KTB - ซื้อ
ได้รับประโยชน์จากการเป็นธนาคารของรัฐ
Event
ประชุมนักวิเคราะห์
lmpact
โตตามนโยบายรัฐบาล
KTB ใช้ความได้เปรียบจากการเป็นธนาคารรัฐด้วยการขยายธุรกิจและการลงทุนใหม่ ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยสินเชื่อใหม่ที่เพิ่มขึ้นค่อนไปทางสินเชื่อภาครัฐ ซึ่งโตถึง 15% QoQ & YTD และทำให้พอร์ตสินเชื่อของธนาคารโต 3.3% YTD สินเชื่อกลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วน 10% ของสินเชื่อรวม (เพิ่มขึ้นจาก 9% ในปี 2561) ถึงแม้ว่าการเพิ่มสินเชื่อกลุ่มนี้จะกดดันผลตอบแทนสินเชื่อ (yield) ลด แต่ก็ทำให้ธนาคารได้อานิสงส์จากการที่ตั้งสำรองฯลดลง
สามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายพิเศษด้วยรายได้พิเศษ
ตั้งแต่ต้นปีนี้มา KTB ถูกกดดันจากผลขาดทุนจากการด้อยค่าของ NPA ที่ถือเอาไว้เกิน 10 ปี และตามเกณฑ์ธปท.บังคับให้ธนาคารต้องกันสำรองเต็ม 100% โดย KTB ได้ตั้งสำรองส่วนนี้ไปแล้ว 4.8 พันล้านบาทใน 1H62 ซึ่งจะไปหักล้างกับรายได้พิเศษจากการชำระคืนหนี้ของ AQ ประมาณ 3.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ ธนาคารยังมีภาระที่ต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์อีกประมาณ 1.2 พันล้านบาทใน 4Q62 ซึ่งจะชดเชยด้วยรายได้พิเศษจากกำไรจากการลงทุนที่เกิดจากการจัดชั้นการลงทุนใหม่
NPL อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้
ในปีนี้ KTB รักษาระดับ NPL เอาไว้ให้ทรงตัวได้ โดยตัวเลข NPL อยู่ที่ประมาณ 1.06 แสนล้านบาท ในขณะที่สัดส่วน NPL coverage ก็ค่อนข้างนิ่งอยู่ที่ประมาณ 128-130% ถึงแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจะทำให้กระแส NPL ใหม่เพิ่มขึ้นใน 3Q62 แต่การเกิด NPL ใหม่ก็ยังต่ำกว่า 2% ผู้บริหารบอกว่า NPL โดยรวมยังคงอยู่ในระดับที่บริหารจัดการให้นิ่งได้ไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถรักษาระดับการตั้งสำรองฯ/สินเชื่อ (credit cost) เอาไว้ที่ประมาณ 110bps ถึงแม้ว่าจะมีการนำเกณฑ์ IFRS9 มาใช้ในปี 2563 แต่ credit cost ของธนาคารก็จะไม่สูงเกิน 115-125bps
ปรับลดประมาณการกำไรปี 2563/64 ลง 6%/7% และปรับลดราคาเป้าหมายปี 63 เหลือ 20.20 บาท
เราปรับลดประมาณการกำไรลงเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนมาตรฐานบัญชีในการคำนวณ NIM และรวมผลของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 25bps โดยเราใช้สมมติฐานว่าการลดดอกเบี้ยจะทำให้ NIM ลดลง 10 bps แต่การเปลี่ยนวิธีการบันทึกค่าธรรมเนียม up-front ของสินเชื่อ และการเปลี่ยนวิธีบันทึก EIR ในการจดจำนองจะทำให้ yield สินเชื่อเพิ่มขึ้น 5bps ดั้งนั้น เราจึงคาดว่า NIM ในปี 2563-64 จะลดลงปีละ 5bps ในขณะที่ใช้สมมติฐานค่าธรรมเนียมการธนาคารในปี 2563/64 ที่ 5%/3% (จากเดิมปีละ 6%) ซึ่งเมื่อใช้
P/E ที่ 9.5x และ P/BV ที่ 0.8x ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายปี 63 ที่ 20.20 บาท (ลดลงจากเดิมที่ 21.10 บาท) ทั้งนี้ เนื่องจากราคาหุ้นมีอัพไซด์มากขึ้น เราจึงปรับเพิ่มคำแนะนำจาก ถือ เป็น ซื้อ
Risks
NPL เพิ่มขึ้นทำให้ต้องตั้งสำรองเพิ่ม, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้