้างงาน ครอบคลุมการดำเนินงานในทุกมิติ และบริษัทฯ พร้อมร่วมผลักดันภาคอุตสาหกรรมไทยให้เดินหน้าไปสู่ความยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 ด้วยการขับเคลื่อนของเทคโนโลยีและนวัตกรรม

นายไท-ไลฟาม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำภูมิภาคอาเซียน ซีเมนส์ กล่าวย้ำก่อนหน้านี้ว่า ความยั่งยืนกลายเป็นโจทย์ใหญ่ของทุกองค์กรธุรกิจ และมนุษยชาติ เช่นเดียวกับในภูมิภาคอาเซียนที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้น จากที่รัฐบาลในหลายประเทศได้ลงนามในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP) ทำให้มีการออกมาตรการ และริเริ่มโครงการอย่างจริงจังเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

ส่วนของประเทศไทยเองก็ได้มีการประกาศเป้าหมายหลายส่วนที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065

‘ซีเมนส์\' ปลุกภาคการผลิตไทย ดึง ‘ดิจิทัล’ ลดปล่อย \'ก๊าซคาร์บอน’

’ไทย’ตลาดสำคัญอาเซียน

ซีเมนส์ พบว่า การวัดผลความสำเร็จในประเด็นนี้ แม้ไม่อาจคาดการณ์ระยะเวลาได้อย่างชัดเจน เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องเช่น นโยบายของรัฐบาลแต่ละประเทศ และปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ทว่าหลายประเทศมีการตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญ

อย่างไรก็ดี แม้เผชิญกับความท้าทายที่แต่ต่างกันออกไป แต่การปรับใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง ปรับเปลี่ยนได้ตามโจทย์ธุรกิจและสภาพการใช้งานจริงจะเป็นคำตอบ ทั้งมีส่วนสำคัญต่อการยกระดับองค์กร การบริหารจัดการ เพิ่มผลิตผล รวมถึงป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น

ขณะนี้ อาเซียนนับเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพด้านการลงทุนทางเทคโนโลยี ประเมินจากดัชนีชี้วัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเศรษฐกิจ จำนวนประชากร การเติบโตของอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานเช่นเดียวกับประเทศไทยซึ่ง ซีเมนส์ มีมุมมองว่าเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ โอกาสเติบโตสูง และมีความสำคัญอย่างมากสำหรับซีเมนส์

นอกจากเทรนด์ด้านความยั่งยืนดังกล่าว ที่น่าสนใจพบด้วยว่า อาเซียนมีแนวโน้มการเติบโตที่โดดเด่นจากการที่ผู้คนยังคงย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในภาคการผลิต

จากเทรนด์ดังกล่าว ผลักดันให้เกิดความต้องการลงทุนด้านโครงการพื้นฐานที่สูงมาก ขณะเดียวกันพบความต้องการขยายการลงทุนเข้ามาในภูมิภาค เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านซัพพลายเชน โดยทุกประเทศในภูมิภาคนี้ต่างได้รับความสนใจจากนักลงทุน

ย้ำเดินหน้าขยายลงทุนในไทย

สำหรับซีเมนส์ ความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งในดีเอ็นเอของบริษัท ในทุกกิจกรรมทางธุรกิจหรือการทำธุรกิจจะคำนึงถึงและให้ความสำคัญกับประเด็นนี้อย่างมาก บริษัทได้มีจัดทำเฟรมเวิร์ก กำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน ครอบคลุมในทุกมิติ และสามารถวัดผลได้

ซีเมนส์ต้องการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในประเทศไทย โดยจะมีการลงทุนขยายธุรกิจ บุคลากร ความร่วมมือกับพันธมิตร รวมถึงขยายฐานธุรกิจไปสู่พื้นที่ใหม่ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานสีเขียวและความยั่งยืน