โควิดเอฟเฟก ไทยเบฟ 9 เดือน ยอดขายดิ่ง 7.4% 

โควิดเอฟเฟก ไทยเบฟ  9 เดือน ยอดขายดิ่ง 7.4% 

ไทยเบฟ อุบตัวเลขกำไร! หลังโควิด-19 กระทบธุรกิจเต็มๆ 2 ไตรมาส ตั้งแต่ปลายมี.ค.-มิ.ย. กระเทือนยอดขาย 9 เดือน อยู่ที่ 190,099 ล้านบาท หดตัว 7.4% สุรายอดขายทรงตัว เบียร์เอฟเฟกทั้งไทย-เวียดนาม อาหารโดนหางเลขไวรัส เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ยังประคองตัวได้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเล็ก-ใหญ่ให้สั่นสะเทือนทั้งหน้ากระดาน และหลายองค์กรต้องเผชิญความ มั่งคั่งลดลง โดยหนึ่งในธุรกิจเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ของไทยและผงาดระดับภูมิภาค เอเชีย อย่าง บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) มี "เจ้าสัวหนุ่ม   ฐาปน   สิริวัฒนภักดี" นำทัพขับเคลื่อนธุรกิจจนมีรายได้รวม หลายแสนล้านบาท ไม่พ้นพิษสงโควิด ถูกเล่นงานเช่นกันทั้งด้านยอดขายและกำไรสุทธิ

หากย้อนกลับไปดูผลการดำเนินงานช่วงครึ่งปีแรก(ปีบัญชี ต.ค.62-มิ.ย.63) ไทยเบฟสร้างยอดขายได้ 1.37 แสนล้านบาท ทำกำไรได้ 1.59 หมื่นล้านบาท ซึ่ง “หดตัว”3.9% ยิ่งไตรมาสแรกของปี ยอดขายและกำไร “เติบโต” ทุกกลุ่มสินค้า และปีบัญชี 61-62 ปิดยอดขายรวมกว่า 2.6 แสนล้านบาท โต 16.4% ทำกำไรมากกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท เติบโตถึง 30% เป็นต้น ทว่า การหดตัวของกำไรใน 6 เดือน ไม่ได้มากนัก เพราะก่อนหน้านี้ บริษัทเคยเผชิญการทำกำไรลดลงหนัก เช่น ครึ่งปีแรก 2561 มีกำไร 10,451 ล้านบาท ลดลง 27% เทียบปีต่อปี

160001538370

ขณะที่โควิดสร้าง “วิกฤติ” ให้ธุรกิจ และถือเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติอย่างมาก ผลประกอบการของธุรกิจต่างๆที่ออกมาจึง “หดตัว” บ้าง  “กำไร“ โตต่ำ และเลวร้ายถึงขั้น “ขาดทุน” หากเจาะผลประกอบการ 9 เดือน(ปีบัญชี ..62-มิ..63) ของไทยมียอดขายรวมของบริษัทอยู่ที่ 190,099 ล้านบาท หดตัวลง 7.4% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และถือเป็นการหดตัวเพิ่มขึ้น จากไตรมาสแรกยอดขายหดตัวราว 3.9% คำอธิบายผลกระทบคือโรคโควิด-19 เป็นตัวแปรสำคัญฉุดผลการดำเนินงาน โดยเฉพาะช่วงที่มีการล็อกดาวน์ธุรกิจ และมาตรการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงสงกรานต์ซึ่งเป็นไฮซีซั่นของการค้าขายสุรา เบียร์ แต่สงกรานต์ต้องถูกเลื่อน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคจากการรวมกลุ่มของผู้คน

การทำธุรกิจนอกจากยอดขายที่เติบโตขึ้น แต่ตัวเลขที่น่าสนใจมากสุดย่อมเป็นบรรทัดสุดท้ายหรือ กำไรสุทธิ ซึ่งผลการดำเนินงานงวด 9 เดือน ไทยเบฟ ไม่ได้เปิดเผย กลับกันหยิบยกแค่กำไรก่อนหักภาษีหรือ EBITDA มาโชว์เท่านั้น โดยบริษัทมีกำไรก่อนหักภาษีที่ 32,851 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากเครื่องดื่มสุราและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่ยังสร้างผลงานได้อย่างแข็งแกร่ง

นอกจากนี้ ไทยเบฟ รายงานว่ากลุ่มสุรามียอดขายทรงตัว แต่กำไรก่อนหักภาษีเติบโต 4.9% แต่ กำไรสุทธิ ยังเป็นสิ่งที่อุบ! ไว้ ส่วนเบียร์มียอดขายเชิงปริมาณเติบโตขึ้นระหว่างเดือน ..-มิ.. และยังมมีส่วนแบ่งตลาดสูงเป็นประวัติการณ์ หลังส่งเบียร์ตัวใหม่อย่างช้าง 25 ปี โคลด์ บริว ลาเกอร์เฉลิมฉลองการก่อตั้งแบรนด์ในไทยเพื่อเข้าทำตลาดช่วงปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม หากเจาะธุรกิจรายเซ็กเมนต์ 9 เดือน สุรามียอดขาย 88,455 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 0.5% ส่วนยอดขายเชิงปริมาณลดลง 2.5% ผลจากการล็อกดาวน์ช่วงเม..-.. ร้านอาหาร สถานบันเทิงฯ ปิดให้บริการ ส่วนในเมียนมาวิสกี้ยังคงสร้างแบรนด์และมีส่วนแบ่งตลาดแข็งแกร่ง ส่วนเบียร์มียอดขาย 79,317 ล้านบาท ลดลง 14.2% ยอดขายเชิงปริมาณ 1,741.6 ล้านลิตร ลดลง 15.5% กำไรก่อนหักภาษีอยู่ที่ 8,833 ล้านบาท ลดลง9.3%โดยตลาดไทยและเวียดนามได้รับผลกระทบ

เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ รายได้จากการขายอยู่ที่ 12,488 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.5% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนยอดขายเชิงปริมาณลดลง 3.8% โดยบริษัทยังคงบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ มุ่งลดค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาและโปรโมชั่นเพื่อสร้างกำไร สำหรับธุรกิจอาหาร มีรายได้ 9,935 ล้านบาท ลดลง 14.7% รวมถึงกำไรก่อนหักภาษีลดลงด้วย เพราะช่วงไวรัสระบาดมีทั้งมาตรการล็อกดาวน์ การเว้นระยะห่างทางสังคม การขอความร่วมมือให้อยู่บ้าน ที่สำคัญห้ามรับประทานอาหารที่ร้านทำได้เพียงสั่งซื้อกลับบ้านและบริการเดลิเวอรี่เสิร์ฟผู้บริโภค ซึ่งช่วยต่อลมหายใจธุรกิจด้วย

160001512373

ทั้งนี้ หากดูยอดขายธุรกิจไม่มีแอลกอฮอล์ เช่น บมจ.โออิชิ กรุ๊ป สร้างรายได้รวม 9 เดือน อยู่ที่ 8,423 ล้านบาท ลดลง 19.7% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน มีกำไรสุทธิ 864 ล้านบาท ลดลง 24.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เมื่อแบ่งตามประเภทสินค้า เครื่องดื่มมียอดขาย 4,657 ล้านบาท ลดลง 8.7% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน อาหารยอดขาย 3,766 ล้านบาท ลดลง 30.1% ด้านบมจ.เสริมสุข มีรายได้ 8,450.16 ล้านบาท กำไรสุทธิ 132.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 183% ขณะที่ทั้งปีบัญชี 2562 ขาดทุน 452 ล้านบาท 

หากย้อนไปดูสถานการณ์ของไทยเบฟช่วงครึ่งปีแรก แม้ยอดขายจะหดตัวราว 3.9% แต่ยังสามารถประคองกำไรให้เติบโตได้ 11.% หรือทำเงินมากกว่า 15,000 ล้านบาท แม้เทียบกับไตรมาสแรก กำไรจะหายไป 3,000 ล้านบาทก็ตาม เมื่อสัญญาณผลกระทบโควิดชัดเจน ไทยเบฟเดินหน้ารัดเข็มขัดเบรกการลงทุนปกติประจำทุกปี(CAPEX) และยืดแผนการลงทุนที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน ซึ่งดำเนินการทั้งปีนี้ต่อเนื่องถึงปีหน้า เพื่อเป็นการสร้างความแข็งแกร่งของฐานะทางการเงิน และ รักษากระแสเงินสด ซึ่งถือเป็น Cash is King  โดยผลลัพธ์ของการบริการจัดการการเงินอย่างเข้มข้นบริษัทยืนยันว่าช่วง 9 เดือน กระแสเงินสดยังปึ้ก!!