วิธีตรวจสอบสถานะโอนเงิน ‘ประกันรายได้เกษตรกร’ จาก ‘ธ.ก.ส.’
วิธีตรวจสอบสถานะโอนเงิน “ประกันรายได้เกษตรกร” ปี 2563 /64 งวดที่ 1 จ่ายส่วนต่าง “ประกันราคาข้าว” จาก “ธ.ก.ส.”
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พ.ย.2563 เห็นชอบให้ ธ.ก.ส.ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 (รอบที่ 1) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว โดยกลไกตลาดยังคงทำงานเป็นปกติ มีเกษตรกรที่มีคุณสมบัติถูกต้องได้รับเงินทั้งสิ้น 871,869 ราย เป็นเงิน 9,298 ล้านบาท ซึ่ง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะโอนเงินให้กับธนาคารแต่ละสาขา วันที่(16 พ.ย.63) งวดแรกนั้น
เกษตรกรที่เป็นชาวนา สามารถเช็ค ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. โอนเงินได้แล้ว กดที่ลิงค์ https://chongkho.inbaac.com/ กรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ถ้าเงินเข้าระบบจะแจ้งโอนเรียบร้อย แต่ถ้ายังไม่เข้าให้รอข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ง ธ.ก.ส. จะทำการโอนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 วันทำการ
อ่านข่าว :
- 'ขึ้นทะเบียนเกษตรกร' หมดเขตหรือยัง? เช็คที่นี่!
- เช็คที่นี่! ธ.ก.ส. โอนเพิ่มหรือหักเงิน 'ส่วนต่างราคาข้าว' ตรวจสอบประกันรายได้เกษตร
- สรุปมาตรการ 'ประกันราคาข้าว' รู้ครบจบที่เดียว เช็คเลย!
- เช็ค 'ธ.ก.ส.' โอน 'เงินส่วนต่าง' จบวันไหน? ตรวจสอบเงินประกันเกษตรกร
- สรุป! รายละเอียดประกันรายได้เกษตรกร 'ข้าว' VS 'ยาง' ใครได้เท่าไหร่บ้าง
- เช็คเงิน 'ประกันราคาข้าว' ผ่าน 2 ช่องทางจาก 'ธ.ก.ส.' ยันโอนเงินเกษตรกรต่อเนื่อง!
หรือ ตรวจสอบด้วยวิธีอื่นได้เช่นกัน ดังนี้
- เช็คจากบัตร ATM
- ปรับสมุดเงินฝาก ที่ธนาคาร
- กดสมัครเช็คเงินเข้าออกผ่านไลน์ของ ธ.ก.ส. (ฟรี) โดยกดแอดเพื่อน ใช้ไอดี @baccfamily
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
คุณสมบัติของผู้ได้รับสิทธิ์
- ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 (รอบที่ 1) ต้องเป็นผู้ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 63 - 31 ต.ค. 63 (ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์2564)
- เก็บเกี่ยวตั้งแต่ 1 เม.ย.63 ถึง 8 พ.ย.63
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ แจ้งโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี2563/64 (รอบที่ 1) หรือ “ประกันรายได้เกษตรกร” พร้อมจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างงวดแรกวันที่ 16 พฤศจิกายน สามารถช่วยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวแต่ละชนิดได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด ดังนี้
1.ข้าวเปลือกหอมมะลิ ประกันรายได้ตันละ 15,000 บาท (ไม่เกิน 14 ตัน) ได้ส่วนต่างตันละ 2,911 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 40,756 บาท
2.ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ประกันรายได้ตันละ 14,000 บาท (ไม่เกิน 16 ตัน) ส่วนต่างตันละ 2,137 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 34,199 บาท
3.ข้าวเปลือกเจ้า ประกันรายได้ตันละ 10,000 บาท (ไม่เกิน 30 ตัน) ส่วนต่างตันละ 1,222 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุด 36,670 บาท
4.ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ประกันรายได้ตันละ 11,000 บาท (ไม่เกิน 25 ตัน) ส่วนต่างตันละ 1,066 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 26,674 บาท
5.ข้าวเหนียว ประกันรายได้ตันละ 12,000 บาท (ไม่เกิน 16 ตัน) ส่วนต่างตันละ 2,084 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุด 33,349 บาท
นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีเงินสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพข้าว ไร่ละ 1,000 บาท ครอบครัวละไม่เกิน 20 ไร่ รวมครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท โดยแบ่งเป็น 2 งวด งวดละ 500 บาท