รับมือไข้หวัดนก  ผลิตวัคซีนอุตสาหกรรม

รับมือไข้หวัดนก  ผลิตวัคซีนอุตสาหกรรม

ปีนี้องค์การอนามัยโลก (WHO)มีการยกระดับไข้หวัดนก เนื่องจากการติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วโลกในปี 2567 สูงขึ้น และผู้ป่วยที่สหรัฐอเมริกา  66 รายอาการไม่หนัก ส่วนหนึ่งเป็นเกษตรกรอยู่ในฟาร์มโคนม ไม่ได้สัมผัสแต่สัตว์ปีก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและมาจากสายพันธุ์ที่พบในโคนม

ขณะที่สายพันธุ์ที่พบในนกป่าอพยพทำให้เกิดอาการรุนแรง 2 ราย คือผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี 

มีโรคประจำตัว มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกหลังบ้านและนกป่าในรัฐลุยเซียนา ได้รับรายงานผู้ป่วยในเดือนธันวาคม 2567 และเสียชีวิตอีกรายเป็นผู้ป่วยวัยรุ่นในรัฐบริติชโคลัมเบีย แคนาดา ปัจจุบันกำลังฟื้นตัวหลังจากรักษาในห้องไอซียู ทั้งนี้ ยังคงพบการระบาดในสัตว์ปีกอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เช่น แมวบ้าน แมวป่า สุนัขจิ้งจอก แรคคูน ด้วย ซึ่งเป็นมีสัญญาณที่ต้องระวังเข้มคนที่เดินทางกลับจากอเมริกาเข้ามายังประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยแม้จะยังไม่พบการระบาดของโรคไข้หวัดนก H5N1  แต่มีการเฝ้าระวังทั้งในคนและในสัตว์อย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One health) ส่วนประชาชนแนะนำให้รับประทานอาหารที่ปรุงสุก หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีก สุกร หรือโคนมที่ป่วยหรือตายหากต้องสัมผัสสัตว์ปีก สุกร หรือโคนมควรสวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ และล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัส หากพบสัตว์ปีกป่วยตายจำนวนมากควรรีบ แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ ไม่นำซากสัตว์ปีกหรือสัตว์ที่ป่วยตายไม่ทราบสาเหตุไปประกอบอาหาร

ล่าสุดองค์การเภสัชกรรม เตรียมความพร้อมแผนขยายกำลังการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ (H5N2) ชนิดเชื้อเป็น (Fluvac H5) ณ โรงงานวัคซีนและชีววัตถุ ในการผลิตวัคซีนในระดับอุตสาหกรรม เพื่อขอรับใบอนุญาตในระดับอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาการผลิตวัคซีนให้สอดคล้องกับมาตรฐานปัจจุบัน   และจะดำเนินการผลิตวัคซีนจำนวน 100,000 - 400,000 โดส/ปี รองรับการระบาดของโรคไข้หวัดนกในสถานการณ์ฉุกเฉินเตรียมเปิดสายการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับป้องกันโรคไข้หวัดนกในเดือนมีนาคม 2568การผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกในเดือนมีนาคมนี้ จะเป็นสายพันธุ์ H5N2 ประมาณเดือนพฤษภาคม 2568 คาดว่าทันสถานการณ์ ช่วงพีคจะประมาณเข้าฤดูฝน เดือนมิถุนายน กรกฎาคม เบื้องต้นจะผลิต 2 แสนโดสหากในอนาคตเกิดการเปลี่ยนสายพันธุ์ระบาดขึ้นมามาก อภ.ก็สามารถปรับเปลี่ยนการผลิตได้

การระบาดของโรคไข้หวัดนก (Avian influenza, AI) สายพันธุ์ A (H5) เกิดจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ในสัตว์ปีก และสามารถแพร่จากสัตว์ปีกไปยังสัตว์เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมถึงสามารถแพร่สู่คนและก่อให้เกิดโรครุนแรงในคนได้     โดยปกติไข้หวัดนกจะติดต่อมาสู่คนจากสัตว์ที่มีเชื้อ ไม่ได้ติดต่อระหว่างคนสู่คน ไม่เหมือนไข้หวัดใหญ่ที่ต่อติดจากคนสู่คนได้ แต่เมื่อเชื้อมีการกลายพันธุ์ และเกิดการผสมพันธุ์ระหว่างไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ และไข้หวัดคนเกิดขึ้น อาจจะมีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อจากคนไปสู่คนได้ จากเดิมที่ไม่มีคุณสมบัตินี้อยู่ จึงเป็นเรื่องที่ทั่วโลกกังวลเพราะเริ่มมีการกลายพันธุ์มากขึ้นแล้ว การเตรียมความพร้อมในการมีวัคซีนรับมือถือเป็นความมั่นคงทางระบบสาธารณสุข