เปิดมุมมองจากหลากกูรู สู่เส้นทางเป็นสุดยอด ‘ครีเอเตอร์’ ที่โตไกลระดับโลก

เปิดมุมมองจากหลากกูรู สู่เส้นทางเป็นสุดยอด ‘ครีเอเตอร์’ ที่โตไกลระดับโลก

AIS ควงพาร์ทเนอร์ ผนึกพันธมิตร จัดเวทีเสวนา ‘Global Creator Culture Summit’ ชู ครีเอเตอร์ไทย ผู้นำการเปลี่ยนแปลงบริบทการสื่อสารระดับโลก พร้อมเปิดสูตรเด็ด เคล็ดลับ ต่อยอด อาชีพครีเอเตอร์ สู่ผู้ประกอบการให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ภายในงานเสวนา “Global Creator Culture Summit” จัดขึ้นโดย AIS และเหล่าพันธมิตร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แรงบันดาลใจ และเคล็ดลับต่อยอดความสำเร็จในการเป็นคอนเทนต์ ครีเอเตอร์ อาชีพมาแรงแห่งยุค แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเติบโตและยืนอยู่บนเวทีการแข่งขันของบรรดา ครีเอเตอร์หน้าใหม่ได้อย่างยั่งยืน

คณาธิป ธีรทีป หัวหน้าแผนกงานการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และลูกค้าโพสต์เพด AIS ให้มุมมองในหัวข้อ "ของดี ของดัง ของเอไอเอสที่จะส่งเสริม Creator ไปได้ไกล Beyond Frontier" โดยของดีของดังที่ AIS มีแน่นอนว่าคือเครือข่ายอัจฉริยะที่มีการพัฒนามาอย่างยาวนานโดยเงินลงทุนมากกว่า 30,000 ล้านบาทในแต่ละปี

เป้าหมายที่สำคัญของ AIS วันนี้ คือการเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล หรือ Digital Infrastructure ที่แข็งแกร่งให้กับประเทศตามวิสัยทัศน์การเป็น Cognitive Tech-Co หรือองค์กรเทคโนโลยีโทรคมนาคมอัจฉริยะ ที่จะส่งมอบประสบการณ์การใช้งานได้ทุกรูปแบบให้แก่ลูกค้าทุกคน ทั้งโครงข่าย 5G ที่ครอบคลุมแล้วกว่า 90% มีอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ AIS 3BB Fibre 3 มีโครงข่ายครอบคลุมถึง 13 ครัวเรือน

เปิดมุมมองจากหลากกูรู สู่เส้นทางเป็นสุดยอด ‘ครีเอเตอร์’ ที่โตไกลระดับโลก เศรษฐกิจแบ่งปันคือคำตอบ

คณาธิป ขยายความต่อไปอีกว่า การดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ Cognitive Tech-Co เพื่อส่งมอบสินค้าและบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าแล้วนั้น AIS ยังยึดมั่นในแนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปัน (ECOSYSTEM ECONOMY) ที่วันนี้ AIS มองการเติบโตของทุกภาคส่วนร่วมกัน ที่จะเอื้อต่อการเติบโตของระบบนิเวศทางเศรษฐกิจด้วย 

โดยเราให้ความสำคัญใน 4 แกนหลักที่ผสานกันอย่างเหนียวแน่นคือ 1.ครีเอเตอร์ 2.แพลตฟอร์ม 3.โครงสร้างพื้นฐาน (อินฟราสตรัคเจอร์) และ 4.คอนซูมเมอร์ 

ซึ่ง AIS มีความมุ่งมั่นที่พร้อมจะเติบโตไปพร้อมกับพาร์ทเนอร์ ได้แก่ 3 องค์ประกอบคือ 

-Digital Intelligence Infrastructure: พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอัจฉริยะ 

-Cross Industry Collaboration: เชื่อมต่อธุรกิจข้ามอุตสาหกรรม พร้อมร่วมมือกับผู้ประกอบการรายย่อยกว่า 1.8 ล้าน ร้านค้าทั่วประเทศ สร้างการเติบโตไปด้วยกัน พร้อมประโยชน์เพื่อลูกค้า

-Human Capital & Sustainability: ยกระดับขีดความสามารถด้านทุนมนุษย์ของคนไทยผ่าน Education Platform รวมถึงยังมีการนำ AI เข้ามาเป็นตัวช่วยตรวจสอบ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาอัจฉริยะแบบ Smart Diagnostics

 

เปิดมุมมองจากหลากกูรู สู่เส้นทางเป็นสุดยอด ‘ครีเอเตอร์’ ที่โตไกลระดับโลก ครีเอเตอร์-SME เคลื่อนเศรษฐกิจ

คณาธิป เปิดเผยตัวเลขจาก สำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ว่า ข้อมูลจากสถิติปี 2022 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ประกอบการรวมกันมากกว่า 3.18 ล้านราย แบ่งเป็น R-SME หรือในที่นี้คือครีเอเตอร์ราว 2.35 ล้านราย ส่วนผู้ประกอบการ SME อยู่ที่ 8.3 แสนราย โดยรายได้จาก 2 กลุ่มนี้ช่วย Contribution ให้กับประเทศกว่า 34.2% ของ GDP

แน่นอนว่า การพึ่งพาเทคโนโลยีและตัวช่วยต่างๆในโซลูชั่นกับครีเอเตอร์นั้น ที่ AIS เรามีแพ็กเกจโปรโมชัน ที่พร้อมจะยกระดับธุรกิจของผู้ประกอบการในทุกแพลตฟอร์ม ตอบโจทย์ความทุกต้องการทางธุรกิจที่หลากหลาย โดยราคาเริ่มต้นแล้วแต่ขนาดของแพ็กเกจ เพื่อช่วยเปลี่ยนครีเอเตอร์หน้าใหม่ สู่เซลเลอร์นักขายมือทอง

ในแง่ของการทำธุรกิจจะเริ่มนำโซลูชันทางการตลาดดิจิทัลเข้ามาช่วยเสริมไปกับการขยายแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจากหลากหลายมาร์เก็ตเพลส ให้กลายเป็นช่องทางใหม่ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแพคเก็จสำหรับร้านค้าที่ขายสินค้าผ่าน TikTok Shop และโปรแกรมบัญชีจาก Flow Account ที่เป็นหนึ่งใน AIS The Startup มาช่วยดูแลบัญชีฟรีสูงสุด 12 เดือนด้วย

ครีเอเตอร์ผู้สร้างรายได้ให้เศรษฐกิจ

ด้านรศ. เดวิด เครค กล่าวว่า วันนี้ครีเอเตอร์ คือ กลุ่มผู้ทรงอิทธิพล ที่เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก เพราะมีศักยภาพเป็นได้ทั้ง “แบรนด์” ด้วยตัวเอง,เป็นผู้สร้างชุมชนออนไลน์, สร้างรายได้แบบ O2O ทั้งจากพื้นที่ตัวเอง-แพลตฟอร์ม-ช่องทางอื่น และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่อุตสาหกรรมแวดล้อมอื่นๆ ได้อีกด้วย อาทิ มีพลังขับเคลื่อนการพัฒนาบริการและฟีเจอร์ต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือ ที่มีความสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม 

เปิดมุมมองจากหลากกูรู สู่เส้นทางเป็นสุดยอด ‘ครีเอเตอร์’ ที่โตไกลระดับโลก ดังนั้น นี่คือสิ่งยืนยันที่ว่า ครีเอเตอร์คือศูนย์กลางการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจของแพลตฟอร์มและ อีโคซิสเต็มส์ที่เกี่ยวข้อง คิดเป็นมูลค่าถึงประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลกโดยจากตัวอย่างของ วัฒนธรรมหว่างหง (Wanghong Culture) หรือเน็ตไอดอล ผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ของจีน ที่สร้างโซเชียลคอมเมิร์ซให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะที่จีน ไม่ว่าใครก็สามารถเป็นอินฟลูเอนเซอร์ได้

มุมมองของรศ.เดวิด เสริมว่า ครีเอเตอร์ที่จะยึดอาชีพนี้เป็นอาชีพหลักได้อย่างยั่งยืนนั้น ต้องสร้างความต่อเนื่อง ความแตกต่าง เมื่อดูจากคอนเทนต์ที่ครีเอเตอร์สร้างขึ้น ส่วนโอกาสของครีเอเตอร์ไทยนั้นมองว่าการผสมผสานวัฒนธรรมการนำเสนอคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาที่มีความแตกต่างในรูปแบบที่หลากหลาย จึงเป็นส่วนผสมสำคัญเป็นวัตถุดิบที่หยิบมาจากความเป็น Soft Power ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้คอนเทนต์ครีเอเตอร์เหล่านั้นประสบความสำเร็จได้ในเวทีโลก

เปิดมุมมองจากหลากกูรู สู่เส้นทางเป็นสุดยอด ‘ครีเอเตอร์’ ที่โตไกลระดับโลก หาจุดสมดุลของคอนเทนต์-เทคโนโลยี

อาสา ผิวขำ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ในหัวข้อ “ทิศทางและบทบาทการส่งเสริมครีเอเตอร์ไทยไปไกลระดับโลก ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีความแข็งแกร่งมาก ทั้งครีเอเตอร์ของไทยเอง และมีการเอาชาวต่างชาติเข้ามาร่วมทำครีเอทีฟคอนเทนต์โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล 

“แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ รัฐไม่ควรเป็นผู้กำกับดูแล ควรจะทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนมากกว่า เอาตัวเองออกมาและปล่อยให้กลไกของตลาดเป็นไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งจะเกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจไทยจากครีเอทีฟคอนเทนต์ทุกคน”

ปัจจุบันมีการขยายขอบเขตในอุตสาหกรรมครีเอทีฟไปสู่การข้ามอุตสาหกรรมมากขึ้น (Cross Industry) เรามีผู้ประกอบการไทยที่มี Culture Asset ที่ดี มี Creativity ที่สูง แต่ยังขาดเรื่องของความรู้ด้านเทคโนโลยี หรือเงินทุนที่จะช่วยในเรื่องการทำงาน และการหาตลาดรองรับในระดับโลก

ดังนั้น หากนำเอา Culture Asset + Creativity + Technology จะนำไปสู่ Creative Value Creation การต่อยอดสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์

เปิดมุมมองจากหลากกูรู สู่เส้นทางเป็นสุดยอด ‘ครีเอเตอร์’ ที่โตไกลระดับโลก โอกาสมีอยู่ตรงหน้าแค่ลงมือทำ

กวิน ภาณุสิทธิกร  Head of Seller Management Thailand, TikTok Shop  กล่าวว่า โอกาสของครีเอเตอร์ในการเติบโตผ่าน TikTok คือเหล่าครีเอเตอร์ต้องมองเป้าหมายเดียวกับแพลตฟอร์มที่ตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งที่ TikTok เองเราไม่ยึดว่าตัวเองคือโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์ม แต่เราจะไปสู่เอ็นเตอร์เทนเมนต์ 

เราวางสถานะตัวเองไปสู่ความเป็น ช้อปเปอร์เทนเมนต์ ความบันเทิงและการขายรวมเป็นหนึ่งเดียว

สามารถดึงให้ผู้บริโภคมาเป็น Follower ให้ได้ ซึ่งจะช่วยเปลี่ยน Creator สู่ Seller ได้ไม่ยากแค่ทุกคนลองลงมือทำ

อย่างไรก็ดี ทิศทางการทำธุรกิจร่วมกับพาร์ทเนอร์และครีเอเตอร์ที่ TikTok Shop ตั้งเป้าเป็นแพลตฟอร์มที่ผสานรวมความสนุกและมอบโอกาสทางธุรกิจให้กับอีโคซิสเต็มส์อีคอมเมิร์ซ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ร้านค้าท้องถิ่น แบรนด์สินค้าไทย ครีเอเตอร์ และผู้บริโภคชาวไทย 

ปีนี้เราตั้งเป้าร่วมผลักดัน Soft Power ความเป็นไทย ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนแปลงจากการรับชมคอนเทนต์สินค้าไปสู่การซื้อสินค้าอย่างง่ายดาย (Effortless Browse-to-Buy) ภายในแพลตฟอร์มเดียว พร้อมสนับสนุนร้านค้า ผู้ประกอบต่าง ๆ ใช้ประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มและโซลูชันอีคอมเมิร์ซเป็นช่องทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำไมครีเอเตอร์ต้องเลือก TikTok Shop โดยมี 4 เหตุผลหลัก

1. เราให้ลูกค้าตัดสินใจเอง Decentralize มากกว่าใช้ตัวชี้วัด Social Signal

2. TikTok คือ Entertainment มากกว่าเป็นเพียงโซเชียล มีเดีย

3. เน้นการขายในรูปแบบ Shoppertainmentมากกว่าเป็นเพียงแค่อีคอมเมิร์ซเพียงอย่างเดียว

4. Localization vs Global-One-Size-Fit-All ที่ TikTok เราพัฒนาบริการแบะสินค้าที่มีความ Localization ให้เข้ากับสินค้าในท้องถิ่นนั้นๆ

กวิน ทิ้งท้ายว่า คอนเทนต์จากครีเอเตอร์ที่เข้าถึงง่าย ตรงกับสไตล์ความเป็นช่องตัวเอง จะทำให้ครีเอเตอร์เจอสิ่งที่เหมาะสมในที่สุด และเมื่อผู้ขายมาพบกับผู้ซื้อ ที่ TikTok Shop ทุกอย่างเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย โดย 1.เริ่มจากไลฟ์ Streaming 2.วิดีโอสั้น 3. Tap ร้านค้า 4. มองหาโปรแกรมทางการตลาดกับพันธมิตร