คลายมนต์ขลัง! 'ญี่ปุ่น' ส่อหลุดประเทศยอดฮิตแรงงานต่างชาติ
คลายมนต์ขลัง! 'ญี่ปุ่น' ส่อหลุดประเทศยอดฮิตแรงงานต่างชาติ ขณะที่แรงงานต่างชาติรุ่นใหม่ที่โครงการ"แคร์ ซัพพอร์ต"มีแผนจะว่าจ้างกลับมาทำงานไม่สามารถเข้าญี่ปุ่นได้เพราะการระบาดของโรคโควิด-19
ตอนนี้มีกระแสวิตกกังวลในญี่ปุ่นมากขึ้นว่าแรงานต่างชาติที่ทำงานในวิชาชีพต่างๆจำเป็นต้องหางานอื่นทำในอนาคตอันใกล้แม้ว่าญี่ปุ่นจะเป็นประเทศยอดนิยมในการเข้ามาหารายได้ของเหล่าแรงงานอพยพจากประเทศต่างๆก็ตาม
ความน่าดึงดูดใจในการเข้ามาทำงานในญี่ปุ่นจะเริ่มลดลงหากว่าหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจนอกจากนี้ การแข่งขันเกณฑ์แรงงานมีทักษะ ความชำนาญกับจีน ประเทศเศรษฐกิจใหญ่สุดอันดับ2 ที่ขณะนี้กำลังเจอปัญหาประชากรเกิดใหม่ลดลง ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่หนุนให้ความน่าดึงดูดใจของญี่ปุ่นในฐานะแหล่งขุดทองของแรงงานต่างชาติลดลง
แม้ญี่ปุ่นยังคงลังเลใจที่จะรองรับผู้อพยพ แต่ก็มีโครงการฝึกอบรมวิชาชีพทางด้านเทคนิคให้แก่แรงงานต่างชา่ติแต่ระบบการฝึกอบรมการทำงานมักถูกตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน จึงไม่ชัดเจนว่าญี่ปุ่นยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่ดึงดูดใจของบรรดาแรงงานต่างชาติต่อไปหรือไม่
"หายใจเข้า หายใจออก" โด ธิ ไห่ ธู หญิงชาวเวียดนามวัย 22 ปีที่อยู่ในโครงการฝึกอบรมวิชาชีพทางด้านเทคนิค กล่าวขณะนำการออกกำลังกายให้แก่ผู้อยู่อาศัย8 คนในสถานดูแลผู้สูงวัยในโซกะ จังหวัดไซตามะ กล่าวพร้อมเสริมว่า ตอนมาถึงญี่ปุ่นใหม่ๆเมื่อสองปีก่อน มีปัญหากับการพูดภาษาญี่ปุ่นมากแต่ตอนนี้เธอสามารถให้คำแนะนำแก่คนงานใหม่ด้วยภาษาญี่ปุ่นได้อย่างดี
“ฉันอยากทำงานในญี่ปุ่นต่อแม้ว่าโครงการฝึกอบรมวิชาชีพนี้จะปิดคอร์สแล้วก็ตาม” หญิงชาวเวียดนาม กล่าว
โครงการแคร์ ซัพพอร์ตในจังหวัดไซตามะ ซึ่งบริหารจัดการด้านที่พักอาศัยและสถานดูแลด้านต่างๆเริ่มจ้างแรงงานหนุ่มสาวจากเวียดนามและประเทศอื่นๆตั้งแต่ปี 2562 จนปัจจุบัน มีแรงงานต่างชาติ 13 คนในโครงการฝึกอบรมวิชาชีพ หรือฝึกอบรมแรงงานมีทักษะเฉพาะด้านเพื่อได้ฐานะพลเมืองญี่ปุ่น
แต่แรงงานต่างชาติรุ่นใหม่ที่โครงการแคร์ ซัพพอร์ตมีแผนจะว่าจ้างกลับไม่สามารถเข้าญี่ปุ่นได้เพราะการระบาดของโรคโควิด-19
“สถานดูแลผู้สูงวัยทุกแห่งในญี่ปุ่น กำลังต่อสู้กับปัญหาขาดแคลนแรงงานเรื้อรังเราต้องการจ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาร่วมงานด้วยโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” เจ้าหน้าที่บริษัทที่ทำธุรกิจบริหารสถานดูแลผู้สูงวัยแห่งหนึ่งกล่าว
“โชเฮอิ สุกิตะ” นักกฏหมายที่คุ้นเคยกับปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานต่างชาติ กล่าวว่า นับตั้งแต่ช่วงปี2533 จำนวนคนที่เข้ามาในตลาดแรงงานลดลงเรื่อยๆหลังจากเรียนจบ โดยมีเพียง 180,000 คนเมื่อปีที่แล้ว ลดลง30% จากจำนวน 600,000 คนในปี 2533 และรัฐบาลญี่ปุ่นขยายช่วงเวลาการรับแรงงานต่างชาติไม่มีทักษะความชำนาญแต่ขณะเดียวกันก็ยังคงปิดประตูตายสำหรับผู้อพยพที่คาดหวังว่าจะเข้ามาญี่ปุ่นเพื่อให้ได้สิทธิพลเมืองถาวร
ญี่ปุ่นได้สร้าง“สถานภาพพลเมืองถาวร”ในกฏหมายควบคุมผู้อพยพฉบับปรับปรุงใหม่ที่มีผลบังคับใช้ในปี 2533 ส่งผลให้มีชาวญี่ปุ่นเชื้อสายบราซิล และแรงงานจากชาติอื่นๆเข้ามาทำมาหากินในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
ส่วนโครงการฝึกอบรมวิชาชีพเริ่มเปิดตัวในปี 2536เพื่อรับแรงงานไม่มีทักษะความชำนาญจากประเทศต่างๆในเอเชียบนพพื้นฐานที่ว่าแรงงงานเหล่านี้จะนำทักษะความชำนาญที่ได้รับการอบรมจากญี่ปุ่นไปพัฒนาประเทศของตัวเอง
ข้อมูลจากกระทรวงสุขภาพแรงงานและสวัสดิการสังคมญี่ปุ่นระบุว่า แรงงานต่างชาติในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 1.72 ล้านคนภายในปี 2563 จากปี 2536 ที่มีประมาณ 600,000 คน รวมทั้งแรงงานผิดกฏหมาย ส่วนแรงงานต่างชาติที่ทำงานภายใต้โครงการฝึกอบรมวิชาชีพมีประมาณ 378,000 คนนับจนถึงปลายปี 2563 เพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่าจากเมื่อ 5 ปีก่อน แม้ว่าการระบาดของโรคโควิด-19 จะทำให้จำนวนแรงงานต่างชาติในญี่ปุ่นไม่เพิ่มขึ้นเลย