คอสเพลย์&เกมไทยไปเกาฯ สวธ. ลัดฟ้าจับมือเกาหลีดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยเจนใหม่

คอสเพลย์&เกมไทยไปเกาฯ สวธ. ลัดฟ้าจับมือเกาหลีดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยเจนใหม่

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เดินหน้าเต็มกำลัง บินลัดฟ้าสู่เกาหลีใต้ แลกเปลี่ยนมุมมองพร้อมจับมือกับ Game Rating and Administration Committee (GRAC) ส่งเสริมวงการเกมไทยทั้งองคาพยพ และร่วมงาน G-STAR 2024 สุดยอดงานเกมของเกาหลีดันสตูดิโอเกมกับคอสเพลเยอร์ไทยโกอินเตอร์

เมื่อพูดถึงวงการเกมไทย ทั้งในแง่มุมของนักพัฒนา ผู้ผลิต หรือแม้กระทั่งผู้เล่น ปัจจุบันเดินหน้ามาไกลมากและมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทว่าท่ามกลางการเติบโตของวงการเกมไทย หนึ่งในประเทศที่เป็นตัวเอ้ของวงการเกมเอเชียและวงการเกมโลกอย่างประเทศเกาหลีใต้ ก็เป็นต้นแบบที่ดีที่ประเทศไทยจะได้เรียนรู้ รวมถึงการร่วมมือกันเพื่อนำองค์ความรู้กลับมายกระดับวงการเกมไทย

และอีกหนึ่งวงการที่มาคู่กันคือคอสเพลย์ ซึ่งวงการคอสเพลย์โลกต่างยอมรับกันดีว่าคอสเพลย์ไทยไม่ธรรมดา และนี่คืออีกก้าวที่คนไทยจะไปโชว์ให้โลกรู้

คอสเพลย์&เกมไทยไปเกาฯ สวธ. ลัดฟ้าจับมือเกาหลีดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยเจนใหม่

คอสเพลย์&เกมไทยไปเกาฯ สวธ. ลัดฟ้าจับมือเกาหลีดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยเจนใหม่

ล่าสุด กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ไม่รอช้า เดินหน้ารุกหนัก บินตรงสู่ประเทศเกาหลีใต้ เพื่อหารือ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสร้างความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ทั้งด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรมอันเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ทรงพลังของเกาหลี ตั้งแต่เกม, คอสเพลย์, อนิเมชัน และภาพยนตร์

ในเรื่องเกมและคอสเพลย์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมปักธงให้เป็นสองซอฟต์พาวเวอร์สำคัญของไทยในยุคใหม่ที่ควรค่าแก่การผลักดัน

คอสเพลย์&เกมไทยไปเกาฯ สวธ. ลัดฟ้าจับมือเกาหลีดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยเจนใหม่

คอสเพลย์&เกมไทยไปเกาฯ สวธ. ลัดฟ้าจับมือเกาหลีดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยเจนใหม่

'G-STAR 2024' เวทีใหญ่ที่เกม&คอสเพลย์ไทยไปเฉิดฉาย

สำหรับวงการเกมและคอสเพลย์ งาน G-STAR ที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ คือหนึ่งในงานใหญ่ระดับเมเจอร์ที่รวมสุดยอดบริษัทเกม ผู้พัฒนาเกม เหล่าเกมเมอร์ บรรดาคอสเพลเยอร์ (เลเยอร์) ทั่วทั้งเกาหลี แม้กระทั่งจากต่างประเทศก็ตบเท้าเข้าร่วมกันเนืองแน่น

ตัวแทนประเทศไทยที่ได้ไปร่วมคอสเพลย์ที่งาน G-STAR 2024 ได้แก่ ธีรวัฒน์ พันธุ (ขนม) เลเยอร์ชาวไทยผู้ชนะการประกวดคอสเพลย์ สาขา Cosplay Production Team Contest จากทีมงานเผาเราถนัด ในงาน Cosplay Art Festival (CAF 2024) ซึ่งต่อยอดมาจาก TGS Cosplay Contest ในงาน Thailand Game Show มหกรรมเกมที่ใหญ่สุดในไทย

ขนม แบกความฝันของเลเยอร์ไทยไปที่งานนี้โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม แม้ครั้งนี้จะไม่ได้ร่วมประกวดในนามทีมชาติไทย ด้วยความผิดพลาดบางประการ แต่ความเป็นเลเยอร์ตัวแม่ตัวมัมของเธอทำให้งานนี้เธอเฉิดฉายไม่แพ้เลเยอร์เกาหลีใต้และชาติอื่นๆ

นอกจากคอสเพลย์แล้ว ประเทศไทยยังมีสตูดิโอเกมและโปรดักชันหลายเจ้าเข้าร่วมงาน G-STAR 2024 ด้วย อาทิ กันตนา นี่จึงเป็นการออกไปพบปะชาวโลกที่จะสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้วงการเกมต่อไป

คอสเพลย์&เกมไทยไปเกาฯ สวธ. ลัดฟ้าจับมือเกาหลีดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยเจนใหม่

คอสเพลย์&เกมไทยไปเกาฯ สวธ. ลัดฟ้าจับมือเกาหลีดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยเจนใหม่

'GRAC' พันธมิตรใหม่วงการเกมไทย จัดเรตติงเกมอย่างไรให้ลงตัว

ทุกสื่อและความบันเทิงล้วนมีสองด้าน หากผู้เสพเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ก็ย่อมเกิดประโยชน์ ทว่าถ้าผู้เสพยังไม่เหมาะที่จะเสพสื่อหรือความบันเทิงนั้นอาจได้ผลร้ายมากกว่าผลดี ดังนั้น ระบบการจัดเรตติงจึงต้องเข้ามาเป็นตัวกำกับควบคุม อย่างในประเทศเกาหลีใต้หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้คือ Game Rating and Administration Committee (GRAC) เป็นคณะกรรมการจัดอันดับเกมในแพลตฟอร์มต่างๆ ตามช่วงอายุ ได้แก่ All, 12, 15 และ 19 ไล่เรียงมาตามความเฉพาะกลุ่มจากเกมที่เล่นได้ทุกคนทุกช่วงวัยไปจนถึงไปจนถึงเกมสำหรับผู้ใหญ่ (19+)

นอกจากนี้ที่เกาหลียังมี Game Industry Promotion Act ที่เปิดโอกาสให้จัดตั้ง Independent Rating Classification Business Entities (IRCB) หรือหน่วยงานที่จัดอันดับเกมเองได้ คราวละ 3 ปี โดยจัดเรตเกมได้ตั้งแต่ All, 12 และ 15 เท่านั้น หากเป็นเกมที่เรตสูงกว่า 15 จะจัดเรตเองไม่ได้ ต้องกลับมาที่ GRAC โดยปริยาย

ปัจจุบันมีองค์กรที่จัดอยู่เรตเกมเองได้ 10 แห่ง ซึ่งใช้มาตรฐานเดียวกับ GRAC หรือ GRAC-IARC หรือมาตรฐานที่กำหนดขึ้นภายใต้การตกลงร่วมกันกับ GRAC ทำให้ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานใดจัดเรตติงเกมในเกาหลีใต้ก็จะได้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด

คอสเพลย์&เกมไทยไปเกาฯ สวธ. ลัดฟ้าจับมือเกาหลีดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยเจนใหม่

คอสเพลย์&เกมไทยไปเกาฯ สวธ. ลัดฟ้าจับมือเกาหลีดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยเจนใหม่

ที่ไทยก็มีการจัดเรตติงเกมเช่นกัน แต่ด้วยความเข้มแข็งของระบบการจัดเรตติงเกมของเกาหลีทำให้ สวธ. เข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ GRAC อย่างเข้มข้น จนได้ข้อสรุปว่าจะเกิดความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานด้านนี้ของทั้งสองประเทศ โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมจะสานต่อองค์ความรู้ที่ได้รับเป็นการฝึกอบรมให้เจ้าหน้าที่ไทยในนามความร่วมมือกับ GRAC

รวมทั้งความเป็นไปได้ที่ สวธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากฝั่งไทยจะเข้าร่วม Roundtable Conference ซึ่ง GRAC เป็นเจ้าภาพเพื่อสร้างพันธมิตรและความร่วมมือในการจัดเรตเกมในเอเชียด้วย

จากการเดินหน้าบุกแดนกิมจิของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมครั้งนี้ ก่อให้เกิดความร่วมมือด้านต่างๆ มากมาย ทั้งที่เกิดขึ้นทันทีและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นล้วนเป็นบันไดสู่การเติบโตของวงการเกมและคอสเพลย์ซึ่งเป็นซอฟต์พาวเวอร์ยุคใหม่ของไทยทั้งสิ้น