อสังหาฯปลดแอท LTV หุ้น SPALI-AP ดาวเด่นรอบนี้
เซอร์ไพรส์ตลาดอสังหาริมทรัพย์เมื่อแบงก์ชาติยอมผ่อนคลายมาตรการจำกัดวงเงินปล่อยสินเชื่อต่อสินทรัพย์ (LTV) ชั่วคราวและปรับลดระดับเงินดาวน์จาก 10-30% ลงเหลือ 0% มีผลไปถึงสิ้นปี 2565 ส่งผลบวกต่อธุรกิจดังกล่าวทันทีแต่หุ้นไหนจะช่วงชิงโอกาสได้มากที่สุดคงไม่ง่าย
ที่ผ่านมาแบงก์ชาติดำเนินมาตการ LTV ปี 2563 เพื่อลดความร้อนแรงเก็งกำไรอสังหาฯ ได้ผลเพราะทำให้ยอดปล่อยสินเชื่อลดลง สะท้อนจากอัตราการปฎิเสธสินเชื่อของธนาคารที่เข้มงวดจาก เฉลี่ย 15 % ขึ้นไปเป็น 20 %
เกณฑ์ที่เข้มงวดพุ่งเป้าไปที่บ้านสัญญาที่ 2 สัญญาที่ 3 และ ที่อยู่อาศัยที่มีราคาเกิน 10 ล้านบาท ทำให้ต้องมีการวางเงินดาวน์เพิ่มสูงขึ้นจากปกติเฉลี่ยในตลาดช่วงก่อนใช้มาตรการอยู่ที่ 10 % หลังจากนั้นมีการลดความเข้มงวด LTV
ด้วยการให้เฉพาะผู้กู้ร่วมไม่มีกรรมสิทธิ์ ไม่นับเป็นผู้กู้ การให้อัตราสินเชื่อ 10 % ให้กับสัญญาแรก ที่ราคาบ้านไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อใช้ในการตกแต่งซ่อมแซมบ้าน ส่วนใครอยากมีบ้านหลังที่สองต้องมีประวัติกู้บ้านหลักแรกอย่างน้อย 2 ปี และคงเงินดาวน์ที่ 10 % ยังไม่เพียงพอกระตุ้นยอดขาย
ตัวเลขศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ(REIC) ยอดขายปี 2563 ที่ 3.93 แสนล้านบาทลดลง 17 % ยอดขายครึ่งปีแรก 2564 ที่ 1.95 แสนล้านบาท ลดลง 14 % เป็นการลดลงตามซัพพรายใหม่ที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามการออกมาผ่อนปรน LTV ในรอบนี้อยู่ในกรอบที่แบงก์ชาติมองว่าแบงก์ยังระวังการปล่อยสินเชื่อเพราะอยู่ในช่วงเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว การซื้อเพื่อเก็งกำไรทำได้ยาก ที่สำคัญมีผลต่อเศรษฐกิจสูงเพราะเกี่ยวเนื่อง เช่น รับเหมาฯ วัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ ที่มีการจ้างงานสูง
มุมอมองบริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ยูโอบี เคย์เฮียน อสังหาฯแนวสูงในระดับกลางค่อนบนจะได้รับประโยชน์เนื่องจากเป็นบ้านหลังแรกส่วนใหญ่ (53%) เป็นโครงการแนวราบ ขณะที่บ้านหลังที่ 3 มักจะเป็นคอนโดระดับ1-5 ล้านบาท ขณะที่ธนาคารน่าจะยังระมัดระวังความเสี่ยงของผู้กู้ทำให้น่าจะยังเข้มงวดกับการปล่อยกู้กลุ่มระดับล่าง (1- 3 ล้านบาท ) กระทบกลุ่มลูกค้ากลาง -บน (3-7 ล้านบาท ) น้อยกว่า และคนที่ได้ประโยชน์คือคนที่มีของพร้อมขาย (ready to transfer)
กลุ่มดีเวลลอปเปอร์ที่ถือว่ามีผลบวกโดยตรงต่อมาตรการดังกล่าว หลายบริษัทมีขานรับและเตรียมตัวรับกับมาตรการดังกล่าวจำนวนมาก เริ่มที่รายใหญ่ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI ที่เน้นตลาดบ้านระดับกลางเตรียมเปิดตัวคอนโดมิเนียม 4 โครงการใหม่ ไตรมาส 4นี้ มูลค่ารวม 5.74 พันล้านบาท คิดเป็น 17% ของมูลค่าโครงการเปิดใหม่ในปีนี้
และยังมีโครงการในมือพร้อมขายและโอน 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นแนวสูง 15,000 ล้านบาท และแนวราบ 5,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทเน้นทำการตลาดดึงดูดลูกค้าการตัดสินใจซื้อเป็นหลัก เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อจากธนาคารยังเข้มงวด
ถัดมาบริษัท เอพี (ไทยแลนด์ )จำกัด (มหาชน) หรือ AP มีพอร์ตแนวสูงในมือมากที่สุด ซึ่งในปีนี้เปิดตัวโครงการใหม่น้อยมากแต่เร่งระบายสต็อกในมือ จนทำให้รอบ 9 เดือน2564 ยอดจองถึง 2.72 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% จากปีก่อน
ยักษ์ใหญ่อสังหาฯอีกราย บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PSH งัดการตลาดเข้มข้นไตรมาสสุดท้ายของปีพร้อมตั้งเป้ายอดขาย 5,400 ล้านบาท ทั้งลดราคาพิเศษ เพิ่มขนาดพื้นที่ และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น อยู่ฟรีสูงสุด 36 เดือน ส่วนกลางฟรีสูงสุด 36 เดือน กู้ไม่ผ่านคืนเงิน
ส่วนเจ้าของสโลแกนสร้างเสร็จก่อนขายทั้งบริษัท คลอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ QH และ บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH ที่มีพอร์ตบ้านแนวราบมากที่สุดถึง 71 % ของรายได้ถือลงทุนทั้งใน QH - HMPRO และยังมีธุรกิจโรงแรม ทำให้มีผลลบจากช่วงโควิด แต่ทางกลับกันได้รับผลบวกมากหากมีการฟื้นตัวของธุรกิจที่ลงทุน
ที่ผ่านมา LH มีการเปิดตัวโครงการใหม่อย่างระมัดระวังและระบายสต็อกทำให้ยอดจอง ครึ่งปีแรก 2564 เพิ่มขึ้น 14% ยอดโอน เพิ่มขึ้น 27% เนื่องจากปี 2563 เปิดตัวโครงการใหม่ 16 โครงการมูลค่า 28,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่ไม่เน้นทำการตลาดด้านราคาจึงทำให้รักษามาร์จิ้นไว้ได้