ยังประเมินเอเซียผันผวนจากรัสเซียในระดับที่ต่ำกว่ายุโรป
ประเด็นยูเครนยังคงมีน้ำหนักกดดันภาพรวมการลงทุน สถานการณ์ยูเครนยังสร้างแรงกดดันต่อหุ้นโลก ล่าสุดเมืองที่แยกตัวเป็นอิสระทั้ง 2 แห่ง (Donetsk และ Luhansk) ขอความช่วยเหลือทางทหารมายังรัสเซีย
ทำให้นักลงทุนจับตาการใช้กำลังการทหารที่อาจจะเกิดขึ้นและยกระดับความขัดแย้งของปัญหาขึ้นไปอีกขั้น ทั้งนี้ผลกระทบข้างเคียงที่เริ่มเห็นได้ คือการขยับขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายๆตัว ทั้งโลหะ และอาหาร ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อสถานการณ์เงินเฟ้อ ได้ ขณะที่จีนแสดงความไม่เห็นด้วยต่อมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่อรัสเซีย และมองว่าการขยายของสมาชิกนาโต ทำให้ประธานาธิปดีปูตินมีทางเลือกน้อยในการตัดสินใจ // เรามองผลกระทบของความกังวลต่อภาพรวมการลงทุนอาจจะเริ่มส่งผลต่อตลาดน้อยลง แต่ตลาดจะเริ่มมองหาหุ้นที่ได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและลบจากสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งเรามองกลุ่มอาหารมีโอกาสเคลื่อนไหวเป็นบวกจาก food inflation ที่เกิดขึ้น และจากการเป็นกลุ่มที่นักลงทุนลดน้ำหนักมานาน
ภาพรวมการประกาศผลประกอบการเป็นบวก ภาพรวมผลประกอบการหุ้นขนาดใหญ่ไม่ได้ผิดไปจากคาดมากนัก ขณะที่ประมาณการกำไรของ SET Index ทรงตัว โดยหากมองโมเมนตัมกำไรใน 12 เดือนข้างหน้า (blended forward 12 months) จะเริ่มเห็นโมเมนตัมกำไรเริ่มชะลอตัวในกลุ่มของ กลุ่มพลังงาน, ปิโตรเคมี, วัสดุก่อสร้าง และสื่อสาร ขณะที่โมเมนตัมกำไรดีขึ้นในกลุ่ม อาหาร, ธนาคาร, ค้าปลีก, โรงแรม // สำหรับกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ลงมาแรง โมเมนตัมกำไรยังดูแข็งแกร่ง ทำให้เราประเมินมีโอกาสเห็นการฟื้นตัวหรือสร้างฐานราคาจากระดับปัจจุบันได้ // ภาพรวมกลยุทธ์เรามองหุ้นที่โมเมนตัมกำไรดีขึ้นจะมีความน่าสนใจมากกว่า ขณะที่ในกลุ่มที่โมเมนตักำไรชะลอ นักลงทุนควรเพิ่มความระมัดระวัง แต่ยังพอสามารถเลือกเก็งกำไรรายตัวในหุ้นที่โมเมนตัมกำไรยังไม่พีคหรือพีคช้ากว่ากลุ่มได้
ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง การเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ บวกต่อ CK, STEC, ITD, UNIQ 2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW 3) กลุ่มบันเทิง ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัวจากงบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO 4) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ SFT, WFX, CV, UBE, RAM, IND, MAKRO, CPALL, JAS, BCP, AJ, PTL, PJW, III, TNP 5) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, TU, GFPT, TWPC, KSL
ภาพรวมกลยุทธ์: ภาพรวมการลงทุนกลับมาชะลอหลังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ ขณะที่ตลาดรอประเมินผลกระทบจากการคว่ำบาตรรัสเซียที่มีต่อกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเรายังมองเอเชียและอาเซียนผันผวนน้อยกว่า จากผลกระทบที่ต่ำกว่าประเทศยุโรป เน้นเก็งกำไรสลับรายกลุ่มโดยเลือกหุ้นที่ยังมีความน่าสนใจในเชิงของ valuation และมีทิศทางการเติบโตของกำไรเป็นบวก //หุ้นแนะนำ: ILINK*, ASW*, MAKRO*, IVL*
แนวรับ: 1,670-1,683 / แนวต้าน : 1,713 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
ประเด็นการลงทุน
ORI - เล็งปรับพอร์ตสัดส่วนรายได้ประจำส่ง "วัน ออริจิ้น" เข้าซื้อโรงแรมไอบิส 3 แห่ง ในเครือ ERW มูลค่า 1,000 ล้านบาท คาดรับรู้รายได้ พ.ค. นี้
รายงานกนง มองศก.ไทยฟื้นต่อเนื่องแต่ยังต้องใช้เวลา - รายงานการประชุม กนง. เมื่อวันที่ 9 ก.พ.65 ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวยังแตกต่างกันในแต่ละภาคเศรษฐกิจ และต้องใช้เวลาก่อนที่จะกลับเข้าสู่ระดับก่อนการระบาด
กรรมการ ECB ชี้อาจขึ้นดอกเบี้ยกลางปี ก่อนยุติซื้อพันธบัตร - นายโรเบิร์ต โฮลซแมน กรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ECB อาจเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนยุติโครงการซื้อพันธบัตร โดยอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปีนี้
ประเด็นติดตาม: 24 ก.พ. - US GDP 4Q22, 4 มี.ค. – TH CPI เดือน ก.พ., US Employment Report
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)