นโยบาย ‘สหรัฐ’ ลดพึ่งพาจีน กดดันอเมริกัน แบกรับต้นทุนสูงขึ้น
นับตั้งแต่สหรัฐ มีนโยบายออกห่างจีน ทั้งในสมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ต่อเนื่องถึงโจ ไบเดน หวังลดพึ่งพาห่วงโซ่อุปทาน แต่ผลลัพธ์กลับแตกต่างไป แถมผู้บริโภคเผชิญต้นทุนสูงขึ้น
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในงานสัมมนาทางเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการประชุมประจำปีที่เมืองแจ็กสันโฮล รัฐไวโอมิง ได้มีการนำเสนอรายงานของ ลอรา อัลฟาโร นักเศรษฐศาสตร์โรงเรียนธุรกิจฮาร์วาร์ด และเดวิด ชอร์ รองศาสตราจารย์โรงเรียนธุรกิจทักค์ แม้จะมีความกังวลว่าโลกาภิวัตน์จะชะลอตัวลง หลังการแพร่ระบาดโควิด-19 และรัสเซียรุกรานยูเครน แต่ภาพรวมการค้าของสหรัฐ “ยังคงทรงตัวต่ำ กว่า 60%" ของจีดีพีโลก
แต่ภาษีศุลกากรของสหรัฐที่กำหนดขึ้นสำหรับสินค้าจีน รวมถึงนโยบายอุตสาหกรรมที่ประกาศใช้เมื่อเร็วๆนี้ เหมือนจะส่งผลกระทบให้เกิดการจัดสรรครั้งใหญ่ ในระบบห่วงโซ่อุปทานของสหรัฐที่ต้องลดการนำเข้าสินค้าจากจีนลงจาก 21.6% ในปี 2559 เหลืออยู่ที่ 16.5% ในปีที่แล้ว
กลับกลายว่า สหรัฐต้องเจอสิ่งที่ไม่แน่นอนกว่านั้น เมื่อลดนำเข้าจากจีน ได้ทำให้ราคาสินค้าในสหรัฐเพิ่มสูงขึ้น
“เรายังไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่า ส่วนแบ่งลดการนำเข้าของสหรัฐ จะช่วยลดการส่งออกของจีน และพอทำให้มีผลต่อการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของสองประเทศ” รายงานระบุ
ทั้งนี้ รายงานไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ระหว่างนี้ได้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วย
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนเวียดนามและเม็กซิโกจะยึดครองพื้นที่การค้าที่จัดสรรใหม่ได้มากขึ้น ขณะที่ยอดการซื้อสินค้าแปรรูปของสหรัฐ มากกว่าสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ สิ่งนี้ได้บ่งชี้การฟื้นตัวบางประการของระบการผลิตในสหรัฐ