AOT - ถือ (23 ก.ค.64)

AOT - ถือ (23 ก.ค.64)

ยังไม่มีการปรับเงื่อนไขสัมปทาน; ความเสี่ยงจำกัด

มาตรการหนุนสภาพคล่อง (ขยายเวลาการชำระหนี้ 5 เดือนและออปชั่นการผ่อนชำระหนี้) จาก AOT จะมีผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนจำกัดและแก้ปัญหาโดยการดึงเงินสดและสภาพคล่องสำรอง (สภาพคล่อง 2.6หมื่นลบ. เทียบกับการใช้เงินสด1.5พันลบ. ต่อเดือน) แต่มาตรการนี้อาจนำไปสู่การลดคาดการณ์นักท่องเที่ยวของ AOT หลังประกาศผลประกอบการใน 11 ส.ค. ในกรณีแย่ที่สุดราคาเป้าหมายอยู่ที่ 62บาท สะท้อนถึงความเสี่ยงจำกัด

 

มาตรการขยายระยะเวลาสินเชื่อและแผนการผ่อนจ่ายสัมปทาน

AOT ประกาศมาตรการขยายระยะเวลาชำระหนี้และออปชั่นการผ่อนชำระหนี้ให้กับผู้ได้สัมปทานทุกราย (เช่น KingPower, The Mall, สายการบิน, ร้านอาหาร, ซุ้ม ATM) ซึ่งกระทบกระแสรายได้เกิดทุกทาง (สัมปทาน, ปล่อยเช่าพื้นที่, รายได้บริการ, ค่าธรรมเนียมอากาศยาน, ค่าบริการสนามบิน) AOT คงสิทธิในการยกเลิกมาตรการนี้

 

  • การขยายเวลาชำระสินเชื่อเพิ่มเป็น 23 เดือน (เพิ่ม +5 เดือน) สำหรับค่าสัมปทานในช่วงก.พ./เม.ษ. - ก.ค. 20 และ 17 เดือน (เพิ่ม +5 เดือน) สำหรับค่าสัมปทานช่วงส.ค. -ธ.ค. 20

 

  • ผู้ได้สัมปทานจะสามารถแบ่งผ่อนชำระค่าสัมปทานมากสุด 12 เดือนเมื่อถึงระยะเวลาการชำระหนี้ (กลุ่ม 23 เดือนจะระยะเวลาชำระหนี้ใน มี.ค.-22 และผู้ได้สัมปทานอาจเริ่มจ่ายหนี้ให้ AOT ภายในเม.ษ. -22 แต่อาจเปลี่ยนเป็นการผ่อนชำระ 12 เดือนแทนการจ่ายทั้งหมดในครั้งเดียว)

 

AOT จะเป็นสถานะบริษัทมีหนี้ใน 2022 จากบริษัทเงินสดสุทธิตั้งแต่ 2014

มาตรการเหล่านี้ไม่มีผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนมีเพียงในแง่เวลาของกระแสเงินสด เราคาด AOT จะใช้เงินสดสำรองของบริษัท (2.6หมื่นลบ. ในสิ้นมี.ค. 21) ในการใช้เป็นเงินทุนด้านการดำเนินงานของบริษัท (ใช้เงินสดต่อเดือน 1.5พันลบ.) และใช้สินเชื่อธนาคารเป็นเงินทุนสำหรับงบลงทุนใน 2022 คาด AOT จะเปลี่ยนเป็นสถานะหนี้สุทธิ (net debt) ในปี 2022 และจะแตะระดับสูงสุดภายในปี 2023

 

ดาวน์ไซด์จำกัดจากการลดคาดการณ์นักท่องเที่ยวของ AOT

มาตรการหนุนสภาพคล่องผู้ได้สัมปทานอาจนำไปสู่การลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวของ AOT หลังประกาศงบใน11 ส.ค. เราคาดดาวน์ไซด์จำกัดแม้ในกรณีแย่ที่สุด (Fig.4) โดยราคาหุ้นอยู่ต่ำกว่าราคาเป้าหมายของกรณีแย่สุดที่ 62บาทต่อหุ้น