'ประยุทธ์'เตรียมลงพื้นที่ จ.สุโขทัยติดตามแก้ปัญหาน้ำท่วม
นายกฯลงพื้นที่สุโขทัย 2 ก.ย.ติดตามการแก้ปัญหาน้ำท่วมลุ่มน้ำยม พร้อมแจกสิ่งของช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่สวรรคโลก
นายอนุชา บูรพาชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าในวันพรุ่งนี้ (2 ก.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม จะเดินทางลงพื้นที่ อ.สรรคโลก จ.สุโขทัยเพื่อติดตามการแก้ปัญหาน้ำท่วม และการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่หลังจากที่ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานระดมความช่วยเหลือไปยังประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนก่อนหน้านี้
สำหรับกำหนดการของนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม และคณะจะเดินทางออกจาก กทม.โดยเครื่องบินในเวลา 12.30 น. ถึงสนามบินสวรรคโลก อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย จากนั้นในเวลา 14.00 น.นายกรัฐมนตรีและคณะจะลงพื้นที่ดูสถานการณ์น้ำท่วม พบปะประชาชน และแจกจ่ายสิ่งของ ณ บ้านคลองกระจง หมู่ที่ 3 ต.คลองกระจง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
จากนั้นเดินทางต่อไปยังบ้านหนองโว้ง หมู่ 7 ต.ท่าทอง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย และเดินทางกลับถึงสนามบิน กทม.เวลา 17.00 น.
ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่จ.สุโขทัย และภาคเหนือตอนล่างจังหวัดอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
โดยจ.สุโขทัยถือว่าได้รับความเสียหายมาก โดยเมื่อวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมาเกิดเหตุคันดินริมตลิ่งบริเวณถนนเลียบแม่น้ำยมพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านวังหิน และหมู่ที่ 7 บ้านบางสงฆ์ ต.ปากแคว อ.เมือง จ.สุโขทัย พังทลายลงจากการกัดเซาะของกระแสน้ำจากแม่น้ำยมที่เพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้มวลน้ำจำนวนมากไหลบ่าเข้าสู่พื้นที่บ้านเรือนราษฏรและขยายเป็นวงกว้างในพื้นที่ทางการเกษตร
เบื้องต้นมีบ้านเรือนราษฏรได้รับผลกระทบประมาณ 200 หลังคาเรือน และพื้นที่ทางการเกษตรเสียหายจำนวนหนึ่ง
ทั้งนี้นายกฯยังได้กำชับให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดูแลสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรด้วย ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้เตรียมความพร้อมด้านกำลังพล และอุปกรณ์ โดยมีเสบียงสัตว์สำรอง 5,615.56 ตัน หญ้าแห้ง 335 ตัน ยานพาหนะ 201 คัน ถุงยังชีพสัตว์ 3,000 ชุด ทีมสัตวแพทย์ 119 ทีม ชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วเพื่ออพยพสัตว์ 119 หน่วย 357 คน และเวชภัณฑ์ดูแลสุขภาพสัตว์
สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบปัญหาหรือได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติสามารถติดต่อประสานขอความช่วยเหลือได้ตลอดเวลาจากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอายกฯยังได้กำชับให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดูแลสัตว์เลี้ยงของเกษตรกรด้วย ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้เตรียมความพร้อมด้านกำลังพล และอุปกรณ์ โดยมีเสบียงสัตว์สำรอง 5,615.56 ตัน หญ้าแห้ง 335 ตัน ยานพาหนะ 201 คัน ถุงยังชีพสัตว์ 3,000 ชุด ทีมสัตวแพทย์ 119 ทีม ชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วเพื่ออพยพสัตว์ 119 หน่วย 357 คน และเวชภัณฑ์ดูแลสุขภาพสัตว์ สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบปัญหาหรือได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติสามารถติดต่อประสานขอความช่วยเหลือได้ตลอดเวลาจากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ