AOT - ถือ (9 มิ.ย.64)
ตบมือข้างเดียวไม่ดัง
เรามีมุมมองอนุรักษ์นิยมต่อการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวมากขึ้น จากมาตรการที่เข้มงวดและการฟื้นตัวที่ชัดเจนล่าช้าออกไปจาก 4Q21 เป็น 1Q22 ทำให้เราปรับคาดการณ์นักท่องเที่ยวลงสู่ 0.8/26.5/40 ล้านคน ในช่วง FY21/22/23F และปรับคาดการณ์ขาดทุนมากขึ้นที่ 1.5หมื่นลบ. ใน FY21 และ ลดกำไรเหลือ 2.7พันลบ. (-80%) และ 2.77หมื่นลบ. (-13%) ในปี FY22-23F ทำให้เราปรับราคาเป้าหมายปี 22F-TP ลงสู่ 68บาท (-12%) เนื่องจากสัดส่วนความเสียง - ผลตอบแทนมีความน่าสนใจน้อยลง เราปรับคำแนะนำ ลงสู่ ถือ
เปลี่ยนมาอนุรักษ์นิยมมากขึ้นจากการเปิดเมืองแบบเข้มงวด
แม้จะมีแนวโน้มเชิงบวกจากโครงการภูเก็ต แซนด์บอก ที่รอการอนุมัติภายในมิ.ย. เราเชื่อว่าผลกระทบเชิงบวกจากโครงการนี้จะจำกัดเนื่องจากจำนวนวันกักตัวที่เพิ่มขึ้นเป็น 14 วัน (เนื่องจากความกังวลโควิด-19 สายพันธ์ใหม่อาจทำให้วัคซีน AZ หรือ Sinovac มีประสิทธิภาพลดลง) และค่าใช้จ่ายการทดสอบ PCR ที่สูง (3-3.5พันบาทต่อครั้ง และต้องทดสอบ 3 ครั้งในช่วง 14 คืน) ทำให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศมีสนใจน้อยลง เราเชื่อว่ามาตรการควบคุมเหล่านี้จะบังคับใช้จนกระทั่งวัคซีนทางเลือก (เช่น mRNA ที่มีประสิทธิภาพสูงกับสายพันธ์ใหม่สูงกว่า) ถูกใช้อย่างแพร่หลายในไทย โดยวัคซีนทางเลือกจะถูกนำเข้ามาอย่างเร็วที่สุดในปลาย 3Q21 ดังนั้นการเปิดประเทศเต็มรูปแบบอาจเกิดขึ้นใน 1Q22 ซึ่งเป็นช่วงที่เราคาดว่าจะมีการยกเลิกมาตรการกักตัวและการท่องเที่ยวจะเร่งตัวขึ้น
ปรับคาดการณ์กำไรลงจากเรามองการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวแบบระมัดระวังขึ้น
หลังจากปรับคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวลงเป็น 0.8, 26.5, และ 40ล้านคน ช่วงปีงบ FY21/22/23F เราคาดว่าจะมีผลขาดทุนมากขึ้น 1.54หมื่นลบ. ในปี FY21 และปรับกำไรของปี FY22/23 ลดลงสู่ 2.7พันลบ. (-80%) และ 2.77หมื่นลบ.
ปรับเป้าหมายสู่ 68บาท ลดคำแนะนำเป็น ถือ valuation สะท้อนการฟื้นตัวแล้ว
เราปรับราคาเป้าหมายของเราลงสู่ 68บาทต่อหุ้น (-12%) ผลจากการปรับคาดการณ์กำไร โดยคาดการณ์ของเราบวกมากกว่า AOT, BOT, และ NESDC เรายังคงเชื่อว่าความต้องการที่สะสมมา (pent-up demand) อย่างที่เห็นในจีนและสหรัฐฯ จะเป็นปัจจัยหลักในการหนุนการฟื้นตัวของกำไร AOT หลังการเปิดประเทศหรือการใช้มาตรการ (travel bubble) อย่างไรก็ตามเราปรับคำแนะนำลงสู่ ถือ เนื่องจากสัดส่วนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ไม่น่าสนใจ (fig 10.)