ทบทวนสิทธิ 'ม.33 เรารักกัน' ผู้ประกันตนยื่นได้ถึง 28 มี.ค.
ทบทวนสิทธิ "ม.33 เรารักกัน" ผู้ประกันตน มาตรา 33 สามารถยื่นได้ถึง 28 มี.ค. ผ่านเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com
"ม.33 เรารักกัน" มาตรการที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาจากมาตรการเราชนะ ภาครัฐจึงออกมาตรการมาเพื่อช่วยเหลือเป็นการเฉพาะ ซึ่งได้เปิดให้ลงทะเบียนไปแล้วตั้งแต่ 21 ก.พ. - 7 มี.ค.2564 ผ่านเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com และเปิดให้ตรวจสอบสิทธิ และกดยืนยันตัวตนผ่านแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง
ขณะเดียวกันยังคงมีกลุ่มที่ได้ลงทะเบียนไปแล้ว แต่เมื่อตรวจสอบสิทธิแล้วพบว่า "ไม่ได้รับสิทธิ" เนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่มาตรการกำหนดไว้ ซึ่งคุณสมบัติที่กำหนดไว้นั้น ได้แก่
- ต้องมีสัญชาติไทย
- เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 หรือเคยเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 เมื่อวันที่ 15 ก.พ.2564
- ไม่เป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- ไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิมาตรการเราชนะ
- ไม่เป็นผู้มีบัญชีเงินฝากรวมทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท (ณ วันที่ 31 ธ.ค.2563)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ทั้งนี้ภาครัฐได้เปิดให้ผู้ประกันตนที่ไม่ผ่านเกณฑ์หรือเงื่อนไขดังกล่าว ได้ยื่น "ทบทวนสิทธิ" ผ่านเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com โดยสามารถดำเนินการได้จนถึงวันที่ 28 มี.ค.2564 หลังจากเจ้าหน้าที่ธนาคารคัดกรองข้อมูลให้ใหม่แล้ว ก็สามารถเข้าตรวจสอบสถานะได้อีกครั้ง จากเดิมให้ทำได้ในวันที่ 5 เมษายน - 31 พฤษภาคม 2564
ซึ่งไทม์ไลน์สำหรับกลุ่มยื่น "ทบทวนสิทธิ" ฉบับปรับแก้ใหม่มีรายละเอียด ดังนี้
15-28 มี.ค.2564 : ระยะเวลาเปิดให้ยื่น "ทบทวนสิทธิ" (สำหรับผู้ที่เช็คสิทธิครั้งแรกแล้วพบว่า "ไม่ได้รับสิทธิ")
5 เม.ย. - 31 พ.ค.2564 : ให้เข้า "ตรวจสอบสถานะ" สกหรับผู้ที่ยื่นทบทวนสิทธิ
5-11 เม.ย.2564 : หากกดยืนยันตัวตนในช่วงนี้ จะต้องรอรับเงินวันที่ 12 เม.ย.2564 จำนวน 4,000 บาท
12 เม.ย. - 31 พ.ค.2564 : หากกดยืนยันตัวตนในช่วงนี้จะได้รับเงินในวันนั้นทันทีจำนวน 4,000 บาท
- เปิดขั้นตอนยืนยันตัวตน ม.33 เรารักกัน ผ่านแอพฯเป๋าตัง
1.กดอัพเดตแอพพลิเคชั่นเป๋าตังให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด 10.37.0
2.กดเปิดแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง และเลือก G-Wallet
3.เลือกเข้าใช้งาน “ม33เรารักกัน”
4.กดยอมรับข้อตกลงการให้ข้อมูล และการให้ความยินยอมข้อมูลส่วนบุคคล
5.เมื่อกดยืนยัน และยินยอมสำเร็จ แอพฯเป๋าตังจะขึ้นข้อความ “ไม่สามารถใช้สิทธิ ม33เรารักกัน ได้ในเวลานี้” ซึ่งถือว่าสามารถยืนยันตัวตนเสร็จสิ้นแล้ว
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม