คนไทยกับซอฟท์พาวเวอร์ และการสร้าง Thai Soft Power ในมุมมองใหม่

คนไทยกับซอฟท์พาวเวอร์ และการสร้าง Thai Soft Power ในมุมมองใหม่

เปิดมุมมอง คนไทยกับซอฟท์พาวเวอร์ และการสร้าง Thai Soft Power ในมุมมองใหม่

ประชาชนคิดอย่างไรกับนโยบาย Soft Power ล่าสุด “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,066 คน ระหว่างวันที่ 13-16 มิถุนายน 2565 พบว่า ประชาชนมองว่าการผลักดันนโยบาย Soft Power ของไทยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ 

  • Soft Power ที่ควรส่งเสริม คือ ท่องเที่ยวไทย เทศกาล ประเพณีไทย รองลงมา คือ อาหารไทย ขนมไทย
  • คาดว่า Soft Power น่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้นได้
  • จุดเด่นของ Soft Power ไทย คือ หลากหลาย โดดเด่น มีเอกลักษณ์ของตนเอง
  • ปัญหาและอุปสรรค คือ รัฐบาลผลักดันไม่เพียงพอ ขาดการส่งเสริมในระยะยาว โดยอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญ วางแผนระยะยาว ทำอย่างต่อเนื่อง

จากผลการสำรวจประชาชนเห็นถึงโอกาสจาก Soft Power ว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนคาดหวังว่า Soft Power จะเข้ามาช่วยฟื้นเศรษฐกิจไทยได้ และยังมองว่าศักยภาพที่มีอยู่มากของ Soft Power ไทยนี้รัฐบาลยังผลักดันไม่เพียงพอ

ดังนั้นภาครัฐจึงควรร่วมมือกับหลาย ๆ ฝ่าย กำหนดแผนระยะยาว ไม่เน้นเพียงแค่การอนุรักษ์รักษา แต่ต้องกล้าที่จะแตกต่าง ส่งเสริมในความหลากหลาย เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์และทันกระแสตลาดโลก
 

คนไทยกับซอฟท์พาวเวอร์ และการสร้าง Thai Soft Power ในมุมมองใหม่

สำหรับผู้เขียนเชื่อเช่นกันว่า คนไทยเข้าใจความสำคัญของซอฟต์พาวเวอร์ สังเกตได้จากในสื่อสังคมโซเชียล ผู้คนส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นไปในทางบวกกรณีสินค้าไทย ศิลปินไทย แฟชั่นไทย แหล่งท่องเที่ยวไทย และภาพยนตร์ไทยถูกชื่นชมหรือเผยแพร่บนเวทีระดับโลก และถูกสื่อต่างประเทศนำเสนอ

ขณะเดียวกัน ยังมีแง่มุมอื่น ๆ ที่ซ่อนอยู่ในสังคมไทยที่น่าสนใจเป็น Thai Soft Power เกี่ยวกับศาสนา ผศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้คำปรึกษาเรื่องการทำคอนเทนต์ด้านพุทธศาสนาที่กำลังดำเนินการ คำแนะนำอาจารย์เปิดโลกทัศน์มากมาย ครอบคลุมการทำความเข้าใจแนวทางพุทธในมิติวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และจิตใจ (ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์, 2565)  งานเกี่ยวกับการบำบัดด้วยสมาธิ Green Buddhism เป็นต้น อาจารย์ยังโยงไปเรื่องเครื่องรางของขลัง เดิมทีสิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีไว้เพื่อสนองความเชื่อเรื่องอำนาจวิเศษ แต่เป็นเครื่องมือทางการศึกษาสำหรับคนยุคเก่าที่เข้าใจธรรมยาก เรื่อง soft power ด้วย มันมีหลายระดับ ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องมูลค่าอย่างเดียว soft power สามารถไปลึกถึงเรื่องคุณค่า เช่น อังกฤษที่ขายความเป็นชาติแห่งปัญญาและที่มาความรู้ 

อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเชื่อว่า การทำงานวิจัยหรือเนื้อหาเกี่ยวกับซอฟท์พาวเวอร์ในเชิงวัฒนธรรม ศิลปะ และศาสนา จะช่วยเสริมและแตกประเด็นให้ประชาชนนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้ อยู่ที่ภาครัฐและเอกชนจะเกื้อหนุนให้ประเด็นเหล่านี้ให้ก้าวหน้าได้รวดเร็วได้อย่างไร.