ออสเตรเลีย-ไทย เส้นทางร่วมสู่การค้าและการลงทุนที่แน่นแฟ้น

ออสเตรเลีย-ไทย เส้นทางร่วมสู่การค้าและการลงทุนที่แน่นแฟ้น

ดร.แอนเจลา แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย นำเสนอบทความพิเศษ สรุปภาพรวมการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับออสเตรเลีย ในช่วงที่ผ่านมาหลังเปิดตัวยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สู่ ปี พ.ศ.2583

นับเป็นปีที่ออสเตรเลียและไทยมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ด้วยมูลค่าการค้าแบบสองทางในปัจจุบันสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 30,800 ดอลลาร์ออสเตรเลีย

ตั้งแต่เปิดตัวยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สู่ ปี พ.ศ.2583 เมื่อปีที่แล้ว ทั้งออสเตรเลียและไทยได้มุ่งเน้นการเร่งและใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

เรากำลังทำงานร่วมกันเพื่อขยายการลงทุนโดยสร้างความตระหนักในด้านโอกาสต่าง ๆ ในตลาดของเราให้แก่ธุรกิจและขจัดอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการค้าเพิ่มขึ้น

ส่วนหนึ่งของความพยายามเหล่านี้คือการนำคณะผู้แทนธุรกิจและการลงทุนจากออสเตรเลียมาเยือนไทยและภูมิภาคนี้เพื่อให้พวกเขาคุ้นเคยกับตลาดและเน้นย้ำถึงโอกาสทางการค้าที่หลากหลายกับพวกเขา

ในปีนี้มีคณะผู้แทนทางการค้าเดินทางเยือนไทยแล้ว 5 คณะ เพื่อสำรวจโอกาสในภาคธุรกิจฟินเทค ธุรกิจดิจิทัล เศรษฐกิจ Bio-Circular-Green และการผลิตขั้นสูง ซึ่งถือเป็นภาคธุรกิจที่เราเห็นว่าเติบโตและสำคัญต่อการเร่งความร่วมมือระหว่างออสเตรเลียและไทย คณะนักธุรกิจออสเตรเลียได้เห็นการค้าที่มีพลวัตและรุ่งเรืองขับเคลื่อนด้วยนักธุรกิจที่มองไกลถึงอนาคตและคล่องแคล่วด้านเทคโนโลยี พวกเขายังได้เข้าร่วมงานด้านนวัตกรรมใหญ่ ๆ ในกรุงเทพฯ อาทิงาน Money20/20 งาน Techsauce Global Summit และงาน Sustainability Expo ที่บริษัทออสเตรเลียได้นำเสนอศักยภาพและเชื่อมโยงกับธุรกิจไทย ออสเตรเลีย-ไทย เส้นทางร่วมสู่การค้าและการลงทุนที่แน่นแฟ้น

ในเดือนกันยายน รัฐมนตรีช่วยด้านการค้าออสเตรเลีย นายทิม แอรส์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสุชาติ ชมกลิ่น ร่วมเป็นประธานการประชุมยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจครั้งแรกระหว่างไทยและออสเตรเลียในกรุงเทพฯ โดยหารือถึงวิธีเร่งความร่วมมือทางการค้าผ่านการเจรจาระหว่างหน่วยงานด้านการลงทุนของทั้งสองประเทศ ความสนใจที่มีร่วมกันต่อระบบการค้าแบบเปิดกว้าง และวิธีที่เราจะใช้โอกาสร่วมกันในการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสีเขียว

ออสเตรเลีย-ไทย เส้นทางร่วมสู่การค้าและการลงทุนที่แน่นแฟ้น

นายปีเตอร์ ฟ็อกซ์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทลินฟ็อกซ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำภาคธุรกิจออสเตรเลียในประเทศไทยในระหว่าง การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย สมัยพิเศษ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นายฟ็อกซ์นำสองคณะผู้แทนการค้าออสเตรเลียเยือนไทย และยังคงพูดคุยกับภาคธุรกิจของออสเตรเลียเพื่อให้เล็งเห็นถึงศักยภาพในไทย ซึ่งนายฟ็อกซ์ทราบดีอยู่แล้วเพราะบริษัทลินฟ็อกซ์จ้างงานกว่า 24,000 คนใน 10 ประเทศ และไทยเป็นตลาดธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปีพ.ศ. 2567 นี้ คณะเจรจาด้านการลงทุนออสเตรเลียได้ถูกจัดตั้งขึ้นและเดินทางมากรุงเทพฯ โดยเน้นเชื่อมโยงนักลงทุนชาวออสเตรเลียกับโครงการต่าง ๆ และหุ้นส่วนที่มีศักยภาพ คณะนักลงทุนออสเตรเลียได้เดินทางไประเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เชื่อมโยงกับบริษัทออสเตรเลียที่ได้จัดตั้งในไทยแล้วเพื่อเรียนรู้ว่าจะสามารถเข้ามาดำเนินการในภูมิภาคที่กำลังเติบโตนี้ได้อย่างไร นักธุรกิจยังได้พูดคุยกับผู้แทนจากรัฐบาลไทยในด้านแรงจูงใจเพื่อดึงดูดการลงทุนที่มีคุณภาพจากต่างประเทศในภาคอุตสาหกรรมสำคัญ

ออสเตรเลีย-ไทย เส้นทางร่วมสู่การค้าและการลงทุนที่แน่นแฟ้น

เราต้องการเอื้อให้บริษัทไทยไปลงทุนในออสเตรเลียได้ง่ายยิ่งขึ้นเช่นกัน การลงทุนนี้เป็นการต่อยอดจากการลงทุนสำคัญ ๆ ที่มีอยู่เดิมแล้วในภาคพลังงานหมุนเวียน งานบริการ และอสังหาริมทรัพย์ อาทิ ราชกรุ๊ป ไมเนอร์อินเตอร์เนชั่นแนล และศุภาลัย

สำหรับนักธุรกิจชาวไทย ออสเตรเลียได้เพิ่มระยะเวลาวีซ่าประเภท “Business Visitor Visa” เป็นถึงห้าปี (จากสามปี) และยังขยายวีซ่า “Frequent Traveller stream” ที่มีระยะเวลา 10 ปีให้ครอบคลุมคนไทยซึ่งจะมีผลบังคับใช้เร็ว ๆ นี้ นอกจากนี้เรากำลังพัฒนา “Front Door” ใหม่ที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อเดียวสำหรับนักลงทุนและบริษัทที่มีข้อเสนอการลงทุนขนาดใหญ่

ออสเตรเลียต้องการเป็นหุ้นส่วนหลักของไทยในความมุ่งมั่นที่จะเติบโต รวมถึงการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD ของไทย เรามีความสามารถ ทักษะ สินค้า บริการ และเงินทุนเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตระยะยาวที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับผลประโยชน์อย่างยั่งยืน ออสเตรเลีย-ไทย เส้นทางร่วมสู่การค้าและการลงทุนที่แน่นแฟ้น

เมื่อเรามองไปถึงปีหน้า ในวาระครบรอบ 20 ปีความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) นี้เราจะได้เห็นการดำเนินการตามพันธกรณีใน TAFTA อย่างเต็มรูปแบบ นับเป็นก้าวสำคัญเนื่องจากความตกลงนี้ได้ยกเว้นภาษีแทบทุกประเภทระหว่างสองประเทศของเรา และมูลค่าการค้ารูปแบบสองทางระหว่างเราก็ได้เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าตั้งแต่มีการบังคับใช้มา การลดมาตรการทางภาษีได้ปลดล็อกโอกาสด้านการส่งออกให้ธุรกิจต่าง ๆ และทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าในราคาที่ถูกลงและมีทางเลือกด้านคุณภาพมากขึ้น ความตกลงนี้ทำให้บนท้องถนนในออสเตรเลียมีรถยนต์ที่ผลิตในไทยเพิ่มมากขึ้นและบนโต๊ะอาหารไทยก็มีผลผลิตคุณภาพสูงและไวน์จากออสเตรเลีย

“เรามีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งให้ต่อยอด ผ่านการทำงานร่วมกัน ภาคเอกชนและภาครัฐบาลของเราจะสามารถสร้างอนาคตที่รุ่งเรืองร่วมกันได้ มีโอกาสแบบสองทางสำหรับสองประเทศเราที่น่าตื่นเต้นอีกมากมาย มาร่วมกันเปิดรับโอกาสเหล่านี้ด้วยความมั่นใจและมุ่งมั่นกันค่ะ”