กยท.มั่นใจส่งออกยางในอียูฉลุย ภายใต้ กฎ EUDR

กยท.มั่นใจส่งออกยางในอียูฉลุย ภายใต้ กฎ EUDR

กยท.พร้อมรับมือกฎ EUDR ลั่น ขึ้นทะเบียนชาวสวนยางแล้ว 1.47 ล้านคน กว่า 20 ล้านไร่ เชื่อมสถาบันเกษตรกรจำนวน 1,106 แห่ง สามารถตรวจสอบย้อนกลับทั้งหมด ทุกผลิตภัณฑ์เจาะตลาดอียูได้แน่นอน

 นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กยท. มีความพร้อมในการดำเนินงานตามมาตรการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งผลผลิตสำหรับสินค้ายางพาราซึ่งเป็นไปตาม

กฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (EUDE) ของสหภาพยุโรป หรืออียู  ที่จะประกาศใช้ในปี 2567  

กยท.มั่นใจส่งออกยางในอียูฉลุย ภายใต้ กฎ EUDR

กยท.มั่นใจส่งออกยางในอียูฉลุย ภายใต้ กฎ EUDR

 

โดย กยท. ได้ดำเนินการรวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลเกษตรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ประมาณ 1.47 ล้านคน รวมพื้นที่แปลงสวนยางทั้งหมดประมาณ 20 ล้านไร่ และข้อมูลสถาบันเกษตรกรจำนวน 1,106 แห่ง ซึ่งมีจำนวนสมาชิกรวม 334,765 คน รวมถึงข้อมูลผู้ประกอบกิจการด้านยาง 533 ราย เช่น ข้อมูลเฉพาะตัวบุคคล ข้อมูลสวนยาง  ประกอบด้วย ขนาด ที่ตั้ง  พันธุ์ยาง และข้อมูลปริมาณผลผลิตยางเป็นต้น

ทั้งนี้ กยท. ได้นำข้อมูลของกรมป่าไม้ และ ข้อมูลความร่วมมือที่โดดเด่นของสถาบันทรัพยากรโลก หรือ Global Forest Watch (GFW) มาช่วยในการตรวจจับพิกัดแปลงสวนยางที่ละเมิดเขตป่าสงวน เพื่อให้ให้สอดคล้องกับกฎหมายEUDR

นอกจากนี้ กยท.ได้จัดทำระบบข้อมูลทะเบียนของสมาชิกที่เข้ามาซื้อขายยางผ่านตลาดกลาง กยท. ได้แก่ รหัสประจำตัวผู้ซื้อและผู้ขาย ประเภท น้ำหนัก และราคายางทุกคำสั่งซื้อ เพื่อสามารถตรวจสอบย้อนไปถึงแหล่งที่มาของยางได้ 

กยท.มั่นใจส่งออกยางในอียูฉลุย ภายใต้ กฎ EUDR กยท.มั่นใจส่งออกยางในอียูฉลุย ภายใต้ กฎ EUDR

" EUDRนอกจากจะมีผลกับผู้ส่งออกยางพาราแล้ว ยังสร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการยางล้อด้วย ซึ่งสมาคมผู้ค้ายางแห่งประเทศญี่ปุ่น (The Rubber trade Association of Japan : RTAJ) ได้เข้ามาดูงานของไทย เพราะต้องการซื้อยางพาราที่ไม่มีปัญหา โดยต้องการซื้อยาง และสนใจการจัดการข้อมูลยางไทยรองรับมาตรการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งกำเนิดสินค้าได้ " 

โดย กยท. ได้นำคณะศึกษาดูงานด้านความยั่งยืนของอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศไทย พร้อมเยี่ยมชมสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง ที่มีศักยภาพในการผลิตและแปรรูปยางพาราเพื่อส่งออก เป็นโอกาสในการแสดงความพร้อม สร้างความเข้าใจและเชื่อมั่นให้คู่ค้าจากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าและใช้ยางรายสำคัญของโลก ควบคู่ไปกับการขยายโอกาสทางการค้าของสินค้ายางพาราไทย

 

“ด้วยความพร้อมของ กยท. ในการจัดการระบบข้อมูลรองรับมาตรการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งกำเนิดผลิตภัณฑ์ยาง และศักยภาพของผู้เกี่ยวข้องที่มีความพร้อมในการปรับตัวโดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยางพาราให้เกิดความยั่งยืน จะยิ่งขยายโอกาส เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับยางพาราไทยในตลาดโลกได้” 

นอกจากนี้ นายกวีฉัฏฐ ศีลปพิพัฒน์ ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย(บอร์ด กยท.) ยัง ร่วมเจรจากับ  นายเสข วรรณเมธี เอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป และนายพรเทพ ศรีธนาธร อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ผู้อำนวยการสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป เพื่อหารือแนวทางขับเคลื่อนการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ยาง พร้อมติดตามความคืบหน้าประเด็นการประกาศเตรียมบังคับใช้กฎหมายEUDRของสหภาพยุโรป

กยท.มั่นใจส่งออกยางในอียูฉลุย ภายใต้ กฎ EUDR

นายกวีฉัฏฐ กล่าวว่าประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ของโลก มีความพร้อมในการปรับตัวและดำเนินแนวทางตามนโยบายด้านอุตสาหกรรมยางเพื่อความยั่งยืน โดย กยท. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลโดยตรงเกี่ยวกับยางพาราของไทย จึงเดินหน้านำร่องเตรียมความพร้อมระบบพิกัดแหล่งกำเนิดผลิตภัณฑ์ยางพาราสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปถึงพื้นที่ตั้งของสวนยางได้ เพื่อประเมินขั้นตอนและกระบวนการรองรับมาตรการตรวจสอบย้อนกลับที่ชัดเจน ซึ่งยึดประโยชน์ที่จะเกิดแก่เกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ผลิต และผู้บริโภค ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

จากการหารือครั้งนี้ บอร์ด กยท. เน้นย้ำถึงความพร้อมของประเทศไทยในการจัดการระบบข้อมูลด้านยางพารา ซึ่งให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมภายใต้เงื่อนไขการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราด้วยผลผลิตยางจากพื้นที่ปลอดการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันในหลายประเทศทั่วโลก ดังนั้น เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย และสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการ กยท. จึงพร้อมร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อเตรียมการในเรื่องดังกล่าว