ผลการเลือกตั้งสหรัฐจะส่งผลต่อจีนอย่างไร?

ผลการเลือกตั้งสหรัฐจะส่งผลต่อจีนอย่างไร?

การเลือกตั้งผู้นำสหรัฐที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้จะนำ ไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับจีนหรือจะขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น รวมทั้งวิกฤติโลกร้อน วิกฤติด้านมนุษยธรรมจะดำเนินต่อไปอย่างไร

ลีส ดูเซต์ หัวหน้าผู้สื่อข่าวต่างประเทศบีบีซี สอบถามผู้สังเกตการณ์เพื่อสะท้อนถึงผลที่ตามมาในระดับโลกของการเลือกตั้งครั้งสำคัญนี้

รานา มิตเทอร์ นักวิชาการด้านจีน กล่าวถึงการที่อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เสนอขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนทั้งหมดถึง 60 %ว่า “ช็อกครั้งใหญ่ที่สุดต่อเศรษฐกิจโลกในรอบหลายทศวรรษ” การสร้างต้นทุนที่สูงลิ่วให้กับจีนและคู่ค้าทางการค้าอื่นๆ ถือเป็นภัยคุกคามที่สุดประการหนึ่งของทรัมป์ภายใต้แนวทาง “อเมริกาต้องมาก่อน” ของเขา แต่ทรัมป์ยังปลาบปลื้มกับความสัมพันธ์ส่วนตัวที่แน่นแฟ้นระหว่างเขากับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เขาบอกกับคณะบรรณาธิการของวอลล์สตรีทเจอร์นัลว่า จะไม่ต้องใช้กำลังทหารหากปักกิ่งปิดล้อมไต้หวัน เพราะผู้นำจีน “เคารพผม และเขารู้ว่าผมบ้า”

 ทั้งผู้นำพรรครีพับลิกันและเดโมแครตต่างก็มีท่าทีแข็งกร้าว ทั้งสองพรรคเห็นว่าปักกิ่งมุ่งมั่นที่จะแซงหน้าอเมริกาเพื่อเป็น มหาอำนาจที่สำคัญที่สุด

 แต่มิตเตอร์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่ง ประธาน ST Lee Chair ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและเอเชียแห่งมหาวิทยาลัย Harvard's Kennedy School เห็นความแตกต่างบางประการ โดยเขากล่าวว่าในกรณีของรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส “ความสัมพันธ์น่าจะพัฒนาไปในลักษณะเส้นตรงจากที่เป็นอยู่ตอนนี้” หากทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง สถานการณ์จะ “ไม่แน่นอน” มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ในกรณีของไต้หวัน มิตเตอร์ชี้ ถึงความไม่ชัดเจนของทรัมป์เกี่ยวกับการที่เขาจะออกมาปกป้องเกาะที่อยู่ห่างจากอเมริกาหรือไม่

ผู้นำจีนเชื่อว่าทั้งแฮร์ริสและทรัมป์จะเข้มงวดกับจีน มิตเตอร์มองว่า “กลุ่มชนชั้นปกครองส่วนหนึ่งของจีนชอบแฮร์ริสมากกว่า ‘คู่ต่อสู้ที่คุณรู้จักดีกว่า’ แต่คนกลุ่มเล็กๆมองว่า ทรัมป์เป็นนักธุรกิจที่คาดเดาไม่ได้ จีนอาจจะต่อรองกับเขาได้ดี แต่อย่างไรก็ตามดูไม่น่าจะเป็นไปได้”

  •  วิกฤติสภาพภูมิอากาศ

“การเลือกตั้งสหรัฐไม่เพียงแต่ส่งผลอย่างมากต่อคนอเมริกันเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงทั้งโลกด้วย เนื่องจากวิกฤติสภาพอากาศและธรรมชาติเป็นเรื่องที่เร่งด่วน” แมรี โรบินสัน ประธานกลุ่มเอลเดอร์ส ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำโลกที่ก่อตั้งโดยเนล สัน แมนเดลา อดีตประธานาธิบดีไอร์แลนด์ และข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าว

 นางโรบินสันย้ำว่า “ทุกเสี้ยวการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิมีความสำคัญในการป้องกันผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของการ เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและป้องกันอนาคตที่พายุเฮอริเคนที่รุนแรงอย่างมิลตันจะเกิดขึ้นเป็นปกติ”

แต่ขณะที่พายุเฮอริเคนมิลตันและเฮลีนโหมกระหน่ำ ทรัมป์กลับเยาะเย้ยแผนและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในการรับมือกับวิกฤติสภาพอากาศครั้งนี้ว่าเป็น “กลลวงที่ใหญ่ที่สุดครั้ง หนึ่งในประวัติศาสตร์” หลายคนคาดว่า ว่าเขาจะให้สหรัฐ ถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีสว่าด้วยสภาพอากาศในปี 2015 เช่นเดียวกับที่เขาทำในวาระแรกของเขา

 อย่างไรก็ตาม นางโรบินสันเชื่อว่าทรัมป์ไม่สามารถหยุดยั้งกระแสที่กำลังแรงขึ้นในขณะนี้ได้ “เขาไม่สามารถหยุดยั้งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของสหรัฐ และยกเลิกการอุดหนุนธุรกิจสีเขียวมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ได้ และเขาไม่ สามารถหยุดยั้งขบวนการการเคลื่อนไหวด้านสภาพอากาศที่ไม่ขึ้นกับรัฐบาลกลางที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยได้”

เธอยังเรียกร้องให้แฮร์ริสซึ่งยังคงไม่มีจุดยืนที่ชัดเจนให้ก้าวขึ้นมา “เพื่อแสดงความเป็นผู้นำ สร้างแรงผลักดันต่อจาก กระแสในช่วงไม่กี่ปีนี้ และกระตุ้นให้ผู้ปล่อยมลพิษรายใหญ่ อื่นๆ ต้องเร่งดำเนินการ”

  • ความเป็นผู้นำด้านมนุษยธรรม

 “ผลของการเลือกตั้งสหรัฐมีความสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาถึงอิทธิพลที่ไม่มีใครเทียบได้ที่สหรัฐมี ไม่เพียงแต่ในด้านกำลังทหารและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังรวมถึง ศักยภาพในการเป็นผู้นำด้วยอำนาจทางศีลธรรมบนเวทีโลก”

มาร์ติน กริฟฟิธส์ ผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งที่มากประสบการณ์ และอดีตรองเลขาธิการสหประชาชาติด้านกิจการมนุษยธรรม และผู้ประสานงานบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินกล่าว

เขาเห็นว่า แสงสว่างจะมากกว่านี้หากแฮร์ริสได้รับชัยชนะ และเขากล่าวว่า “การกลับคืนสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของทรัมป์ที่มุ่งใช้นโยบายโดดเดี่ยวและการกระทำฝ่ายเดียวแทบจะไม่ได้ช่วยอะไรเลย นอกจากการทำให้ปัญหาความไม่

มั่นคงระดับโลกรุนแรงยิ่งขึ้น”

แต่เขาก็วิพากษ์วิจารณ์การบริหารของไบเดน-แฮร์ริสเช่นกัน โดยอ้างถึงความ “ลังเล” ต่อสถานการณ์ที่เลวร้ายลงใน ตะวันออกกลาง

 บรรดาผู้บริหารองค์กรบรรเทาทุกข์เคยประณามการโจมตีที่โหดร้ายของกลุ่มฮามาสต่อพลเรือนชาวอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมหลายครั้ง แต่พวกเขายังเรียกร้องให้สหรัฐดำเนินการมากกว่านี้เพื่อยุติความทุกข์ทรมานอันแสนสาหัสของ พลเรือนในฉนวนกาซาและในเลบานอนอีกด้วย

 ไบเดนและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเขาเรียกร้องให้ส่งความช่วยเหลือเพิ่มเติมไปยังฉนวนกาซา แต่บรรดาผู้วิจารณ์กล่าวว่า ความช่วยเหลือและแรงกดดันนั้นไม่เคยเพียงพอ คำเตือนล่าสุดที่ว่าความช่วยเหลือทางทหารที่สำคัญบางส่วนอาจถูก ตัดออกไป ทำให้ต้องเลื่อนการตัดสินใจออกไปจนกว่าจะถึงการเลือกตั้งสหรัฐ

สหรัฐเป็นผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดให้กับองค์การสหประชาชาติ ในปี 2022 สหรัฐบริจาคเงินสูงทำสถิติ 18,100 ล้านดอลลาร์ แต่ในวาระแรกของทรัมป์ เขาตัดเงินทุนสำหรับหน่วยงานของ สหประชาชาติหลายแห่งและถอนตัวออกจากองค์การอนามัย โลก ผู้บริจาครายอื่นๆ พยายามเติมเต็มช่องว่างดังกล่าว ซึ่งเป็นสิ่งที่ทรัมป์ต้องการให้เกิดขึ้น

แต่กริฟฟิธส์ยังคงเชื่อว่าอเมริกาเป็นมหาอำนาจที่ขาดไม่ได้ “ในช่วงเวลาที่มีความขัดแย้งและความไม่แน่นอนทั่วโลก โลกปรารถนาให้สหรัฐก้าวขึ้นมาเผชิญกับความท้าทายของ ผู้นำที่มีความรับผิดชอบและมีหลักการ  เราเรียกร้องมากขึ้น เราสมควรได้รับมากขึ้น และเรากล้าที่จะหวังมากขึ้น”