MTC - ซื้อ

MTC - ซื้อ

กำไรยังคงบริหารจัดการให้โตได้

Event

ประมาณการ 1Q63 และอัพเดตแนวโน้ม

lmpact

เงินกูู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากภาครัฐ (soft loan) ช่วยลดความเสี่ยงคุณภาพสินทรัพย์

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว MTC ได้ออกสองมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ซึ่งรายได้ลดลงจากสถานการณ์โรคระบาด ได้แก่ 1.) ลดค่างวดลง 30% เป็นเวลา 6 เดือน 2.) พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลาสามเดือนแต่ในอีกด้านหนึ่ง MTC ก็ยื่นขอสินเชื่อ soft loan จากธ.ออมสินที่รมว.เตรียมวงเงินกู้ไว้ 8 หมื่นล้านบาท
เพื่อให้นอนแบงก์ และบริษัทลิสซิ่งที่ประสบปัญหาขาดกระแสเงินสดในช่วงที่ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ ซึ่งเงื่อนไขเบื้องต้นธ.ออมสินจะให้กู้ประมาณ 10% ของยอดสินเชื่อคงค้าง ซึ่งในกรณีนี้ MTC จะได้วงเงินกู้ซอฟโลนเท่ากับประมาณ 6 พันล้านบาท เพื่อเป็นมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมที่ MTC จะส่งผ่านไปให้กับลูกหนนี้ที่ประสบปัญหา แต่ในอีกด้านหนึ่งช่วยชดเชยกระแสเงินสดที่ลดลงจากการช่วยลูกหนี้ และอีกทางหนึ่งช่วยให้บริษัทมีกำลังในการบริหารจัดการความเสี่ยง NPL ได้มากขึ้น

ธุรกิจที่เน้นที่ micro finance และพอร์ตสินเชื่อที่กระจายตัวดีทำให้ความเสี่ยงสมดุลกัน

เราคิดว่าการที่ฐานลูกค้าของบริษัทกระจายตัวดี และเน้นปล่อยกู้สินเชื่อรายย่อยกลุ่ม micro finance โดยมียอดปล่อยกู้ต่อรายต่ำทำให้ MTC เผชิญแรงกดดันด้านคุณภาพสินทรัพย์ไม่มาก เช่นเดียวกับการแทรกแซงจากหน่วยงานกำกับดูแลเพราะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่บริษัทคิดอยู่ต่ำกว่า 28% (EIR ในปัจจุบันอยู่ที่ 22.5%) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาโครงสร้างสินเชื่อของบริษัท แบ่งเป็นสินเชื่อมอเตอร์ไซค์ 34% (ยอดปล่อยกู้ต่อรายเฉลี่ยอยู่ที่ 15,000 บาท ค่างวด 1,000 บาท/เดือน) สินเชื่อรถยนต์ 33% (ยอดปล่อยกู้ต่อรายเฉลี่ยอยู่ที่ 70,000-80,000 บาท ค่างวด 3,000-4,000 บาท/เดือน) สินเชื่อ land for cash 9%

คาดว่ากำไรสุทธิ 1Q63F จะอยู่ที่ 1.16 พันล้านบาท (3% QoQ และ +15% YoY)

เราคาดว่าสินเชื่อจะโตถึง 25% ในขณะที่มาร์จิ้นยังทรงตัว แต่คาดว่าจะตั้งสำรองฯเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจแย่ลงอย่างมาก เราจึงคาดว่าจะมี NPL เกิดใหม่เพิ่มขึ้นถึง +20% QoQ และ +35% YoY ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการตั้งสำรองฯเพิ่มขึ้นอย่างมากเป็น 125bps (จาก 90bps ใน 4Q62 และ 92bps ใน 1Q62)

คงคำแนะนำ ซื้อ และให้ราคเป้าหมายปี 63F ที่ 49.00 บาท (P/E ที่ 22x)

ประมาณการกำไรปีนี้ของเราใช้สมมติฐานอัตราการเติบโตของสินเชื่อที่ 20% และต้นทุนการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเป็น 120bps (จาก 95bps ในปี 2562) ในขณะที่ใช้สมมติฐานว่า yield สินเชื่อ และ margin ทรงตัวถึงแม้ว่ามาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้จะส่งผลกระทบกับกระแสเงินสด แต่ก็จะถูกชดเชยด้วยการ
ผ่อนปรนเกณฑ์การตั้งสำรอง และ soft loan จากธนาคารออมสิน เราคิดว่าตลาดที่ผันผวนหนักจะทำให้ช่วงการซื้อขายกว้างขึ้นเป็น P/E ที่ 22-26x (หรือ 49-58 บาท) เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ

Risks

สภาพคล่องตึงตัว สัดส่วน NPL สูงเกิน 3% ของสินเชื่อ credit cost >120bps และไม่มีสินเชื่อ soft loan